Self-directed learning

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Book cover

การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมคืออะไร

ใช่ว่าหลักฐานทุกชิ้นจะมีที่มาที่น่าเชื่อถือเท่ากัน การตรวจสอบวิธีการรักษาบางประเภทก็เชื่อถือได้มากกว่าประเภทอื่น บางครั้งการตรวจสอบวิธีการรักษาก็อาจลำเอียง หรือเกิดความบังเอิญบางประการ จนทำให้ได้ผลที่ไม่เที่ยงตรง และบางการตรวจสอบก็ตั้งโจทย์ที่จะตอบผิดตั้งแต่แรก เนื้อหาของ การรักษาต้องสงสัย ในส่วนนี้ เป็นเรื่องว่าจะแยกแยะได้อย่างไรว่าการศึกษาเรื่องไหนเป็นการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม เพราะการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมเท่านั้นจึงจะให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือเรื่องผลของวิธีการรักษา จะนับการศึกษาหนึ่งเป็นการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ก็ต่อเมื่อการศึกษานั้น คำนึงถึงประโยชน์ของการมองโลกแง่ดีและความคาดหวัง เปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายคลึงกัน สุ่มจัดให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับวิธีการรักษาต่างๆ ติดตามสังเกตทุกคนที่เคยเข้าร่วมการศึกษา ใช้วิธีวัดผลการรักษาที่เที่ยงธรรม คำนึงถึงผลจากความบังเอิญ แปลผลจากการศึกษานั้นร่วมกับผลจากการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงประโยชน์ของการมองโลกแง่ดีและความคาดหวัง […]

| 0 Comments
Book cover

ทำอย่างไรการตรวจสอบวิธีการรักษาจึงจะดีขึ้น

เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยให้มั่นใจได้ว่าการตัดสินใจเรื่องวิธีการรักษาอิงตามการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ซึ่งจะช่วยยกระดับการดูแลสุขภาพ ลดอันตรายจากวิธีการรักษาที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ และลดงานวิจัยที่สิ้นเปลือง ทำอย่างไรการตรวจสอบวิธีการรักษาจึงจะดีขึ้น ปรับปรุงกระบวนการกำกับงานวิจัย วิจัยในเรื่องที่สำคัญต่อผู้ป่วย อย่ายอมถูกคนบางกลุ่มชักจูง พิจารณาผลจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมเมื่อตัดสินใจเรื่องการรักษา แนวทางสำหรับอนาคตอันสดใส แผนปฏิบัติการเพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น ปรับปรุงกระบวนการกำกับงานวิจัย การรักษาตามปกติก็มีความเสี่ยงไม่แพ้งานวิจัย  หรือที่จริงเสี่ยงยิ่งกว่า การกำกับงานวิจัยเป็นอุปสรรคอันหนักหนาสำหรับผู้ที่อยากประเมินวิธีการรักษาที่ยังไม่ค่อยมีข้อมูล แต่วิธีการรักษาเดียวกันนี้กลับใช้ในเวชปฏิบัติได้ ตราบเท่าที่ผู้ป่วยยินยอม   หมายความว่าความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร บางครั้งการกำกับงานวิจัยก็ทำให้งานวิจัยที่สำคัญล่าช้า […]

| 0 Comments

Know Your Chances

This book has been shown in two randomized trials to improve peoples' understanding of risk in the context of health care choices.

| 0 Comments | Evaluated

Animal Studies

‘Ask for Evidence’ information about the relevance and limitations of animal studies for promoting human health.

| 0 Comments

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments

Dodgy academic PR

Ben Goldacre: 58% of all press releases by academic institutions lacked relevant cautions and caveats about the methods and results reported

| 0 Comments

How do you regulate Wu?

Ben Goldacre finds that students of Chinese medicine are taught (on a science degree) that the spleen is “the root of post-heaven essence”.

| 0 Comments

Screen test

Ben Goldacre notes that even if people realize that screening programmes have downsides, people don’t regret being screened.

| 0 Comments

The certainty of chance

Ben Goldacre reminds readers how associations may simply reflect the play of chance, and describes Deming’s illustration of this.

| 0 Comments

Publish or be damned

Ben Goldacre points out the indefensible practice of announcing conclusions from research studies which haven’t been published.

| 0 Comments

Weasels Are on the Loose

Weaseling is the use of certain words to weaken a claim, so that the author can say something without actually saying it and avoid criticism

| 0 Comments
Book cover

Testing Treatments

Testing Treatments is a book to help the public understand why fair tests of treatments are needed, what they are, and how to use them.

| 0 Comments

Eureka!

Cherry picking the results of people in sub-groups can be misleading.

| 0 Comments

Composite Outcomes

Fair comparisons of treatments should measure important outcomes and avoid dependence on surrogate outcome measures.

| 0 Comments

Biomarkers unlimited

Fair comparisons of treatments should measure important outcomes and avoid dependence on surrogate outcome measures.

| 0 Comments

Goldilocks

Cartoon and blog about how poorly performed systematic reviews and meta-analyses may misrepresent the truth.

| 0 Comments

Cherry Picking

Cherry-picking results that only support your own conclusion may mean ignoring important evidence that refutes a treatment claim.

| 0 Comments

Forest Plot Trilogy

Synthesising the results of similar but separate fair comparisons (meta-analysis) may help by yielding statistically more reliable estimates

| 0 Comments

False Precision

The use of p-values to indicate the probability of something occurring by chance may be misleading.

| 0 Comments

Does it work?

People with vested interests may use misleading statistics to support claims about the efects of new treatments.

| 0 Comments

Alicia

Earlier testing is not always better, and can lead to overdiagnosis and overtreatment.

| 0 Comments

Peer-Review

Even quality control steps, such as peer-review, can be affected by conflicts of interest.

| 0 Comments

Gertrud

Exaggeration and hopes or fears can lead to unrealistic expectations about treatment effects.

| 0 Comments

Soy Lattes

Just because two things are associated, doesn't mean one thing caused the other.

| 0 Comments
DISCERN logo

DISCERN online

A questionnaire providing a valid and reliable way of assessing the quality of written information on treatment choices.

| 0 Comments
Featured image

Means vs. Medians

Keith Bower’s 3-min video explaining how means (averages) and medians can be presented misleadingly.

| 0 Comments

The placebo effect

A video by NHS Choices explaining what the placebo effect is, and describing its role in medical research and the pharmaceutical industry.

| 0 Comments
Book cover

คำนิยมฉบับพิมพ์ครั้งแรกโดย นิก รอส

หนังสือเล่มนี้ดีต่อสุขภาพของเรา เพราะมันให้ความกระจ่างต่อปริศนาเรื่องวิธีตัดสินใจในเรื่องความเป็นความตาย ชี้ให้เห็นว่าดุลพินิจ ในเรื่องนี้มีข้อบกพร่องร้ายแรงบ่อยครั้ง ท้งยังท้าทายให้แพทย์ทั่วโลกปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงาน หนังสือเล่มนี้ทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างกล้าหาญ ทั้งยังยกย่องสิ่งที่การแพทย์สมัยใหม่ทำสำเร็จ เพราะเป้าหมายของหนังสือเล่มนี้คือการยกระดับเวชปฏิบัติ ไม่ใช่เหยียบย่ำ ผมเริ่มตระหนักถึงนิสัยมักง่ายในวงการแพทย์เมื่อทศวรรษ 1980 ตอนผมได้รับเชิญเป็นสมาชิกประเภทบุคคลทั่วไปของคณะกรรมการตัดสิน เรื่องวิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด ผมตกตะลึง (คุณก็คงเป็นเหมือนกัน เมื่อได้อ่านเรื่องนี้ในบทที่ 2 [ในฉบับนี้เป็นบทที่ 3]) เราเก็บข้อมูลจากนักวิจัยและแพทย์ชั้นนำจนพบว่าผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงบางคนทำงานโดยใช้การ […]

| 0 Comments

การร่วมตัดสินใจ : การปรึกษาแพทย์เรื่องโรคที่พบบ่อย

แพทย์ : คุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลางครับ เป็นโรคที่พบบ่อยเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ปกติอาการผันผวน คือ ดีบ้างแย่บ้าง แต่ค่อยๆ ลุกลามโดยใช้เวลาหลายปี หรือหลายสิบปี ตอนนี้คุณมีปัญหาเรื่องไหนบ้างครับ ผู้ป่วย : คือถ้าฉันฝืนตัวเองจะปวดเข่ามาก บางครั้งปวดนานหลายชั่วโมงจนนอนไม่ค่อยหลับ ระยะหลังนี้ยิ่งปวดหนัก แล้วฉันก็กลัวว่าจะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อค่ะ แพทย์ : การเปลี่ยนข้อก็เป็นทางเลือกหนึ่งครับ […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีลบปานสตรอว์เบอร์รีแบบใหม่

บางคราวการค้นพบวิธีรักษาที่เห็นผลเด่นชัดก็เกิดโดยบังเอิญ เช่น ภาวะที่เกิดในทารก ซึ่งเรียกว่า ฮีแมงจิโอมา (Hemangioma) หรือเนื้องอกหลอดเลือด ซึ่งคล้ายกับปานแดงชนิด portwine stains ตรงที่เกิดจากการผิดรูปของหลอดเลือดซึ่งยังเจริญไม่เต็มที่ ในฮีแมงจิโอมาหลอดเลือดขนาดเล็กจะรวมกันเป็นก้อนส่วนใหญ่เกิดบนผิวหนัง โดยมักเป็นที่ศีรษะหรือลำคอ แต่ก็อาจเกิดที่อวัยวะภายใน เช่น ตับ ได้ด้วย รอยที่ผิวหนังชนิดนี้มักเรียกว่าปานสตรอว์เบอร์รี เพราะเป็นสีแดงสดและนูน มักมองไม่เห็น […]

| 0 Comments
Book cover

จุมพิตของแม่

วิธีการพื้นๆ ก็อาจได้ผลเด่นชัดเช่นกัน บางครั้งเด็กเล็กก็ใส่สิ่งของชิ้นเล็ก เช่น ของเล่นพลาสติก หรือลูกปัด เข้าไปในจมูกของตน แต่มักพ่นลมออกทางจมูกไล่สิ่งแปลกปลอมไม่ได้ วิธี “จุมพิตของแม่” เพื่อไล่สิ่งที่ติดคานั้นเรียบง่าย แต่ได้ผลดีมากโดยให้พ่อหรือแม่ปิดจมูกข้างที่ไม่มีอะไรติดคาอยู่ พร้อมกับเป่าลมเข้าปากเด็ก [2], [6]. ถัดไป: วิธีลบปานสตรอว์เบอร์รีแบบใหม่

| 0 Comments
Book cover

อิมาทินิบ (Imatinib) ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง ชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)

ผู้ป่วยที่ได้รับยาอิมาทินิบเพื่อรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีลอยด์ก็ได้ผลการรักษาน่าชื่นใจเช่นกัน [4], [5]. ก่อนจะเริ่มนำอิมาทินิบมาใช้ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มะเร็งเม็ด เลือดขาวชนิดนี้แทบไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน ทว่าเมื่อลองใช้ยาใหม่ชนิดนี้ โดยเริ่มในผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษามาตรฐาน อาการโดยรวมของผู้ป่วยกลับดีขึ้นผิดหูผิดตา อิมาทินิบทำให้โรคสงบ ทั้งยังปรากฏว่าช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยได้พอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีอิมาทินิบ อาการข้างเคียงส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรง ปัจจุบันจึงใช้ อิมาทินิบเป็นวิธีการรักษาอย่างแรก ถัดไป: จุมพิตของแม่

| 0 Comments
Book cover

การลบปานแดงแบบ Portwine stains ด้วยเลเซอร์

ปานแบบเป็นปื้นแดงแต่กำเนิดนี้มีสาเหตุจากเส้นเลือดใต้ผิวหนัง ขยายตัวผิดรูปถาวร มักเกิดบนใบหน้า และจะไม่จางหายไปเอง ทั้งยังสีเข้มขึ้นเมื่อเด็กเติบโตจนอาจเสียโฉม ที่ผ่านมามีการลองใช้วิธีการรักษาสารพัด เช่น ทำให้เย็นจัด[ณ] ผ่าตัด และฉายรังสี แต่พบว่าไม่ค่อยได้ผล ทั้งยังมีอาการข้างเคียงหลายประการ แต่การเริ่มใช้วิธีการรักษาด้วยเลเซอร์ ให้ผลน่าประทับใจ เพราะมักเห็นผลในปานชนิดนี้เกือบทุกรูปแบบหลังจากเลเซอร์เพียงครั้งเดียว และแผลที่ผิวหนังโดยรอบซึ่งเกิดจากความร้อนจากเลเซอร์กระจายออก ก็จะหายในเวลาไม่นาน[2], [3] [ณ] cryosurgery […]

| 0 Comments
Book cover

มะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม (ดูบทที่ 3) เป็นอีกตัวอย่างของความไม่แน่นอนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ มีการใช้วิธีผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัด แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยังไม่กระจ่างว่าวิธีการรักษาใดดีที่สุดในมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่มและ “มะเร็งเทียม” รวมถึงจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ควรตัดออกจากบริเวณรักแร้ หรือกระทั่งว่าควรตัดหรือไม่ [20] เท่านั้นยังไม่พอ เรื่องที่ผู้ป่วยสนใจอย่างการบรรเทาความอ่อนเพลียจากการรักษา หรือวิธีใดดีที่สุดในการรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองที่แขน ซึ่งเป็นผลอันทรมานและบั่นทอนสุขภาพหลังผ่าตัดและฉายรังสีที่รักแร้ก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบมากเท่าที่ควร ถัดไป: การสะสางความไม่แน่นอนด้านผลการรักษา

| 0 Comments
Book cover

ยาปฏิชีวนะในการคลอดก่อนกำหนด

เมื่อตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม อาจพบว่าวิธีการรักษาที่หวังว่าจะให้ผลดีและคิดว่าไม่เป็นอันตราย ให้ผลเป็นตรงข้าม แพทย์สั่งใช้วิธีการรักษาต่างๆ ด้วยเจตนาดี โดยเฉพาะหากวิธีการรักษาเหล่านั้นให้ความหวังได้ในยามอับจน เช่น มีทฤษฎีกล่าวว่าการติดเชื้อที่ “ไม่แสดงอาการ” อาจกระตุ้นให้เจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนด แพทย์จึงส่งใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงมีครรภ์บางรายโดยหวังว่าจะช่วยยืดอายุครรภ์ได้ ไม่มีใครคิดจริงจังว่าการ ใช้ยาปฏิชีวนะในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง อันที่จริง ยังมีหลัก ฐานว่าหญิงมีครรภ์อยากใช้ยาปฏิชีวนะเอง ด้วยวิธีคิดแบบ “ลองดูคงไม่เสียหาย” เมื่อมีการตรวจสอบวิธีการรักษานี้อย่างเที่ยงธรรมในที่สุด ผลที่ได้ก็สร้างความกระจ่าง […]

| 0 Comments
Book cover

คาเฟอีน (Caffeine) เพื่อการรักษาปัญหาการหายใจในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

ความแตกต่างใหญ่หลวงของวิธีการรักษาที่ใช้ในโรคหนึ่งๆ เป็นหลักฐานชัดเจนถึงความไม่แน่นอนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ เรื่องข้อดีของวิธีการรักษาต่างๆ และยิ่งแนวทางปฏิบัตินั้นหยั่งรากลึก ก็อาจแปลว่ายิ่งต้องใช้เวลานานในการสะสางความไม่แน่นอนด้วยการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม การใช้คาเฟอีนในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเป็นตัวอย่างที่เห็นชัด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักหายใจไม่ปกติ และบางครั้งก็หยุดหายใจเป็นช่วงสั้นๆ อาการนี้เรียกว่าอาการหยุดหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด (Apnoea in prematurity) เกิดในทารกส่วนใหญ่ซึ่งคลอดขณะที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ ในปลายทศวรรษ 1970 มีการพิสูจน์ว่าการรักษาด้วยคาเฟอีนลดจำนวนครั้งที่เกิดอาการดังกล่าว กุมารแพทย์บางรายจึงเริ่มสั่งใช้ ถึงอย่างนั้นผลของคาเฟอีนก็ยังเป็นที่ถกเถียง […]

| 0 Comments
Book cover

การตรวจพันธุกรรม : บางครั้งมีประโยชน์ แต่หลายคราวเชื่อไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้ “การตรวจพันธุกรรม” ยังใช้เฉพาะกับโรคจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว ซึ่งมักเป็นโรคหายาก เช่น โรคกล้ามเนื้อเสื่อมแบบดูเชนน์ (Duchenne muscular dystrophy) ที่ทำให้สูญเสียกล้ามเนื้อ เกิดในเด็ก หรือโรคฮันทิงตัน (Huntington’s disease) ซึ่งเป็นความผิดปกติในระบบประสาทที่ลุกลามไปเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการในวัยกลางคน นอกจากนี้ การตรวจพันธุกรรมทั้งใช้วินิจฉัยและใช้คัดกรองคนสุขภาพปกติ ที่ประวัติครอบครัวบ่งว่ามีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้สูงกว่าคนทั่วไป เพื่อเป็น […]

| 2 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งปอด : รู้เร็ว แต่ยังไม่เร็วพอหรือเปล่า

การคัดกรองอาจวินิจฉัยโรคได้เร็ว แต่ก็ไม่เร็วพอจะเป็นประโยชน์เสมอไป (ดูภาพ) มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด แพร่กระจายในร่างกายก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการ และก่อนที่การตรวจใดๆ จะพบว่ามีมะเร็ง ความพยายามตรวจหามะเร็งปอดโดยใช้การเอกซเรย์ช่องอก (chest x-rays) เป็นตัวอย่างของปัญหานี้ (ดูระยะ B ในภาพ) ในทศวรรษ 1970 การศึกษาขนาดใหญ่หลายครั้งในผู้สูบบุหรี่จัดพบว่า แม้พบมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก : ผลเสียชัดเจน แต่ประโยชน์ไม่แน่นอน

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในชายทั่วโลก [14] แบ่งกว้างๆ เป็น 2 ชนิด ผู้ป่วยบางรายเป็นชนิดรุนแรง ซึ่งแพร่กระจายเร็ว อัตราการเสียชีวิตจึงสูง แต่ผู้ป่วยจำนวนมากก็เป็นมะเร็งชนิดโตช้า ซึ่งจะไม่ลุกลามจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพตลอดชีวิต จะดีที่สุดหากการคัดกรองวินิจฉัยพบมะเร็งชนิดอันตราย ซึ่งหวังว่าจะรักษาได้ และไม่พบมะเร็งชนิดโตช้า เพราะการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากไม่ว่าชนิดใดก็เสี่ยงให้ผลข้างเคียงเลวร้าย เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่หนักหนา ถ้าเดิมทีมะเร็งไม่ได้ก่อปัญหา […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งเต้านม : เป็นที่ยอมรับแต่ยังมีการถกเถียงกัน

เนื่องจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสี (mammography) ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ เราจึงสันนิษฐานว่าคงมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าวิธีนี้มีประโยชน์มากกว่าโทษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2010 ว่า “การคัดกรองนี้ได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา หญิงกว่า 600,000 รายเข้าร่วมในการทดลองแบบสุ่ม 10 โครงการ ในช่วง 50 ปีมานี้ แต่ละโครงการก็ติดตามพวกเธอนานร่วม 10 […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง (Abdominal aortic aneurysm) : ควรดำเนินการอย่างระมัดระวัง

การคัดกรองหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องอาจมีประโยชน์  ในกลุ่มผู้สูงวัย หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) เป็นเส้นเลือดหลักในร่างกายซึ่งเริ่มต้นจากหัวใจผ่านอกและช่องท้อง ในบางคน ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องจะอ่อนแอลงเมื่ออายุมากขึ้น เส้นเลือดจึงเริ่มขยายออก นี่คือโรคหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) ซึ่งเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ พบได้บ่อยที่สุดในเพศชายอายุ 65 ปีขึ้นไป สุดท้ายหลอดเลือดที่โป่งพองมากอาจแตกรั่วได้โดยไม่แสดงอาการ จึงมักคร่าชีวิต [8] หลักฐานว่าด้วยความถี่ในการเกิดหลอดเลือดโป่งพองในชายสูงอายุนี้ใช้สนับสนุนการเริ่มทำการคัดกรองได้ เช่น ในสหราชอาณาจักร ชาย […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองโรคฟีนิลคีโตนยูเรีย (Phenylketonuria) : มีประโยชน์ชัดเจน

เด็กเกิดใหม่จะได้รับการคัดกรองหาโรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่า ฟีนิลคีโตนยูเรีย หรือ PKU เด็กที่เป็นโรค PKU จะไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในอาหารทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น นม เนื้อ ปลา และไข่ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ฟีนิลอะลานีนจะสะสมในกระแสเลือด เป็นผลให้สมองเสียหายร้ายแรงโดยไม่อาจแก้ไขให้กลับคืน การตรวจหาโรค PKU ทำโดยเก็บเลือด […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 1 ใหม่กว่าแล้วดีกว่าไหม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะวิธีการรักษาใหม่มีโอกาสพอๆ กันที่จะแย่กว่า หรือดีกว่าวิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่ การตรวจสอบวิธีการรักษาที่ (ไม่เที่ยงธรรม) อาจทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและเสียชีวิต วิธีการรักษาที่อนุมัติให้ใช้แล้วก็ใช่ว่าปลอดภัยเสมอไป ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าอาการข้างเคียงจากวิธีการรักษาจะปรากฏ จากวิธีการรักษามักถูกเน้นเกินจริง ขณะที่มักถูกกลบเกลื่อน ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม หากขาดการประเมินอย่างเที่ยงธรรม…คือไม่ลำเอียง…ก็อาจมีการสั่งใช้วิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลหรือกระทั่งเป็นโทษเพราะนึกว่ามีประโยชน์ หรือตรงข้าม การรักษาที่ได้ผลก็อาจถูกละเลยเพราะมองว่าไม่มีประโยชน์ จึงควรตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมกับวิธีการรักษาทุกวิธี โดยไม่ต้องสนใจว่ามันมีที่มาอย่างไร หรือเป็นวิธีมาตรฐานหรือวิธีเสริม/ทางเลือกหรือไม่ ไม่ควรเชื่อทฤษฎีเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ […]

| 0 Comments
Book cover

คำนิยม โดย เบน โกลด์เอเคอร์

เรื่องทางการแพทย์ไม่ควรเป็นสิทธิ์ขาด และคำถามง่ายๆ อย่าง “คุณรู้ได้อย่างไร” เป็นคำถามสำคัญที่สุดที่ทุกคนมีสิทธิ์ถามเมื่อมีการกล่าวอ้างใดๆ ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะให้คำตอบ บุคลากรทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารกับผู้ป่วยขนานใหญ่ นานมาแล้ว “การฝึกทักษะการสื่อสาร” มีเพียงทักษะในการเลี่ยงไม่บอกผู้ป่วยว่ากำลังจะเสียชีวิตเพราะมะเร็ง แต่ทุกวันนี้ เราสอนนักเรียนแพทย์ตามข้อความที่ยกมาจากเอกสารประกอบการสอนว่า “จะทำงานร่วมกับผู้ป่วยอย่างไร เพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพที่เหมาะสม” ปัจจุบัน ผู้ป่วยมีสิทธิ์ร่วมหารือและเลือกวิธีการรักษาที่เห็นว่าดีที่สุดได้ เพื่อให้เป็นไปตามนี้ ทุกคนต้องเข้าใจว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าวิธีการรักษาใดได้ผล หรือจะเกิดอันตราย และเราเปรียบเทียบผลดีกับผลเสียเพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างไร […]

| 3 Comments
Book cover

แผนปฏิบัติการ-สิ่งที่ผู้อ่านทำได้

ไตร่ตรองว่าคำถามใดเรื่องผลของวิธีการรักษาคือคำถามสำคัญ เรียนรู้ที่จะยอมรับความไม่แน่นอน เปิดใจ ตั้งคำถาม และหาคำตอบที่ตรงตามความเป็นจริง กล้าถามแพทย์ว่ามีวิธีการรักษาใดบ้างหากคุณเลือกวิธีการรักษาหนึ่งๆ และถ้าไม่เลือกเลย อาจเกิดอะไรบ้าง เมื่อพิจารณาวิธีการรักษาที่เป็นไปได้ ข้อมูลเพื่อช่วยตัดสินใจที่ www.ohri.ca/DecisionAid อาจเป็นประโยชน์กับคุณ ดูเพิ่มเติมที่ ข้อมูลเพิ่มเติม (หากอยากรู้เรื่องการร่วมตัดสินใจมากกว่านี้) ใช้เว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เช่น เอ็นเอชเอสชอยส์ (www.nhs.uk) ดูบทที่ 12 […]

| 3 Comments
Book cover

แผนการสำหรับอนาคตที่สดใส

งานวิจัยทางการแพทย์สามารถทำเพื่อเหตุผลที่เหมาะสมได้ รวมถึงทำและรายงานอย่างมีคุณภาพได้ด้วย คำแนะนำแต่ละข้อต่อไปนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เมื่อนำมารวมกันโดยทั้งผู้ป่วยและแพทย์สนับสนุน ข้อควรปฏิบัติทั้ง 8 ข้อนี้จะประกอบกันเป็นแนวทางสำหรับอนาคตที่สดใสในการตรวจสอบและใช้วิธีการรักษา เสริมสร้างความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิธีตัดสินว่าคำกล่าวอ้างเรื่องผลของวิธีการรักษาเชื่อถือได้หรือไม่ เพิ่มศักยภาพในการจัดทำ ปรับปรุง และเผยแพร่การทบทวนหลักฐานจากงานวิจัยอย่างเป็นระบบเรื่องผลการรักษา สนับสนุนให้ตรงไปตรงมาเมื่อมีความไม่แน่นอนเรื่องผลของวิธีการรักษา ค้นหาและให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่ตอบคำถามซึ่งผู้ป่วยและแพทย์เห็นว่าสำคัญ แก้ไขการเลือกปฏิบัติในการขอความยินยอมในการรักษา เพิ่มประสิทธิภาพในแวดวงวิจัย ประณามการตีพิมพ์ที่ลำเอียง เรียกร้องให้มีความโปร่งใสของข้อมูลเรื่องผลประโยชน์ทางการค้าและการเอื้อผลประโยชน์ 1. เสริมสร้างความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิธีตัดสินว่าคำกล่าวอ้างเรื่องผลของวิธีการรักษาเชื่อถือได้หรือไม่ ข้อแม้ของการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องตระหนักว่าเหตุใดความลำเอียงและผลจากความบังเอิญจึงอาจบิดเบือนหลักฐานเรื่องผลการรักษาโดยสิ้นเชิง […]

| 0 Comments
Book cover

ออกรายงานวิจัยที่ไม่ลำเอียงและเป็นประโยชน์

แม้จะมีการตีพิมพ์การศึกษา แต่บ่อยครั้งที่ขาดข้อมูลสำคัญซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านประเมินการศึกษาและนำผลไปใช้ได้ การนำการทดลอง แบบสุ่ม 519 เรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารชื่อดังต่างๆ ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 มาทบทวน พบว่าร้อยละ 82 ไม่อธิบายกระบวนการปกปิดการจัดสรร  และร้อยละ 52 ไม่กล่าวถึงรายละเอียดวิธี [ม] ซึ่งเป็นสององค์ประกอบที่แนะนำในบทที่ 6 ว่าจำเป็นยิ่งต่อการศึกษาที่มีคุณภาพ […]

| 0 Comments

ตีพิมพ์และเผยแพร่ผลการศึกษาทั้งหมด

การเลือกรายงานเฉพาะผลบางอย่างจากงานวิจัยอาจทำให้เกิดความลำเอียงใหญ่หลวง การศึกษาที่ให้ผล “ทางลบ” บางเรื่องไม่เคยถูกตีพิมพ์ เนื่องจากผลไม่ตรงใจนักวิจัยหรือผู้ให้ทุน การทดลองเหล่านี้จึงหายไปโดยไร้ร่องรอย [8] นอกจากนี้ การทดลองที่ตีพิมพ์ก็อาจเลือกรายงานผล กล่าวคือ ผลบางอย่างถูกตัดออกเนื่องจากไม่เป็น “ทางบวก” ต่อวิธีการรักษาที่ตรวจสอบ [9] ความลำเอียงในการรายงานงานวิจัยเรื่องผลของวิธีการรักษาต่างๆ ทั้งผิดจริยธรรมและผิดหลักวิทยาศาสตร์ ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยทรมานหรือเสียชีวิต ถัดไป: ออกรายงานวิจัยที่ไม่ลำเอียงและเป็นประโยชน์

| 0 Comments
Book cover

ออกแบบและทำงานวิจัยที่เหมาะสม

เนื่องจากมีการสำรวจที่พบว่ารายงานของการทดลองในคนจำนวนมากด้อยคุณภาพ จึงมีการร่างมาตรฐานการรายงานขึ้นพร้อมทั้งนำไปใช้ มาตรฐานเหล่านี้ทำให้ชัดเจนว่ามีผู้ป่วยกี่รายที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมการศึกษา กี่รายปฏิเสะ มีการนำเสนอตามกลุ่มวิธีการรักษาต่างๆ ดังที่กำหนดไว้แต่แรก แต่มาตรฐานนี้ยังต้องพัฒนาอีกมากในด้าน (ก) การเลือกคำถามในงานวิจัย (ข) วิธีการตั้งคำถามเพื่อให้มั่นใจว่า ผลการรักษาที่เลือกประเมินเป็นผลที่ผู้ป่วยเห็นว่าสำคัญ และ (ค) ข้อมูลที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้ (ดูบทที่ 11 และ 12) การวิจัยเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มผู้ป่วยมีส่วนร่วมอาจเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินว่าการทดลองที่วางแผนนั้น […]

| 0 Comments
Book cover

ตั้งโจทย์วิจัยที่เหมาะสม

บางครั้งแพทย์ก็ไม่รู้ว่าวิธีการรักษาใดน่าจะเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพราะทางเลือกที่มียังไม่ได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ การศึกษาที่มีนัยสำคัญต่อการดูแลผู้ป่วยเช่นนี้ อาจมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมหรือนักวิชาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย คำถามที่สำคัญจึงยังไม่ได้รับคำตอบ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายรุนแรง เช่น คำถามว่าการให้สเตียรอยด์ในผู้ที่สมองเสียหายเนื่องจากการบาดเจ็บทางกาย จะเพิ่มหรือลดโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วย มีการใช้สเตียรอยด์ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บอยู่หลายสิบปี ก่อนที่การศึกษาซึ่งออกแบบอย่างมีคุณภาพจะพบว่าวิธีการรักษาที่แพร่หลายนี้ อาจคร่าชีวิตผู้ป่วยไปแล้วหลายพันราย [2] เดิมทีนักวิจัยจากอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัยบางส่วนคัดค้านโครงร่างการศึกษานี้ เพราะเหตุใด เนื่องจากนักวิจัยกลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมการทดลองเชิงการค้า เพื่อประเมินผลยาใหม่ราคาแพง (ซึ่งเรียกว่าสารปกป้องเซลล์ประสาท [neuroprotective agents]) […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 9 : ประชาชนควรเลี่ยงอย่างไร จึงไม่ถูก “ติดป้าย” ว่าเป็น “โรค” จนได้รับการรักษาโดยไม่จำเป็น

การแพทย์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีวัคซีนและยาปฏิชีวินะเพื่อป้องกันและรักษาการติดเชื้อ การเปลี่ยนข้อ การผ่าตัดต้อกระจก และการรักษามะเร็งในเด็ก เป็นอาทิ แต่ความสำเร็จนี้ผลักดันให้การแพทย์ขยับขยายไปในทิศทางที่ไม่เป็นประโยชน์นัก ผู้มีความรู้มักร้อนวิชา ส่วนแพทย์ (หรือบริษัทยา !) ที่มีวิธีการรักษาใหม่ก็อยากใช้วิธีนั้นรักษาทุกอย่าง เช่น เมื่อมีวิธีการรักษาที่ดีขึ้นในโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แพทย์ก็อยากแนะนำให้ใช้วิธีนั้น แม้ผู้ป่วยจะมีค่าผิดปกติเพียงเล็กน้อย ทำให้จำนวนคนที่ถูกติดป้ายว่าเป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงเพิ่ม พรวดพราด เนื่องจากคนจำนวนมากที่ในอดีตถูกจัดว่าปกติถูก “เปลี่ยนให้เป็นโรค” […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 8 : มีแหล่งข้อมูลซึ่งเชื่อถือได้ที่แนะนำหรือไม่

ไม่มีแหล่งข้อมุลที่รวมทุกโรคทุกวิธีการรักษาไว้ในแห่งเดียว หากจะใช้หลักการในหนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านต้องฝึกฝนทักษะบางประการ เช่น นอกจากบทที่ 6-8 ในหนังสือเล่มนี้ หนังสือเรื่อง ตัดสินใจด้านสุขภาพ อย่างชาญฉลาด (Smart Health Choices) [5]ให้เคล็ดลับว่าจะหาข้อมูลที่มี คุณภาพและตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลอย่างไร มีไม่กี่เว็บไซต์ที่อิงการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เช่น ฐานข้อมูลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบคอเครน (CochraneDatabase of […]

| 0 Comments

คำถามที่ 7 : วิธีใดดีที่สุดในการแยกแยะว่าหลักฐานนั้นๆ (บนเว็บไซต์ หรืออื่นๆ) เชื่อถือได้หรือไม่ ประชาชนควรดูอย่างไร

น่าเสียดายที่ไม่มีตัวบ่งชี้ง่ายๆ ที่แม่นยำว่าข้อมุลเชื่อถือได้ หากไม่ดูงานวิจัยต้นฉบับก็แปลว่าเรากำลังเชื่อการประเมินของผู้อื่น ดังนั้น จึงสำคัญที่ต้องประเมินศักยภาพที่บุคคล (หรือองค์กร) นั้นๆ น่าจะมี และสังเกตว่ามีการเอื้อผลประโยชน์ (หรือปักใจเชื่อเรื่องใด) หรือไม่ หากไม่มี ก็ให้ไตร่ตรองว่าเชื่อหรือไม่ว่าพวกเขาได้พบและประเมินงานวัจัยที่ดีที่สุดแล้ว มีการอธิบาย หรือให้แหล่งอ้างอิงไปยังงานวิจัยนั้นไหม เช่น สมมติว่ามีคนอยากรู้ว่าเบตาแคโรทีน (beta-carotene สารที่มีความเกี่ยวข้องกับวิตามินเอ) เพิ่มหรือลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง […]

| 0 Comments

คำถามที่ 6 : ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไรว่าโรคที่ตนเป็นอยู่ระหว่างการศึกษาด้วยการทดลองในคน ถ้าแพทย์ไม่รู้เรื่องการทดลองดังกล่าว

ไม่ถึง 1 ใน 100 คนที่พบแพทย์จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการทดลองอัตราส่วนนี้แตกต่างกันมากตามโรคและสถานการณ์ แม้แต่ในศูนย์มะเร็งซึ่งยอมรับการทดลองและนำไปใช้แพร่หลาย ก็ยังมีความแตกต่างมาก ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่จะเข้าร่วมการทดลอง แต่ผู้ป่วยผู้ใหญ่เข้าร่วมไม่ถึง 1 ใน 10 ราย การเชิญชวนนี้ส่วนใหญ่ยึดตามสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยรับการรักษา ถ้าสถานพยาบาลนั้นๆ ไม่ได้เข้าร่วมในการทดลองดังกล่าว ก็ไม่อาจเชิญผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยจึงต้องหาสถานพยาบาลที่ร่วมในการทดลอง มีการทดลองที่ทำในชุมชนไม่กี่เรื่องที่ผู้ป่วยเข้าร่วมได้โดยตรง เช่นที่พบบ่อยในงานวิจัยซึ่งออกแบบเพื่อศึกษาว่าควรช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 5 : การตรวจพันธุกรรมและ “การแพทย์เฉพาะคน” แปลว่าแพทย์จะเลือกได้ว่าแต่ละคนควรได้รับวิธีการรักษาใดซึ่งจะทำให้ทุกอย่างที่ว่ามาไม่จำเป็นไม่ใช่หรือ

แม้ว่าการที่สามารถเลือกวิธีการรักษาที่จำเพาะกับคนแต่ละคนจะดึงดูดใจ และอาจเป็นไปได้ในบางโรค แต่แทบไม่มีโอกาสที่วิธีนี้จะกลายเป็นวิธีหลักในการรักษาผู้คน ดังที่ผู้เขียนอธิบายเรื่อง การตรวจพันธุกรรมในบทที่ 4 (หน้า 94-96) โรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเฉพาะปฏิกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างยีนจำนวนมากเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างยีนและปัจจัยแวดล้อมที่ซับซ้อนยิ่งกว่าด้วย ผลการวิเคราะห์พันธุกรรมสำคัญต่อการพิจารณาตัดสินใจของครอบครัว หรือผู้ที่มีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคฮันทิงตัน ทาลัส- ซีเมีย (thalassaemia โรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม) และอื่นๆ (ส่วน […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 4 : จะทราบได้อย่างไรว่าหลักฐานจากงานวิจัยใช้ได้กับตน

การตัดสินใจทุกอย่างอิงจากประสบการณ์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นของบุคคลหรือส่วนรวม การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม เช่น การทดลองแบบสุ่มก็เป็นเพียงประสบการณ์ที่เป็นระบบและออกแบบให้มีความลำเอียงน้อยที่สุด แต่ก็ยังไม่แน่นอนว่าประสบการณ์ในอดีต ไม่ว่าแบบเป็นระบบหรือไม่ จะก่อให้เกิดคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยรายต่อๆ มามากน้อยเพียงใด ดังนั้นหากผู้ป่วยซึ่งศึกษาในการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมกับผู้ป่วยรายนั้นๆ มีอาการคล้ายกัน  และโรคอยู่ในระยะหรือรุนแรงพอๆ กัน ข้อสันนิษฐานที่สมเหตุสมผลที่สุดก็คือผู้ป่วยรายดังกล่าวจะได้ผลเหมือนกับในการศึกษา เว้นแต่มีเหตุให้ควรเชื่อว่าผู้ป่วยรายนั้นหรือโรคที่เป็นต่างกันมาก แน่นอนว่าแม้หลักฐานจะตรงกับผู้ป่วย ผู้ป่วยก็ยังอาจถามเรื่องที่สมเหตุสมผลว่า “ทุกคนแตกต่างกัน จึงต้องได้ผลแตกต่างกันไม่ใช่หรือ” “การตรวจสอบ” […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 3 : สถิติชวนสับสน ผู้ป่วยควรดูตัวเลขเหล่านี้จริงหรือ

วิธีนำเสนอตัวเลขอาจชวนให้ขยาด หรือกระทั่งทำให้เข้าใจผิดสิ้นเชิง แต่ถ้าต้องการเปรียบเทียบวิธีการรักษา 2 วิธี หรืออยากรู้จริงๆ ว่าโรคที่ตนเป็นส่งผลต่อผู้ป่วยรายอื่นอย่างไร ก็ต้องมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องอยู่ดี แต่วิธีนำเสนอตัวเลขบางวิธีอาจเป็นประโยชน์เมื่อเทียบกับวิธีอื่น วิธีดีที่สุดที่ทำให้ตัวเลขสื่อความได้ในประชาชนทั่วไป (และแพทย์ !)  คือการใช้ค่าความถี่ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็ม โดยทั่วไปจึงควรบอกว่า 15 คนใน 100 คน แทนที่จะบอกว่าร้อยละ […]

| 1 Comment

คำถามที่ 2 : ผู้ป่วยอาจอยากรู้ว่าวิธีการรักษา “ได้ผล” หรือไม่ แต่อาจไม่อยากได้ข้อมูลทุกอย่าง

สิ่งสำคัญคือต้องหาจุดสมดุลระหว่างการกระหน่ำข้อมูลกับการกีดกันไม่ให้ได้ข้อมูลมากพอจะใช้ตัดสินใจ รวมถึงต้องไม่ลืมว่าคนหนึ่งคนอาจใช้ข้อมูลบางอย่างในตอนต้น และใช้ข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังขณะที่ต้องเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเพื่อตัดสินใจ เมื่อผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ ท้งสองฝ่ายควรแน่ใจว่าผู้ป่วยได้ข้อมูลที่พอเหมาะ เพื่อให้ตัดสินใจร่วมกับแพทย์ได้ว่าหนทางใดดีที่สุดในขณะนั้น แต่ไม่ใช่เพียงเท่านั้น หากผู้ป่วยค่อยๆ ไตร่ตรองเรื่องต่างๆ แล้วมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มขึ้น แพทย์ควรช่วยผู้ป่วยตรวจสอบเรื่องที่อยากรู้ และอธิบายเรื่องที่กำกวมให้กระจ่าง บางทางเลือกก็ได้อย่างเสียอย่าง สุดท้ายจึงต้องเลือกสิ่งที่แย่น้อยกว่า เช่น ในบทที่ 4 ผู้เขียนกล่าวถึงภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเนื่องจากหลอดเลือดแดงเส้นหลักจากหัวใจขยายออก และอาจรั่วจนคร่าชีวิต […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 1 : หากผู้ป่วยเป็นโรคที่อาจคร่าชีวิตก็ควรลองทุกอย่างไม่ใช่หรือ

เราอยากลองใช้ “ยาวิเศษ” ชนิดล่าสุด หรือเอาอย่างคนดังที่สังคมจับตามอง ผู้อ้างกับหนังสือพิมพ์ยอดนิยมเรื่องวิธีการรักษาที่ตนใช้ โดยอาจเป็นการแพทย์ “ทางเลือก” ซึ่งได้รับความนิยมแต่ไม่เคยถูกตรวจสอบวิธีการรักษาทั่วไปอาจดูน่าเบื่อ หรือหวังพึ่งไม่ได้ แต่วิธีส่วนใหญ่ที่ใช้กับอาการที่อาจคร่าชีวิตต้องผ่านการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน เพื่อดูว่าวิธีดังกล่าวมีประสิทธิผลและปลอดภัยเพียงใด การหาหลักฐานที่ดีที่สุดตั้งแต่ต้นจึงช่วยประหยัดเวลากับเงิน และลดความทุกข์ใจ การแพทย์ทั่วไปมักยอมรับว่าประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาที่มียังไม่แน่นอนอยู่บ้าง จึงหาทางทำให้ประเด็นดังกล่าวกระจ่างจนพอยอมรับได้ ด้วยการตรวจสอบและการทบทวนหลักฐานอย่างเป็นระบบอยู่เสมอเพื่อพัฒนาวิธีการรักษาที่มี การพัฒนาเหล่านี้ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้ป่วยที่เล็งเห็นว่านี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นธรรมดาที่ผู้เป็นโรคที่อาจคร่าชีวิตยอมลองทุกอย่างรวมถึง “วิธีการรักษา” ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามเรื่องการนำหลักฐานจากงานวิจัยมาใช้จริง

เนื้อเรื่องย่อย: คำถามที่ 1 : หากผู้ป่วยเป็นโรคที่อาจคร่าชีวิตก็ควรลองทุกอย่างไม่ใช่หรือ คำถามที่ 2 : ผู้ป่วยอาจอยากรู้ว่าวิธีการรักษา “ได้ผล” หรือไม่ แต่อาจไม่อยากได้ข้อมูลทุกอย่าง คำถามที่ 3 : สถิติชวนสับสน ผู้ป่วยควรดูตัวเลขเหล่านี้จริงหรือ คำถามที่ 4 : […]

| 1 Comment

คุณคิดว่าแนวคิดในเว็บไซต์นี้เป็นอย่างไร

แม้การปรึกษาแพทย์แต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แต่ก็ใช้หลักการที่เว็บไซต์นี้กล่าวถึง ในการไตร่ตรองเพื่อให้ตัดสินใจได้เหมาะสมที่สุด เป้าหมายคือทั้งผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพควรมั่นใจได้ว่าได้ร่วมกันหาทางออกโดยใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ดีที่สุด ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยโรคแตกต่างกัน บ้างระยะสั้น บ้างระยะยาว บ้างอาจคร่าชีวิต และบ้างก็แค่ “น่ารำคาญ” ผู้ป่วยมีความจำเป็นส่วนตัวแตกต่างกันไปไม่รู้จบ แต่ล้วนมีเรื่องที่ต้องการคำตอบ เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้เห็นภาพ ผู้เขียนจะเริ่มจากตัวอย่างการปรึกษาแพทย์เรื่องปัญหาที่พบบ่อย คือโรคข้อเข่าเสื่อม จากนั้นจึงตอบคำถามหลักๆ เรื่องการใช้หลักฐานจากงานวิจัยเป็นข้อมูลในเวชปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยโรคต่างๆ อาจอยากได้รับคำตอบเมื่อปรึกษาผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ […]

| 0 Comments
Book cover

การตัดเต้านม

การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเต้านมมากระทั่งกลางศตวรรษที่ 20 โดยมีที่มาจากความเชื่อว่ามะเร็งค่อยๆ ลุกลามอย่างมีแบบแผน เริ่มจากแพร่กระจายจากเนื้องอกในเต้านมไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่รักแร้ จึงมีการให้เหตุผลว่ายิ่งผ่าตัดเนื้องอกแบบถอนยวงและรวดเร็วเท่าใด ก็จะยิ่งมีโอกาสหยุดการแพร่ของมะเร็งได้มากเท่านั้น วิธีการรักษาจึงเป็นการผ่าตัด “เฉพาะบริเวณ” คือผ่าตัดเต้านม หรือ บริเวณโดยรอบ แต่ถึงจะเรียกว่าเฉพาะบริเวณ การตัดเต้านมแบบถอนราก (radical mastectomy) ก็ไม่ได้ใกล้เคียงคำนี้เลย เพราะเป็นการตัดทงกล้าม […]

| 0 Comments
Book cover

การร่วมมือกันเป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตที่สดใส

ผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบวิธีการรักษาได้ในหลากหลายช่องทาง คนกลุ่มนี้อาจมีบทบาทสำคัญยิ่งยวดดังที่ผู้เขียนอธิบายข้างต้น กล่าวคือเป็นผู้ที่ชี้ว่าความรู้ปัจจุบันยังบกพร่องตรงไหน รวมถึงชี้ว่าต้องค้นหาวิธีใหม่ในการกระทำการต่างๆ นักวิจัยอาจสนับสนุนให้พวกเขาออกความเห็น โดยให้ร่วมงานในบางขั้นตอน หรือในทุกขั้นตอนตั้งแต่การค้นหาประเด็นที่ต้องคลายความไม่แน่นอน ไปจนถึงการเผยแพร่และนำผลการศึกษาไปใช้ รวมถึงการรวมผลจากการศึกษาเข้าในการ ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่ทันเหตุการณ์ ผู้ป่วยและประชาชนยังอาจมีส่วนร่วมผ่านหลายช่องทางในงานเรื่องเดียว ทั้งยังอาจริเริ่มการวิจัยเอง ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว จึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมว่าควรใช้วิธีใดกับการศึกษาไหน วิธีให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการทดลองเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมากข้างต้นก็ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา แม้แต่ในระหว่างที่ศึกษา การร่วมมือระหว่างผู้ป่วยกับนักวิจัยส่งผลดียิ่งต่อการสร้างความชัดเจนเรื่องวิธีการรักษาเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม การมีวิธีต่างๆ ที่องค์กรวิจัยระดับชาติยอมรับและสนับสนุนช่วยให้เกิดความร่วมมือในแต่ละการศึกษาตามสมควร เป็นจุดเริ่มต้นของอนาคตที่สดใส […]

| 0 Comments
Book cover

ลดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยกับนักวิจัย

บางครั้งอาจเกิดปัญหาเมื่อผู้ป่วยมีส่วนร่วม หรือสร้างความเสียหายโดยไม่ตั้งใจ เพราะการมีเจตนาดีไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียเสมอไป แต่ก็มีตัวอย่างชัดเจนว่ามีประโยชน์ที่ให้นักวิจัยและผู้ป่วยร่วมมือกันทำให้งานวิจัยตรงประเด็นและออกแบบเหมาะสมยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้นักวิจัยจำนวนมากจึงเสาะหาผู้ป่วยที่ร่วมงานกันได้ ตัวอย่างหนึ่งของประโยชน์จากการช่วยกันเตรียมการก่อนวิจัย คือ การที่นักวิจัยหารือกับผู้ป่วยและผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะป่วย เรื่องอุปสรรคในการตรวจสอบวิธีการรักษาที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องได้รับวิธีการรักษาทันทีที่มีอาการจึงจะรักษาได้ แต่นักวิจัยไม่แน่ใจว่าควรทำการศึกษาอย่างไร จึงขอความช่วยเหลือจากผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย โดยประชุมหารือกับกลุ่มผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพรวมทั้งจัดกลุ่มสนทนาในผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้ แผนการศึกษาจึงชัดเจนขึ้น อีกทั้งผู้ป่วย ยังช่วยนักวิจัยร่างและปรับเอกสารในการให้ข้อมูลการศึกษาด้วย [20] งานวิจัยขั้นต้นที่รอบคอบชิ้นนี้ทำให้ได้แผนทำการทดลองแบบสุ่มซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยทันที การที่สมาชิกในกลุ่มสนทนาเข้าใจถึงความลำบากใจเมื่อนักวิจัยต้องขอความยินยอมหลังให้ข้อมูลจากผู้ป่วยที่อาจกำลังมึนงง […]

| 0 Comments
Read the book

องค์กรผู้ป่วย : ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจริงหรือ

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ป่วยกับอุตสาหกรรมยาก่อให้เกิดการ เอื้อผลประโยชน์ที่ไม่เป็นที่รู้กันนัก องค์กรผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเงินเพียงน้อยนิดดำเนินการโดยอาสาสมัครเป็นหลัก และได้รับทุนจากแหล่งทุนที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเป็นเงินไม่มาก การที่บริษัทยาให้เงินสนับสนุนและทำโครงการร่วมกับองค์กรจึงช่วยให้องค์กรเติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์นี้อาจบิดเบือนประเด็นที่ผู้ป่วยเห็นว่าสำคัญ รวมถึงประเด็นวิจัยให้ผิดไปจากความเป็นจริงได้ การประเมินความหนักหนาของปัญหานี้ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจจากการสำรวจเพื่อประเมินว่าเอกชนให้การสนับสนุนองค์กรผู้ป่วย และผู้บริโภคที่ทำงานร่วมกับองค์การยาแห่งสหภาพยุโรปมากน้อยเพียงใด องค์การดังกล่าวประสานงานการประเมินยาชนิดใหม่ รวมถึงติดตามผลการใช้ยานั้นทั่วยุโรป ทั้งยังเชิญชวนให้กลุ่มผู้ป่วยและผู้บริโภคมีส่วนร่วมในงานด้านการกำกับยาขององค์การอย่างน่ายกย่อง แต่เมื่อสำรวจในช่วงปี ค.ศ. 2006-2008 ใน 23 กลุ่มที่ร่วมงานกับองค์การพบว่า 15 […]

| 0 Comments
Book cover

ผู้ป่วยอาจก่อความเสียหายต่อการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมได้อย่างไร

การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในงานวิจัย ไม่ได้ช่วยส่งเสริมการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมเสมอไป เมื่อปี ค.ศ. 2001 การสำรวจในหมู่นักวิจัยพบว่าบางครั้งการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมก็เป็นผลดีอย่างยิ่ง แต่ก็พบปัญหาสำคัญบางประการ โดยส่วนใหญ่เกิดเพราะแต่ละฝ่ายยังไม่เคยชินกับการร่วมมือกัน ปัญหาแรกคือ มักเริ่มวิจัยได้ล่าช้ากว่าที่วางแผนมาก และยังมีประเด็นว่าผู้ป่วยบางส่วนคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว จึงไม่ “ทำหน้าที่ตัวแทนกลุ่ม” เนื่องจากไม่เข้าใจว่าต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมด้วยเมื่อมีการประชุมวางแผนการทดลอง [5] ปัญหาหลายอย่างน่าจะเกิดเพราะผู้ป่วยไม่เข้าใจเรื่องวิธีการดำเนินการและให้ทุนงานวิจัย ซึ่งไม่แปลก บางครั้งความจนตรอกก็ทำให้ผู้ป่วยดิ้นรนเพื่อให้ได้ใช้วิธีการรักษาซึ่งยังขาดการประเมินอย่างถี่ถ้วน และอาจได้ไม่คุ้มเสียแม้ผู้ป่วยจะใกล้เสียชีวิต ผู้เขียนกล่าวข้างต้นเรื่องผลเสียจากการวิ่งเต้นของผู้ป่วยและผู้ที่สนับสนุนให้วางจำหน่ายยารักษาโรคเอดส์ชนิดใหม่ที่ […]

| 0 Comments
Read the book

ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในงานวิจัย

การให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในงานวิจัยมีที่มาอย่างไร ในบทที่ 3 ผู้เขียนยกตัวอย่างว่า เหตุใดการที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมถูกยัดเยียดให้รับการรักษาเกินจำเป็นจึงก่อให้เกิดเสียงคัดค้านและการเปลี่ยนแปลงในหมู่นักวิจัยซึ่งเป็นแพทย์คลื่นลูกใหม่ ตามด้วยในหมู่ผู้ป่วย แพทย์จึงร่วมมือกับผู้ป่วยเพื่อให้ได้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์และตรงความต้องการของผู้ป่วย ผู้ป่วยคัดค้านการตัดเต้านมแบบถอนราก พร้อมกับแสดงออกว่าพวกเธอมองไกลกว่าแค่การกำจัดมะเร็ง จึงอยากมีสิทธิ์เลือกวิธีที่ใช้เพื่อหาทางรักษาโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิผล ผู้ป่วยและประชาชนที่อยากเป็นนักวิจัยร่วมเต็มตัว เข้าร่วมได้หลาย ช่องทาง เช่น อาจเข้าร่วมในนามตัวเอง หรือในนามกลุ่มรณรงค์เพอสุขภาพ / โรค หรืออาจเข้าร่วมในกิจกรรมกลุ่มแบบมีวิทยากร เช่น […]

| 2 Comments
Read the book

ผู้ป่วยและประชาชนช่วยพัฒนางานวิจัยได้อย่างไร

ขณะนี้โลกการแพทย์ที่เคยเป็นเขตหวงห้าม เริ่มเปิดรับผู้ที่เคยเป็น “คนนอก” พร้อมทั้งแนวคิดใหม่ๆ ผู้ป่วยและประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น จึงมีส่วนช่วยทั้งด้านหัวข้อและวิธีทำวิจัยด้านการดูแลสุขภาพยิ่งขึ้นเรื่อยๆ [1] กระแสจากทั่วโลกสนับสนุนให้ผู้ป่วยเป็นคู่คิดในกระบวนการวิจัย ปัจจุบันมีแนวทางที่ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามถ้าอยากให้ผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนร่วม [2,3,4] ประสบการณ์ช่วยให้ผู้ป่วยมองประเด็นได้ขาดและให้ความเห็นได้เฉียบแหลม เนื่องจากผู้ป่วยประสบโรคกับตัวจึงให้ความกระจ่างได้ว่า คนเราตอบสนองต่อโรคอย่างไร และการตอบสนองดังกล่าวกระทบต่อการเลือกวิธีการรักษาอย่างไร หลักฐานจำนวนมากจากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม [5] การทบทวนรายงานวิจัยอย่างเป็นระบบ [1] รายงานจากการทดลองแต่ละเรื่อง [6] […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 11 การช่วยให้งานวิจัยที่เหมาะสมสำเร็จ เป็นเรื่องของทุกคน

ประเด็นสำคัญ การที่ผู้ป่วยกับนักวิจัยร่วมมือกัน ช่วยให้พบและลดในวิธีได้ ความเห็นของผู้ป่วยช่วยให้ดีขึ้น บางครั้งผู้ป่วยก็ก่อความเสียหายโดยไม่เจตนาในการตรวจสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ป่วยกับอุตสาหกรรมยาอาจบิดเบือนข้อมูลเรื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือได้มีประสิทธิผล ผู้ป่วยต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานวิจัยมากกว่านี้และต้องเข้าถึงข้อมูลที่เป็นกลางได้สะดวกกว่านี้ มีวิธีที่ “เหมาะสม” หลายวิธีในการร่วมมือกันทำงานวิจัยให้สำเร็จ ผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงจุดประสงค์ในงานวิจัย วิธีให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในบทก่อนๆ ผู้เขียนได้แสดงแล้วว่าอาจเสียทั้งเงิน เวลา และแรงเปล่า หากทำวิจัยเกี่ยวกับผลของวิธีรักษาโดยไม่จำเป็นหรือไม่ ในเรื่องที่ไม่มีทางช่วยตอบคำถามที่สำคัญต่อผู้ป่วย ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านคงเห็นด้วยว่าการตรวจสอบวิธีการรักษาในภายหน้าควรพัฒนาด้วยการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ป่วย […]

| 0 Comments
Book cover

ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะศึกษาอะไร

เห็นชัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่เข้าที แต่เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งคือประเด็นวิจัยมักถูกบิดเบือนโดยปัจจัยภายนอก [22] เช่น อุตสาหกรรมยาทำการวิจัยเพื่อสนองเป้าหมายหลัก คือเพื่อให้ลุล่วงตามภาระหน้าที่ในการทำกำไรที่มีต่อผู้ถือหุ้น ส่วนความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ป่วยและแพทย์สำคัญรองลงมา ธุรกิจถูกชักจูงด้วยตลาดขนาดใหญ่ เช่น หญิงที่สงสัยว่าควรใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ซึมเศร้า วิตก กังวล หดหู่ หรือเจ็บปวด ทว่าในช่วงทศวรรษหลังๆ แนวทางแบบเล็งผลทางการค้านี้แทบไม่ได้ทำให้เกิดวิธีการรักษาใหม่ที่สำคัญ แม้แต่ในโรค “ยอดนิยม” […]

| 2 Comments
Book cover

โจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย

นักวิจัยในบริสตอล สหราชอาณาจักร ตัดสินใจตั้งคำถามสำคัญว่า “งานวิจัยเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมตอบโจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยและแพทย์หรือไม่อย่างไร” [17] พวกเขาเริ่มจากจัดกลุ่มสนทนา 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยอายุรแพทย์โรคข้อนักกายภาพบำบัด และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กลุ่มคนเหล่านี้เห็นตรงกันว่าไม่อยากให้ทำการทดลองที่สนับสนุนโดยบริษัทยา ซึ่งเปรียบเทียบยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (กลุ่มยาที่มีไอบูโพรเฟน เป็นต้น) กับยาหลอกอีก ผู้ป่วยเห็นว่าแทนที่จะศึกษาเรื่องยา น่าจะมีการประเมินการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดอย่างมีคุณภาพ รวมถึงประเมินมาตรการให้ความรู้และรับมือกับโรค ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการเรื้องรังที่มักก่อความเจ็บปวดและอาจพิการนี้ได้เป็นผลดียิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

ลำดับความสำคัญที่บิดเบือนในงานวิจัย

เป้าหมายขององค์กรส่วนใหญ่ที่สนับสนุนการวิจัยทางชีวการแพทย์และของนักวิจัยส่วนใหญ่ มักตรงไปตรงมา คือเพื่อสร้างข้อมูลสำหรับการยกระดับสุขภาพของประชาชน แต่ในรายงานวิจัยด้านนี้นับล้านๆ เรื่องที่ตีพิมพ์ในแต่ละปี จะมีสักกี่เรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายอันควรค่าดังกล่าว เนื้อเรื่องย่อย: โจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะศึกษาอะไร เพิ่มเติม: เอกสารอ้างอิง (บทที่ 10) บทถัดไป: บทที่ 11 การช่วยให้งานวิจัยที่เหมาะสมสำเร็จ เป็นเรื่องของทุกคน

| 0 Comments

งานวิจัยที่ไม่จำเป็น

เนื้อเรื่องย่อย: ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โรคหลอดเลือดสมอง อะโพรทินิน (Aprotinin) : ผลต่อการเลือดออกระหว่างและหลังการผ่าตัด ถัดไป: ลำดับความสำคัญที่บิดเบือนในงานวิจัย

| 0 Comments

งานวิจัยที่ไม่ดี

เนื้อเรื่องย่อย: โรงทางจิตเวช การให้ยาแก้ปวดทางไขสันหลัง (epidural  analgesia) ในหญิงใกล้คลอด ถัดไป: งานวิจัยที่ไม่จำเป็น

| 0 Comments

งานวิจัยที่ดี

เนื้อเรื่องย่อย โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ระยะก่อนชัก (Pre-eclampsia) การติดเชื้อไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) ในเด็ก ถัดไป: งานวิจัยที่ไม่ดี

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 10 งานวิจัย อะไรดี ไม่ดี และไม่จำเป็น

ประเด็นสำคัญ พร่ำเพรื่อทำให้เปลืองเวลา แรง เงิน และทรัพยากรอีกหลายอย่าง ทั้งยังผิดจริยธรรมและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ควรเริ่มทำงานวิจัยใหม่ๆ หลังจากก่อนหน้าอย่างครบถ้วนแล้วพบว่าควรทำ โดยทำหลังจากขึ้นทะเบียนงานวิจัย ควรปรับการทบทวนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องให้ทันเหตุการณ์โดยเพิ่มงานวิจัยใหม่เข้าไป งานวิจัยจำนวนมากด้อยคุณภาพ และทำด้วยเหตุผลที่น่ากังขา ประเด็นวิจัยได้รับอิทธิพลในทางที่ไม่ควรจากทั้งอุตสาหกรรมและนักวิชาการ บ่อยครั้งโจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยไม่ได้รับคำตอบ ในบทก่อนๆ ผู้เขียนเน้นว่าเหตุใดจึงต้องออกแบบการตรวจสอบให้เหมาะสม ให้ตอบโจทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและประชาชน หากทำได้ดังนี้ ทุกคนจะภูมิใจและพอใจผลที่ได้ แม้จะพบว่าวิธีดังกล่าวไม่ดีดังที่หวัง […]

| 0 Comments
Book cover

ระบบกำกับงานวิจัยยังขาดอะไรบ้าง

แม้ระบบกำกับงานวิจัยจะบังคับให้นักวิจัยทำตามข้อกำหนดเข้มงวดก่อนเริ่มการศึกษา แต่เห็นชัดว่าระบบนี้ยังขาดและบกพร่องหลายด้าน หลายระบบไม่ตรวจสอบจนมั่นใจได้ว่าการศึกษาที่วางแผนจะทำนั้นจำเป็น เช่น อาจไม่กำหนดให้นักวิจัยแสดงว่าได้ทบทวนหลักฐานทั้งหมดที่มีอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก่อนจะเริ่มทำการศึกษาใหม่ (ดูบทที่ 8 ว่าเหตุใดการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจึงสำคัญยิ่ง) นอกจากนี้ มาตรการกำกับงานวิจัยส่วนใหญ่ใช้ในช่วงเริ่มต้นวิจัยโดยเน้นการสอดส่องการเชิญชวนผู้เข้าร่วมการศึกษา แต่น่าแปลกใจที่ไม่ค่อยมีมาตรการติดตามระหว่างดำเนินการศึกษา และรับประกันว่านักวิจัยจะตีพิมพ์รายงานทันทีเมื่อการศึกษาสิ้นสุด (หรือกระทั่งตีพิมพ์หรือไม่) เพื่ออธิบายว่าผลการศึกษานั้นช่วยลดความไม่แน่นอนลงอย่างไร ผู้ที่ถูกเชิญชวนให้เข้าร่วมงานวิจัยเรื่องผลของวิธีการรักษาต้องวางใจได้ว่างานนั้นเป็นที่ต้องการ และความช่วยเหลือของตนจะเป็นประโยชน์ระบบกำกับงานวิจัยที่ดี ซึ่งมุ่งไขประเด็นที่ผู้ป่วยเห็นว่าสำคัญ ปัจจุบันมีผู้ตระหนักเพิ่มขึ้นว่าการตรวจสอบวิธีการรักษาเกี่ยวข้องกับทุกคน หากผู้ป่วยและประชาชนคว้าโอกาสที่มีผู้หยิบยื่นให้ในทุกวันนี้ […]

| 2 Comments
Book cover

ข้อมูลและการให้ความยินยอม

ข้อกำหนดด้านการให้ข้อมูลและความยินยอมเข้าร่วมการศึกษาเป็นมาตรการหนึ่งที่ขัดขวางมากกว่าจะสนับสนุนงานวิจัยที่ทำเพื่อลดความไม่แน่นอนเรื่องวิธีการรักษา สิ่งสำคัญคือ ต้องใส่ใจประโยชน์ของทุกคนที่รับการรักษาอยู่ในขณะนั้น ไม่ใช่แค่คนไม่กี่คนที่เข้าร่วมการทดลอง จึงจะถูก จริยธรรม [2] ดังนั้น มาตรฐานในการขอความยินยอมหลังให้ข้อมูล (informed consent) เรื่องการรักษาจึงควรเหมือนกัน ไม่ว่าผู้ป่วยรายนั้นรับการรักษาโดยเข้าร่วมการประเมินอย่างเป็นกิจจะลักษณะหรือไม่ ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลมากจนพอใจในเวลาที่ต้องใช้ เพื่อให้ตัดสินใจได้ตรงกับสิ่งที่ตนเห็นว่าสำคัญและต้องการ เมื่อให้ หรือสั่งใช้วิธีการรักษาในเวชปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เป็นที่รู้กันว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีความต้องการกับความจำเป็นที่แตกต่างกันและอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา อีกทั้งผู้ป่วยยังอาจต่างกันในด้านปริมาณและประเภทของข้อมูลที่ต้องการ ความสามารถใคร่ครวญข้อมูลทั้งหมดในเวลา […]

| 0 Comments
Book cover

ระบบกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษาเหมาะสมหรือไม่

การกำกับงานวิจัยที่เข้มงวดทำให้อุ่นใจ แต่ก่อความลำบากยากเข็ญแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาวิธีการรักษาที่ยังขาดการประเมินอย่างมีคุณภาพแทนที่จะปล่อยให้ผู้ป่วยใช้วิธีดังกล่าวในเวชปฏิบัติตามปกติ ในหลายประเทศ ระบบทั้งด้านกฎหมาย หน่วยงาน มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ และอื่นๆ ซับซ้อนวุ่นวายและกินเวลา นักวิจัยต้องขออนุมัติซ้ำๆ จากหลายแห่ง บางครั้งจึงประสบปัญหาข้อกำหนดที่ขัดแย้งกัน นอกจากนี้ โดยรวมระบบนี้ยังอาจกีดกันและขัดขวางการเก็บข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การดูแลสุขภาพปลอดภัยขึ้น เช่น แม้การใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพว่าด้วยการเก็บความลับจะเป็นไปด้วยเจตนาดี แต่ก็ทำให้นักวิจัยหืดขึ้นคอในการเก็บข้อมูลทั่วๆ ไป ซึ่งอาจช่วยให้ค้นพบผลข้างเคียงจากวิธีการรักษาได้แม่นยำจากเวชระเบียน[ท] กว่านักวิจัยที่วางแผนทำการทดลองในคนจะได้เริ่มเชิญชวนผู้ป่วยก็ต้องใช้เวลาหลายปีนับจากริเริ่ม อีกทั้งกระทั่งการเชิญชวนให้เข้าร่วมการทดลองก็อาจเชื่องช้าเนื่องจากมาตรการควบคุมต่างๆ แต่ระหว่างที่นักวิจัยฟันฝ่าด่านต่างๆ […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 9 การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วย หรือตัวถ่วง

ประเด็นสำคัญ การกำกับซับซ้อนเกินจำเป็น ระบบกำกับงานวิจัยในปัจจุบันขัดขวางซึ่งเป็นไปเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น แม้ระบบกำกับงานวิจัยจะมีข้อกำหนดเข้มงวดที่นักวิจัยต้องปฏิบัติ แต่ระบบแทบไม่อาจรับรองว่าการศึกษาที่วางแผนจะทำมีความจำเป็นจริง การกำกับงานวิจัยแทบไม่สนใจติดตามสังเกตงานวิจัยที่อนุมัติให้ทำแล้ว ถึงตอนนี้ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าบ่อยครั้งที่วิธีการรักษายังขาดการประเมินอย่างถี่ถ้วน และผลการรักษาก็ยังไม่แน่นอนทั้งที่ไม่ควร ถึงอย่างนั้น ดังที่ผู้เขียนให้ความเห็นในบทที่ 5 ทัศนคติแบบเดิมๆ ยังคงเหนี่ยวรั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพไม่ให้ร่วมมือกับผู้ป่วยเพื่อให้ได้ความกระจ่างเรื่องผลการรักษา น่าแปลกที่มาตรการกำกับการวิจัยทางการแพทย์ในประเทศส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา โดยบังคับให้แบ่งแยกการวิจัยออกจากการรักษา งานวิจัยถูกตีขลุมว่าเป็นกระบวนการที่อันตรายมากจนต้องดูแลเข้มงวด ส่วนการรักษาทั่วไปถูกมองว่าสร้างปัญหาน้อยกว่า ทั้งที่ผู้ป่วยอาจรับความเสี่ยงจากการใช้วิธีการรักษานอกงานวิจัย โดยยังไม่ผ่านการประเมิน หรือผ่านการประเมินที่ด้อยคุณภาพ […]

| 3 Comments
Book cover

รายงานวิจัยเรื่องใหม่ควรเริ่มต้นและปิดท้ายด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

รายงานจากการศึกษา [20] เพื่อประเมินผลของการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลัน เป็นตัวอย่างว่าจะตอบคำถามทั้ง 4 ข้อของแบรดฟอร์ด ฮิลล์ได้อย่างไร นักวิจัยกลุ่มนี้อธิบายว่าเริ่มทำการศึกษานี้ เนื่องจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่พวกเขาทำโดยใช้หลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดร่วมกับหลักฐานว่ามีความแตกต่างในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว พบว่ามีความไม่แน่นอนข้อสำคัญเรื่องผลของวิธีการรักษาที่ใช้กัน เพิ่มเติม: เอกสารอ้างอิง (บทที่ 8) บทถัดไป: บทที่ 9 การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วยหรือตัวถ่วง

| 0 Comments
Book cover

ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย

ผลเสียของการไม่ทบทวนหลักฐานจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้และเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มีเพียงก่ออันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้เข้าร่วมในงานวิจัยนั้น เพราะยังอาจทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลและการวิจัยด้านสุขภาพ เช่น ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ผู้ป่วยรวมกว่า 8,000 ราย เข้าร่วมในการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับยาชนิดใหม่ที่เสนอให้ใช้ในโรคหลอดเลือดสมอง นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ทบทวนผลจากการศึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มนี้อย่างเป็นระบบ โดยไม่พบผลที่เป็นประโยชน์ (ดูบทที่ 10) [17] จึงตัดสินใจทบทวนผลจากการตรวจสอบยาดังกล่าวที่เคยทำในสัตว์ ซึ่งก็ยังไม่พบประโยชน์ใดๆ [18] หากนักวิจัยที่ทดลองในสัตว์และนักวิจัยที่ศึกษาในคนทบทวนผลจากการศึกษาในสัตว์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ผลดัง […]

| 2 Comments
Book cover

อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย

การไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งที่เลี่ยงได้ นักวิจัยยังถูกว่าจ้างให้ทำการศึกษาซึ่งระงับการใช้วิธีการรักษาที่รู้ว่ามีประสิทธิผล เช่น เนิ่นนานหลังจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือแสดงว่า การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดลำไส้ช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อน นักวิจัยยังคงทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยไม่ให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยครึ่งหนึ่ง การที่นักวิจัยละเลยการทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ ตัดโอกาสที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาครึ่งหนึ่งจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่าเป็นประโยชน์ มีหลักฐานว่าความบกพร่องร้ายแรงนี้ยังไม่เป็นที่สนใจทั้งจากหน่วยงานที่ให้ทุนแก่งานวิจัยและจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยซึ่งทบทวนโครงร่างงานวิจัย แต่กลับไม่โต้แย้งนักวิจัย หากนักวิจัยไม่ประเมินสิ่งที่รู้อยู่แล้วเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษานั้นๆ อย่างเป็นระบบนอกจากผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีการรักษาจะต้องเสี่ยง ยังอาจส่งผลเสียต่ออาสาสมัครสุขภาพดีด้วย ระยะแรกในการตรวจสอบวิธีการรักษามักทำในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวนน้อยในปี ค.ศ. 2006 ชายหนุ่มอาสาสมัคร 6 รายของหน่วยวิจัยเอกชนในเวสต์ลอนดอน […]

| 0 Comments
Book cover

อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้

มีการนำวิธีที่แนะนำให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งตีพิมพ์ในตำรามานานกว่า 30 ปี มาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ถูกละเลย เพราะผู้เขียนตำราไม่ได้ทบทวนรายงานการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมในช่วงนั้นอย่างเป็นระบบ [11] การเปรียบเทียบพบว่าคำแนะนำในตำรามักผิดพลาด เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ทบทวนหลักฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ผลจากการนี้รุนแรงแสนสาหัส เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเสียโอกาสได้รับวิธีการรักษาที่ช่วยชีวิตได้ (เช่น ยาละลายลิ่มเลือด) หรือกระทั่งหลังจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมพิสูจน์แล้วว่าวิธีการรักษาหนึ่งๆ เป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์กลับยังแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวต่อไปอีกนาน เช่น การใช้ยาที่ลดความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่กำลังมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (ดูข้างต้นและบทที่ 2) […]

| 0 Comments
Book cover

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ต้องนำหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องมาทบทวนอย่างเป็นระบบ เพื่อดูว่าเรารู้อะไรแล้วบ้าง ทั้งจากงานวิจัยในสัตว์ ห้องปฏิบัติการ และการทดลองใช้วิธีการรักษาใหม่ ซึ่งบางครั้งก็ทำกับอาสาสมัครสุขภาพดี หรืองานวิจัยก่อนหน้าที่ทำในผู้ป่วย ถ้าขั้นตอนนี้ถูกละเลย หรือไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาอาจร้ายแรง กล่าวคือ ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยอาจทรมานจนเสียชีวิตโดยไม่สมควร สูญทรัพยากรล้ำค่าทั้งในการดูแลสุขภาพและงานวิจัย เนื้อเรื่องย่อย อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย ถัดไป: รายงานวิจัยเรื่องใหม่ควรเริ่มต้นและปิดท้ายด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ  

| 2 Comments
Book cover

คำนึงถึงการตักตวงผลประโยชน์และการบิดเบือนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

จะเป็นอย่างไรหากผู้ทบทวนวรรณกรรมมีผลประโยชน์อื่นซึ่งอาจกระทบการดำเนินงานหรือการแปลผล โดยอาจได้รับเงินจากบริษัทผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ที่ตรวจสอบอยู่  เมื่อประเมินหลักฐานเรื่องผลจากน้ำมันอีฟนิงพริมโรสต่อผื่นผิวหนังอักเสบผู้ทบทวนวรรณกรรมซึ่งเกี่ยวพันกับผู้ผลิตยาได้ข้อสรุปว่าน้ำมันนี้น่าประทับใจกว่าที่ผู้ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าสรุป (ดูบทที่ 2) แต่การทบทวนที่ลำเอียงไม่ได้เกิดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดได้จากอคติของทุกคน ทั้งนักวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและผู้ป่วย น่าผิดหวังที่บางครั้งผู้ตักตวงผลประโยชน์ ใช้ความลำเอียงปรับวิธีการรักษาให้ดูดีกว่าที่เป็นจริง. (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 10)[8] ซึ่งเกิดเมื่อนักวิจัยบางส่วนจงใจเพิกเฉยหลักฐานที่มี โดยมักเป็นเพราะเหตุผลทางการค้า แต่บ้างก็ด้วยเหตุอื่น พวกเขาออกแบบ วิเคราะห์และรายงานผลจากงานวิจัย โดยตกแต่งผลเกี่ยวกับวิธีการรักษาหนึ่งๆ ให้เป็นด้านบวก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษ […]

| 2 Comments
Book cover

การลดผลจากความบังเอิญในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ในบทที่ 7 ผู้เขียนอธิบายวิธีลดผลจากความบังเอิญโดยรวมข้อมูลจากการศึกษาที่เป็นเอกเทศแต่คล้ายคลึงกันด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การวิเคราะห์เชิงอภิมาน” พร้อมยกตัวอย่าง 5 การศึกษาจาก 5 ประเทศที่แยกกันดำเนินการและรับทุนเพื่อไขข้อข้องใจนาน 60 ปีว่า ทารกซึ่งคลอดก่อนกำหนดต้องมีระดับออกซิเจนในเลือดเท่าใดจึงจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตโดยไม่พิการร้ายแรง ตัวอย่างนี้ทำให้เห็นภาพว่าสามารถวางแผน กระบวนการดังกล่าวก่อนได้ผลการศึกษา ทั้งยังทำหลังการศึกษาซึ่งคล้าย กันจำนวนหนึ่งเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1974 […]

| 0 Comments
Book cover

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงภาษา หรือรูปแบบการรายงานนั้นยากเอาเรื่อง ปัญหาสำคัญคือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องบางชิ้นไม่ได้รายงานต่อสาธารณะ การรายงานไม่ครบถ้วนมีสาเหตุหลักจากการที่นักวิจัยไม่เขียนหรือส่งรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เนื่องจากผลไม่ได้ดังใจ บริษัทยาปกปิดการศึกษาที่ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของตน ส่วนวารสารก็มักลำเอียงโดยปฏิเสธรายงานที่ส่งเข้ามา เพราะเห็นว่าผลไม่ “น่าตื่นเต้น” พอ [3] การรายงานงานวิจัยไม่ครบถ้วนด้วยความลำเอียงนั้น ผิดทั้งหลักวิทยาศาสตร์และจริยธรรม โดยเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่าเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังใคร่ครวญเลือกวิธีการรักษาอาจจะเข้าใจผิด เพราะมีโอกาสน้อยที่จะมีการรายงานการศึกษาซึ่งได้ผล “ไม่ได้ดังใจ” หรือ […]

| 0 Comments
Book cover

การลดความลำเอียงในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

เช่นเดียวกับที่ความลำเอียงอาจบิดเบือนการตรวจสอบวิธีการรักษาหนึ่งๆ จนได้ข้อสรุปที่เป็นเท็จ มันยังบิดเบือนการทบทวนวรรณกรรมได้เช่นกัน เช่น นักวิจัยอาจจะ “คัด” การศึกษา “งามๆ” ที่รู้ว่าจะช่วยหนุนคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ตนต้องการจะสื่อ เพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ควรวางแผนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบไว้เป็นโครงร่างการวิจัย เช่นเดียวกับงานวิจัยเดี่ยวๆ โดยโครงร่างต้องชี้แจงว่านักวิจัยจะใช้วิธีใดลดความลำเอียงและผลจากความบังเอิญ ขณะเตรียมการทบทวนวรรณกรรม รวมถึงระบุว่าการทบทวนจะตอบคำถามใดเกี่ยวกับวิธีการรักษาเกณฑ์การคัดการศึกษาเข้า วิธีค้นหาการศึกษาที่มีแนวโน้มเข้าเกณฑ์ ขั้นตอนการลดความลำเอียงในการคัดการศึกษาเข้า และขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ถัดไป: การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

| 0 Comments
Book cover

การทบทวนหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องท้ังหมดอย่างเป็นระบบ

การบอกว่าเราควรทบทวนผลจากการศึกษาหนึ่งๆ ร่วมกับหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องง่าย แต่ทำได้ยากในหลายแง่ การทบทวนวรรณกรรมมีความสำคัญ เพราะประชาชนควรเชื่อถือมันได้ จึงต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด การทบทวนที่ดูเหมือนพยายามตอบคำถามเดียวกันเรื่องวิธีการรักษาหนึ่งๆ อาจได้ข้อสรุปแตกต่างกัน บ้างก็เป็นเพราะคำถามต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย หรือเพราะวิธีวิจัยที่นักวิจัยใช้แตกต่างกัน และ บ้างก็เป็นเพราะนักวิจัย “บิด” ข้อสรุป จึงสำคัญที่ต้องค้นหาการทบทวนวรรณกรรมที่ตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีการรักษา ซึ่งเข้ากันได้กับคำถามที่เราสนใจ มีความเป็นไปได้สูงว่าออกแบบมาให้ลดผลจากความลำเอียงและความบังเอิญได้ ทั้งยังได้ข้อสรุปที่ตรงไปตรงมาตามที่หลักฐานบ่งชี้ เนื้อเรื่องย่อย […]

| 0 Comments
Book cover

แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

คำตอบง่ายๆ คือ “มักไม่พอ” น้อยครงทการเปรียบเทียบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมเพียงเรื่องเดียว ให้หลักฐานที่เชื่อถือได้พอนำมาใช้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ แต่ก็เป็นไปได้ในบางกรณี หนึ่งในการศึกษาหายากเหล่านี้พิสูจน์ว่าการใช้แอสไพรินในช่วงที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร [1] อีกการศึกษาหนึ่งชี้ชัดว่าการให้สเตียรอยด์ในคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลันคร่าชีวิตได้ (ดูด้านล่างและบทที่ 7) และการศึกษาที่สามพบว่าคาเฟอีนเป็นยาชนิดเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าป้องกันสมองพิการในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดาหนด (ดูบทที่ 5) แต่ปกติการศึกษาเดี่ยวๆ ก็เป็นเพียงหนึ่งในการเปรียบเทียบมากมาย ซึ่งตอบคำถามเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน จึงควรประเมินหลักฐานที่ได้จากแต่ละการศึกษาร่วมกับการศึกษาอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน […]

| 1 Comment
Book cover

บทที่ 8 ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ประเด็นสำคัญ เดี่ยวมักให้หลักฐานไม่เพียงพอเป็นแนวทางเพื่อเลือกวิธีในการดูแลสุขภาพ การประเมินข้อดีของวิธีการรักษาต่างๆ ควรอิงเชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากและผลจากซึ่งทำให้เข้าใจผิด เช่นเดียวกับในการศึกษาเดี่ยวเพื่อตรวจสอบวิธีการรักษา การไม่พิจารณาผลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยทั้งที่หลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลสุขภาพและการวิจัย ถัดไป: แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

| 0 Comments
Book cover

การได้จำนวนที่มากพอในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

บางครั้งเมื่อตรวจสอบวิธีการรักษา ก็อาจได้จำนวนคนมากพอจากงานวิจัยที่ทำใน 1 หรือ 2 แหล่งวิจัย แต่การประเมินผลการรักษาที่เกิดน้อย เช่น การเสียชีวิตมักจำเป็นต้องเชิญชวนผู้ป่วยจากหลายแหล่ง      บ่อยครั้งก็จากหลายประเทศ ให้เข้าร่วมในงานวิจัยเพื่อให้ได้หลักฐานที่เชื่อถือได้ เช่น การศึกษาในผู้ป่วย 10,000 รายจาก 13 ประเทศ พิสูจน์ว่าการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บรุนแรง  ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันมากว่า 30 […]

| 1 Comment
Book cover

วิธีการรักษา “แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” แปลว่าอะไร

คำถามนี้ตอบยาก เพราะ “ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ” อาจแปลได้หลายอย่าง อย่างแรก คือ ความแตกต่างที่สำคัญต่อผู้ป่วยจริง ทว่าเมื่อผู้เขียนรายงานวิจัยกล่าวว่าวิธีการรักษา “แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” พวกเขามักหมายถึง “ความแตกต่างทางสถิติ” ทั้งนี้ “ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ”  อาจไม่ได้ “มีนัยสำคัญ” ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป “ความแตกต่าง” ระหว่างวิธีการรักษา “ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ” ซึ่งก็คือ […]

| 2 Comments
Book cover

การประเมินผลจากความบังเอิญในการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม

ผลจากความบังเอิญอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ 2 ลักษณะในการแปลผลการเปรียบเทียบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม คือเราอาจสรุปพลาดว่าวิธีการรักษาให้ผลการรักษาต่างกัน ทั้งที่จริงไม่ต่าง หรือกลับกัน ยิ่งสนใจสังเกตผลการรักษาจำนวนมากเท่าใด แนวโน้มที่เราจะเข้าใจผิดเช่นนี้ก็ยิ่งต่ำลงเท่านั้น การหา “ความแตกต่างที่แท้จริง” ระหว่างวิธีการรักษาต่างๆ นั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่อาจเปรียบเทียบวิธีการรักษาในคนทุกคนที่เป็น หรือจะเป็นโรคนั้น การศึกษาจึงต้องพยายามคาดเดาให้ใกล้เคียงที่สุดแทนว่าความแตกต่างที่แท้จริงน่าจะเป็นเท่าไร ความน่าเชื่อถือของความแตกต่างที่ประมาณได้มักแสดงในรูป “ช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval)” โดยระบุช่วงที่น่าจะครอบคลุมความแตกต่างที่แท้จริง […]

| 4 Comments
Book cover

บทที่ 7 คำนึงถึงผลจากความบังเอิญ

ประเด็นสำคัญ ต้องมีการพิจารณา โดยประเมินว่าเชื่อมั่นคุณภาพและจำนวนของหลักฐานที่มีได้เพียงใด ความบังเอิญและกฎว่าด้วยจำนวนมาก การป้องกัน (และการแก้ไขความลำเอียงที่ไม่ได้ป้องกันไว้) ทำให้เกี่ยวกับผลเชื่อถือได้ หากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมขาดองค์ประกอบเหล่านี้ ต่อให้ปรับผลจากการวิจัยอย่างไรก็ไม่อาจแก้ปัญหารวมถึงผลกระทบจากปัญหาที่อาจคร่าชีวิตได้ (ดูบทที่ 1 และ 2) และแม้เมื่อลดความลำเอียงได้ด้วยขั้นตอนต่างๆ แล้ว เราก็ยังอาจถูกความบังเอิญหลอกเอาได้ ทุกคนรู้ว่าถ้าโยนเหรียญซ้ำๆ จะออกหัวหรือก้อย “ติดกัน” 5 […]

| 1 Comment
Book cover

การเกิดและตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับผลเสียที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา

การเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพหรือผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มเฉลียวใจเรื่องผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา ทั้งที่ร้ายและดี [10] เนื่องจากการตรวจสอบวิธีการรักษาซึ่งต้องใช้เพื่อขออนุญาตวางจำหน่าย ทำกับคนเพียงไม่กี่ร้อย หรือไม่กี่พันคน และให้วิธีการรักษานานไม่กี่เดือน ในขั้นนี้จึงมักพบ เพียงผลข้างเคียงระยะสั้นและผลข้างเคียงที่พบบ่อย ต้องรอจนมีการใช้วิธีการรักษาดังกล่าวกันแพร่หลายขึ้น เป็นระยะเวลานานขึ้นและในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายกว่าที่เข้าร่วมในการตรวจสอบเพื่อขออนุญาต จึงจะพบผลข้างเคียงที่พบได้ยาก หรือที่ใช้เวลากว่าจะแสดงออก ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก […]

| 2 Comments
Book cover

ผลการรักษาที่ประเมินอย่างเที่ยงธรรม

นอกจากจะมีการใช้วิธีการรักษาเทียมในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์ทำตามวิธีที่จัดสรรให้แล้ว ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่รู้กันแพร่หลายคือ “การปกปิด” เช่นนี้ เป็นไปเพื่อลดขณะประเมินการรักษา การปกปิดเพื่อการนี้มีความเป็นมาน่าสนใจ เพื่อการนี้มีความเป็นมาที่น่าสนใจในศตวรรษที่ 18 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสรับสั่งให้มีการตรวจสอบคำกล่าวอ้างของอันตอง เมสเมอร์ ที่ว่า “การสะกดจิต (animal magnetism หรือ mesmerism)” มีประโยชน์ […]

| 2 Comments
Book cover

ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาใช้วิธีการรักษาตามที่จัดสรรให้

ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา วิธีที่วางแผนไว้อาจแตกต่างจาก วิธีที่ใช้จริงในหลายรูปแบบ ซึ่งอาจทำให้การแปลผลการตรวจสอบวิธีการ รักษายิ่งซับซ้อน ผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยไม่ควรถูกกีดกันไม่ให้ได้รับวิธีการรักษาที่จำเป็น เมื่อทำการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมเพื่อศึกษาวิธีการรักษาแบบใหม่ที่หวังว่าจะมีประโยชน์แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ ควรมีการรับรองกับผู้ป่วยที่เข้าร่วมว่าทุกคนจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่ามีประสิทธิผล หากมีคนรู้ว่าใครจะได้รับอะไรในการศึกษาหนึ่งๆ ก็อาจเกิดความลำเอียงหลายประการ ประการแรกคือ ผู้ป่วยและแพทย์อาจรู้สึกว่าผู้ที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษา “ใหม่” โชคดีจนอาจเสริมแต่งประโยชน์ของวิธีการรักษาเหล่านี้เกินจริงโดยไม่รู้ตัว ตรงกันข้ามผู้ป่วยและแพทย์อาจรู้สึกว่าผู้ที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษาที่ “เก่ากว่า” เสียโอกาส ซึ่งความผิดหวัง นี้อาจทำให้ประเมินผลดีต่ำกว่าที่เป็นจริง นอกจากนี้แพทย์ยังอาจให้การดูแลรักษาเสริมแก่ผู้ป่วยที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษาที่เก่ากว่า […]

| 2 Comments
Book cover

การจัดการเมื่อมีสิ่งที่ผิดไปจากวิธีการรักษาที่จัดสรรให้

จากเหตุผลทั้งหมดที่ยกมาในบทนี้ คุณคงตระหนักแล้วว่าการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม เอกสารที่แจกแจงแผนเหล่านี้เรียกว่าโครงร่างการวิจัย (research protocol) แต่ต่อให้วางแผนดีก็อาจไม่เป็นไปตามแผน เพราะวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับจริงๆ อาจต่างจากวิธีที่จัดสรรให้ เช่น ผู้ป่วยอาจไม่ใช้วิธีการรักษาตามที่ควรใช้ หรืออาจใช้วิธีหนึ่งๆ ไม่ได้ เพราะเกิดขาดแคลนอุปกรณ์หรือบุคลากร ถ้าพบความคลาดเคลื่อนเหล่านี้ ต้องพิจารณาและแก้ไขผลที่ตามมาอย่างระมัดระวัง ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 มีความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการรักษาเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก […]

| 2 Comments
Book cover

การตามสังเกตทุกคนที่อยู่ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา

หลังจากอุตส่าห์จัดกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกัน ยังต้องเลี่ยงไม่ให้เกิดความลำเอียงจากการละเลย ความเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยบางส่วน ควรตามสังเกตผู้ป่วยทุกรายให้นานที่สุด และวิเคราะห์ผลในภาพรวมของผู้ป่วยทุกรายที่อยู่ในกลุ่มนั้นๆ โดยไม่สนใจว่าพวกเขาได้รับวิธีการรักษาใด (ถ้าได้รับ) การทำแบบนี้เรียกว่าการวิเคราะห์ “intention-to-treat” ถ้าไม่ทำ ดังนี้ สิ่งที่เปรียบเทียบจะไม่อาจเทียบเคียงกันได้ ดูเผินๆ อาจคล้ายไม่สมเหตุสมผลที่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ทั้งที่ผู้ป่วยบางรายในกลุ่มไม่ได้รับวิธีการรักษาที่กำหนดให้แล้ว แต่การละเลยหลักการนี้อาจทำให้การตรวจสอบไม่เที่ยงธรรมและให้ผลชวนเข้าใจผิด เช่น ผู้ป่วยที่หลอดเลือดเลี้ยงสมองเริ่มตีบและเวียนศีรษะเป็นช่วงๆ เสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าปกติ นักวิจัยทำการตรวจสอบว่าหลังจากทำหัตถการเพื่อแก้การตีบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ […]

| 0 Comments
Book cover

รูปแบบต่างๆ ในการใช้การจัดสรรอย่างไม่ลำเอียง (แบบสุ่ม) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษา

การสุ่มแยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น อาจใช้ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษาต่างๆ โดยสุ่มลำดับในผู้ป่วยรายเดิม ซึ่งเรียกว่า “การทดลองแบบสุ่มไขว้ (randomized cross-over trial)” เช่น ในการประเมินว่ายาสูดช่วยผู้ป่วยที่ไอแห้งต่อเนื่องได้หรือไม่ อาจออกแบบการศึกษาให้นาน 2-3 เดือน โดยสุ่มให้ผู้ป่วยใช้เครื่องพ่นยาที่มีตัวยาในบางสัปดาห์ ส่วนสัปดาห์ที่เหลือให้ใช้เครื่องพ่นยาที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการแต่ไม่มีตัวยา การทำให้ผลจากการวิจัยสอดคล้องกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไปเช่นนี้สมควรทำหากทำได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ไม่อาจทำการศึกษาแบบไขว้เช่นนี้ เช่น […]

| 0 Comments
Book cover

การจัดสรรวิธีการรักษาต่างๆ ตามแผนโดยไม่ลำเอียง

ในปี ค.ศ. 1854 แพทย์ทหาร โทมัส เกรแฮม บาลโฟร์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าของกองทัพ พิสูจน์ว่าจะจัดกลุ่มวิธีการรักษาอย่างไรให้แน่ใจได้ว่าสิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกัน บาลโฟร์อยากรู้ว่าสมุนไพรเบลลาดอนนา (belladonna) ป้องกันไม่ให้เด็กเป็นไข้อีดำอีแดง (scarlet fever)[ด] ได้ดังที่มีผู้กล่าวอ้างหรือไม่ ดังนั้น “เพื่อเลี่ยงข้อครหาว่าลำเอียง” ตามที่เขาว่า เขาจึงจัดให้เด็กได้รับเบลลาดอนนา คนเว้นคน [5] […]

| 0 Comments
Book cover

การเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งได้รับวิธีการรักษาต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน

การเปรียบเทียบความรู้สึกและผลการรักษาของผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน แต่บังเอิญได้รับการรักษาแตกต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ยังเป็นวิธีที่ใช้เพื่อประเมินผลของวิธีการรักษา ทว่าแนวทางนี้ก็อาจทำให้เข้าใจผิดโดยสิ้นเชิงเช่นกัน ปัญหาไม่ต่างจากการเปรียบเทียบโดยใช้ “กลุ่มควบคุมในอดีต” คือจะรู้ได้อย่างไรว่าก่อนเริ่มรักษา กลุ่มคนที่ได้รับวิธีการรักษาต่างๆ คล้ายกันจนเปรียบเทียบได้อย่างเที่ยงตรง หรือพูดอีกอย่างคือ สิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกันจริงหรือเปล่า ในกรณี “กลุ่มควบคุมในอดีต” นักวิจัยอาจใช้การปรับค่าทางสถิติและการวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าคล้ายคลึงกัน แต่ ก็ทำได้เฉพาะเมื่อมีการบันทึกและพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย แต่น้อยครั้งที่เกิดกรณีตรงเงื่อนไขเหล่านี้ การแปลผลการวิเคราะห์จึงต้องใช้ความระมัดระวัง หากหลงเชื่ออาจก่อให้เกิดเหตุสลดครั้งใหญ่ […]

| 0 Comments
Book cover

การเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการรักษาอยู่ในขณะนั้นกับผู้ป่วยในอดีตที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้รับการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีอื่น

บางครั้งนักวิจัยก็เปรียบเทียบผู้ป่วยที่รับการรักษาในขณะนั้นกับผู้ป่วยในอดีตที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้รับการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีอื่น ซึ่งอาจให้หลักฐานที่เชื่อถือได้หากผลจากการรักษาเด่นชัด เช่น เมื่อวิธีการรักษาใหม่ช่วยให้ผู้ป่วยบางรายรอดชีวิตจากโรคซึ่งเมื่อก่อนหมดทางรอด ทว่าเมื่อผลของวิธีการรักษาแตกต่างกันไม่เด่นชัด แต่ยังสำคัญ การเปรียบเทียบกับ “กลุ่มควบคุมในอดีต” ก็อาจจะก่อปัญหา แม้นักวิจัยใช้การปรับค่าทางสถิติและการวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกัน การ วิเคราะห์เหล่านี้ก็ไม่อาจพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ได้บันทึกในผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ดังนั้น เราจึงไม่มีทางมั่นใจได้เต็มร้อยว่าสิ่งที่เปรียบเทียบนั้นคล้ายคลึงกัน จะเห็นปัญหาเหล่านี้ชัดเจนด้วยการเปรียบเทียบผลจากการใช้วิธีรักษาเดียวกันในผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน แต่คนละช่วงเวลา มีการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย 19 […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่ให้ผลปานกลาง แต่ก็สำคัญ

เนื้อเรื่องย่อย: การเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการรักษาอยู่ในขณะนั้นกับผู้ป่วยในอดีตที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้รับการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีอื่น การเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งได้รับวิธีการรักษาต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน การจัดสรรวิธีการรักษาต่างๆ ตามแผนโดยไม่ลำเอียง รูปแบบต่างๆ ในการใช้การจัดสรรอย่างไม่ลำเอียง (แบบสุ่ม) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษา การตามสังเกตทุกคนที่อยู่ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา การจัดการเมื่อมีสิ่งที่ผิดไปจากวิธีการรักษาที่จัดสรรให้ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาใช้วิธีการรักษาตามที่จัดสรรให้

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่เห็นผลเด่นชัด

บางครั้งผู้ป่วยก็ตอบสนองต่อวิธีการรักษาต่างจากที่เคยตอบสนองในอดีต และจากธรรมชาติของโรคนั้นๆ อย่างเด่นชัดจนชี้ขาดผลการรักษา ได้โดยไม่ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วน (ดูบทที่ 5) [3] ในผู้ป่วยโรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) การแทงเข็มเข้าในช่องอกเพื่อระบายอากาศที่คั่งค้างออกทำให้อาการดีขึ้นทันตาเห็น ประโยชน์ของวิธีการรักษานี้จึงชัดเจน ตัวอย่างอื่นๆ ของผลที่เด่นชัด ได้แก่ มอร์ฟีนระงับปวด อินซูลินแก้ภาวะโคม่าเนื่องจากเบาหวาน และข้อสะโพกเทียมรักษาอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบ เป็นต้น ผลเสียจากการรักษาก็อาจเด่นชัด เช่นกัน […]

| 2 Comments
Book cover

เปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายกัน

การเปรียบเทียบคือแก่น การเปรียบเทียบคือแก่นของการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมทุกครั้ง บางครั้งแพทย์และผู้ป่วยก็เปรียบเทียบข้อดีของวิธีการรักษา 2 วิธีอยู่ในใจ เช่น ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนหรือผู้อื่นตอบสนองต่อวิธีการรักษาหนึ่งต่างจากวิธีที่เคยใช้ อีกทั้งตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 อัล-ราซี แพทย์ชาวเปอร์เซีย ได้เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ด้วยการระบายเลือดทิ้ง (blood-letting) กับผลการรักษาในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวิธีการรักษาดังกล่าว เพื่อดูว่าการระบายเลือดทิ้งมีประโยชน์หรือไม่ ปกติวิธีการรักษาจะถูกตรวจสอบโดยเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยซึ่งได้รับวิธีการรักษาต่างกัน การเปรียบเทียบนี้จะเที่ยงธรรมได้ก็ต่อเมื่อมั่นใจได้ว่าเป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ […]

| 2 Comments
Book cover

แล้วการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมคืออะไร

คนส่วนใหญ่ทราบว่ารายงานในสื่อเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ใหม่ๆ ต้องฟังหูไว้หู แต่ความจริงที่น่าเศร้าคือ ต่อให้รายงานวิธีการรักษานั้นลงในวารสารวิชาการที่ดูได้มาตรฐาน เราก็ยังต้องระวัง เพราะมีการบิดเบือนและอวดอ้างเกยวกับวิธีการรักษาอยู่เป็นนิจ การประเมินความน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เราต้องรับความเสี่ยง 2 ประการ หากเชื่อรายงานผลจากการรักษาโดยไม่กลั่นกรอง คืออาจสรุปผิดว่าวิธีการรักษาที่ได้ผลนั้นไร้ประโยชน์ หรือกระทั่งเป็นอันตราย หรือกลับกัน การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมออกแบบเพื่อให้ได้ข้อมูลทเชื่อถือได้ของผลจากวิธีการรักษาต่างๆ โดย (1) เปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายกันเพื่อลดสิ่งที่บิดเบือนผล (ความลำเอียง) (2) […]

| 0 Comments
Book cover

ความจำเป็นที่ต้องใช้มากกว่าความรู้สึก

แค่ผู้ป่วยเชื่อว่าสิ่งนั้นๆ ช่วยพวกเขาก็น่าจะเพียงพอ เหตุใดต้องหาเรื่องยุ่งยากสิ้นเปลืองทำงานวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หรือหาทางพิสูจน์ว่าวิธีการรักษาดังกล่าวช่วยผู้ป่วยหรือไม่ และหากช่วยได้มันช่วยอย่างไร มีเหตุผลอย่างน้อย 2 ข้อ ข้อหนึ่งคือวิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลอาจเบนความสนใจเราจากวิธีการรักษาที่ได้ผลจริง อีกเหตุผลคือวิธีการรักษาหลายวิธี (หรือกระทั่งส่วนใหญ่) มีผลข้างเคียงบ้างระยะสั้น บ้างระยะยาว และบ้างยังไม่รู้ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวก็อาจรอดพ้นจากผลเสีย จึงเป็นประโยชน์หากแยกแยะได้ว่าวิธีการรักษาใดไม่น่าจะได้ผลดี หรืออาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ งานวิจัยยังอาจค้นพบข้อมูลสำคัญว่าวิธีการรักษาต่างๆ ทำงานอย่างไร รวมถึงค้นหาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีที่ดีขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

ประโยชน์ของการมองโลกแง่ดีและความคาดหวัง

ปัจจุบันเราเข้าใจชัดขึ้นเกี่ยวกับเหตุผลด้านจิตวิทยาที่ทำให้คนเราโยงว่าอาการของตนกระเตื้องขึ้นเพราะวิธีการรักษาที่ได้รับ ทุกคนมักจะทึกทักว่าถ้าสองเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน เหตุการณ์แรกอาจเป็น เหตุให้เกิดเหตุการณ์ที่สอง เราจะเริ่มพบแบบแผนซึ่งไม่มีอยู่จริง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยในหลากหลายสาขา เช่น การโยนเหรียญ ราคาหุ้น และการโยนลูกบาสเกตบอลลงห่วง ทั้งยังมีแนวโน้มจะมีปัญหาที่เรียกว่าความลำเอียงเพื่อยืนยันความคิดตัวเอง (confirmation bias) คือเราจะมองเห็นแต่สิ่งที่คิดว่าจะเห็น หรือ “เห็นในสิ่งที่เชื่อ” การพบสิ่งที่ยืนยันความเชื่อจะเสริมความมั่นใจว่าเราคิดถูก ตรงกันข้าม เราอาจไม่รับรู้ หรือไม่ยอมรับข้อมูลที่ขัดกับความคิดของเรา […]

| 2 Comments
Book cover

ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

ธรรมชาติคือผู้เยียวยา ปัญหาสุขภาพหลายอย่างมีแนวโน้มจะทรุดลงหากไม่ได้รับการรักษา ซ้ำบ้างยังทรุดลงแม้รักษาแล้ว ทว่าบ้างก็ทุเลาได้เอง คือ “รักษาตัวเองได้” ดังที่นักวิจัยผู้มีส่วนในการตรวจสอบวิธีการรักษาที่เสนอให้ใช้กับไข้หวัดกล่าวว่า “หากรักษาอย่างแข็งขันไข้หวัดจะหายใน 7 วัน แต่ถ้าปล่อยไว้อย่างนั้นจะหายใน 1 สัปดาห์” [1] ถ้าจะให้เจ็บแสบกว่านั้น “ธรรมชาติรักษาแต่แพทย์เก็บค่ารักษา” และอันที่จริงการรักษาอาจยิ่งเป็นการซ้ำเติม เนื่องจากคนเรามักหายป่วยได้โดยไม่ต้องรักษา เมื่อตรวจสอบวิธีการรักษาจึงต้องคำนึงถึงวงจร “ธรรมชาติ” […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 6 การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีอย่างเที่ยงธรรมมีความจำเป็น เพราะไม่อย่างนั้นเราอาจสรุปว่าวิธีการรักษานั้นๆ มีประโยชน์ ทั้งที่จริงไม่มีหรือกลับกัน เป็นพื้นฐานของการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมทุกวิธี เมื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาต่างๆ (หรือเปรียบเทียบระหว่างการรักษากับการไม่รักษา) หลักการเรื่องคือสิ่งสำคัญที่สุด ต้องพยายามลดในการประเมินผลการรักษา[/getit]. ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจไม่คุ้นเคยกับหลักการต่างๆ ที่รองรับการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ทั้งที่ไม่ซับซ้อน อันที่จริง การที่เราเข้าใจโลกตามสัญชาตญาณในชีวิตประจำวันก็ต้องพึ่งหลักการเหล่านี้ แต่โรงเรียนกลับไม่สอนให้กระจ่าง ทั้งหลักการเหล่านี้ยังมักถูกถ่ายทอดด้วยภาษาซับซ้อนเกินจำเป็น คนจำนวนมากจึงมองเมินหัวข้อนี้ เพราะเชื่อว่าเกินความสามารถตนจะเข้าใจได้ […]

| 2 Comments
Book cover

การให้การรักษาโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม

ถ้าอย่างนั้น ควรทำอย่างไรเมื่อมีที่สำคัญเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาทั้งใหม่หรือเก่า ซึ่งยังไม่ได้รับการประเมินอย่างเหมาะสม คำตอบที่เห็นชัดคือ ควรทำตามอย่างแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผู้เขียนกล่าวถึงข้างต้น คือแก้ไขความไม่แน่นอนนั้น โดยใช้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้รับการประเมินอย่างเพียงพอเฉพาะเมื่ออยู่ในงานวิจัย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ทราบมากขึ้นเกี่ยวกับผลทั้งที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา นักจริยธรรมทางการแพทย์กล่าวไว้ดังนี้ “ถ้าเราไม่แน่ใจข้อดีของวิธีการรักษา (ใดๆ) เราก็ไม่อาจแน่ใจถึงประโยชน์เมื่อใช้แต่ละวิธี เช่น ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น การยืนกรานว่าวิธีการรักษานี้ดีหรือไม่ดี ระหว่างงานวิจัยที่มีคุณภาพยังไม่เสร็จสิ้นจึงไม่สมเหตุสมผล ซ้ำยังผิดจริยธรรม คำตอบของคำถามว่า […]

| 0 Comments
Book cover

การสะสางความไม่แน่นอนด้านผลการรักษา

แล้วเราควรทำอย่างไรต่อไป แพทย์ต้องสามารถใช้ข้อมูลเรองวิธีการรักษา ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีที่สุด ณ เวลานั้นจากการรวบรวมประสบการณ์และการทบทวนงานวิจัยที่เชื่อถือได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ถ้ายังพบว่ามีความไม่แน่นอนเรื่องวิธีการรักษา แพทย์ก็ต้องพร้อมจะหารือกับผู้ป่วย อธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ และปรึกษากันเรื่องทางเลือกโดยคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ แม้การหารืออาจเปิดประเด็นความไม่แน่นอนที่ต้องยอมรับ และสะสางเพิ่มขึ้นอีกก็ตาม เราจะก้าวหน้าอย่างมั่นคงไปสู่การรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราต่างตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ไม่ใช่เพื่อให้ยอมรับ “ความพ่ายแพ้” ทุกวันนี้แนวทางสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบางฉบับก็แสดงทัศนคติในแง่ดีต่อการสะสางความไม่แน่นอนต่างๆ แนวทางเวชปฏิบัติที่ดี (Good Medical […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อแพทย์เห็นไม่ตรงกัน

ในหลายๆ โรคและหลายๆ อาการ ยังไม่แน่นอนนักว่าวิธีการรักษาใดได้ผลมากน้อยเพียงใด และวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น แต่แพทย์กลับไม่ลดการมองวิธีการรักษาต่างๆ แบบสุดโต่งลงเลย ทั้งที่ความเห็นของแพทย์แต่ละรายอาจแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิธีการรักษาที่ใช้ในอาการนั้นๆ ต่างกันโดยสิ้นเชิง ในทศวรรษที่ 1990 เอียน ชาลเมอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียน ข้อเท้าหักขณะพักผ่อนอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้รับการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ซึ่งดามขาข้างนั้นไว้ชั่วคราวและบอกว่า หลังจากหายบวมจะมีการใส่เฝือกแข็งตั้งแต่เข่าลงมานาน 6 […]

| 2 Comments
Book cover

ผลการรักษาระดับปานกลาง : พบบ่อยและไม่เด่นชัด

วิธีการรักษาส่วนใหญ่มักให้ผลไม่เด่นชัด จึงต้องมีการตรวจสอบ อย่างเที่ยงธรรมเพื่อประเมินวิธีเหล่านี้ และบางครั้งวิธีหนึ่งๆ อาจให้ผลเด่น ชัดในบางกรณีเท่านั้น แม้วิตามินบี 12 จะรักษา โรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 หายขาดได้แน่นอน (ดูข้างต้น) แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันจนทุกวันนี้ว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทุก 3 เดือน หรือว่าบ่อยกว่านั้น การจะตอบคำถามดังกล่าวได้ ต้องมีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ โดยควบคุมอย่างรัดกุม ขณะที่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกขจัดความเจ็บปวดได้เป็นปลิดทิ้ง […]

| 3 Comments
Book cover

ผลการรักษาที่เด่นชัด : หาได้ยาก แต่สังเกตได้ง่าย

น้อยครั้งที่มีหลักฐานว่าวิธีการรักษานั้นได้ผลชัดแจ้งจนไร้ข้อกังขา [2]. ในกรณีเช่นนี้ การรักษามักเห็นผลทันทีและเด่นชัด เช่น กรณีโรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะที่เรียกกันว่าหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (ventricular fibrillation) ซึ่งจังหวะหดตัวกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง (ventricle) เกิดปั่นป่วน นี่เป็น ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะอาจคร่าชีวิตภายในไม่กี่นาที จึงมีการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากเครื่องที่หน้าอกในการ  “กระตุก”  หัวใจ  เพื่อให้จังหวะกลับเป็นปกติ ซึ่งหากสำเร็จจะเห็นผลในพริบตา […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 5 ทำอย่างไรเมื่อผลการรักษาไม่แน่นอน

ประเด็นสำคัญ น้อยครั้งที่พบจาก เรื่องผลของพบได้ดาษดื่น เป็นเรื่องปกติที่ผลของวิธีการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย การตรวจจับความแตกต่างนี้ได้ถูกต้องจึงมีความสำคัญ ต้องดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดความไม่แน่นอน หากไม่มีใครรู้ชัดในประเด็นสำคัญเรื่องผลของวิธีการรักษาหนึ่งๆ การช่วยให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการลดความไม่แน่นอนเรื่องผลของวิธีการรักษาต่างๆ ทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกมาก ในบทนเราจะกล่าวถึงความไม่แน่นอนในแทบทุกผลทกล่าวอ้างของ วิธีการรักษาทั้งใหม่และเก่า เช่น อาจมีผู้กังขาเรื่องการให้ออกซิเจนเสริมใน ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีประโยชน์ แต่มีหลักฐานว่าเป็นอันตราย ความไม่แน่นอนนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง เหมาะสม [1] […]

| 1 Comment
Book cover

มีใครปกติบ้างไหม

การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) ทั้งร่างกาย การตรวจ CT ทั้งร่างกายเป็นหนึ่งในการตรวจที่คลินิกเอกชนเสนอให้ทำ เพื่อดูศีรษะ คอ อก ช่องท้อง และเชิงกราน มีการเชิญชวนประชาชนโดยตรง และมักทำโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาล มักมีการประชาสัมพันธ์การตรวจทั้งร่างกายว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้รู้ทันโรคที่อาจเกิดด้วยแนวคิดว่าถ้าผล “ปกติ” ก็แปลว่าอุ่นใจได้ การตรวจนี้มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งยังไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมในผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการแสดงของโรค ยิ่งกว่านั้น ปริมาณรังสีที่ผู้รับการตรวจสัมผัสยังสูงถึง 400 […]

| 0 Comments
Book cover

คัดกรองเพื่ออะไรและทำไมหลักฐานจึงสำคัญ

ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมา แสดงให้เห็นว่าก่อนผลีผลามทำการคัดกรองในวงกว้าง เราควรไตร่ตรองถึงองค์ประกอบหลัก และหวนระลึกถึงเป้าหมายของโครงการคัดกรอง คนที่มีสิทธิ์เข้ารับการคัดกรองไม่เคยมี…หรือไม่เคย รู้ตัวถึง…อาการ หรืออาการแสดง ซึ่งบ่งว่าเป็นโรคที่ตรวจหา ทั้งยังไม่ได้หาทางรักษาโรคดังกล่าว การคัดกรองประชากรบางราย หรือบางกลุ่มจึงเป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตที่อาการหนึ่งๆ จะทำให้เสียชีวิต หรือเจ็บป่วยโดยเสนอให้การตรวจเพื่อค้นหาคนที่อาจได้ประโยชน์จากการรักษา [1, 21] การคัดกรองไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้วินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ ซึ่งอาจไม่ช่วยใครเลย ซ้ำยังอาจเกิดผลเสียได้ ในรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี ค.ศ. […]

| 3 Comments
Book cover

เปรียบเทียบประโยชน์และโทษ

ยังมีการคัดกรองอีกหลายอย่างที่มีประโยชน์ ที่น่าจะทำกันแพร่หลายที่สุดในผู้ใหญ่คือ การตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทำกันทั่วไปในบริการปฐมภูมิ[ฐ] มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคดังกล่าว การตรวจหา ให้คำแนะนำ และรักษาคนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ จึงป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมองได้ [ฐ] primary care คือการบริการด้านสุขภาพระดับแรกที่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด ตัวอย่างในไทยที่เข้าข่ายสถานบริการปฐมภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (เดิมเรียกว่าสถานีอนามัย) ศูนย์แพทย์ชุมชน […]

| 3 Comments
Book cover

บทเรียนจากการคัดกรองโรคนิวโรบลาสโตมา (neuroblastoma)

ประสบการณ์จากการคัดกรองนิวโรบลาสโตมา มะเร็งหายากซึ่งเกิดในเด็กเล็กเป็นหลัก ให้บทเรียนในหลายแง่มุม เนื้องอกชนิดนเกิดที่เซลล์ประสาทในอวัยวะต่างๆ อัตราการรอดชีวิตของเด็กที่ป่วยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อวัยวะที่เกิดโรค เนื้องอกแพร่กระจายเพียงใดเมื่อตรวจพบ รวมทั้งอายุเด็ก เด็กที่ตรวจพบเมื่ออายุ 1-4 ขวบ ร้อยละ 55 จะรอดชีวิต ได้นานเกิน 5 ปีนับแต่พบมะเร็ง [3] โรคนี้มีคุณสมบัติประหลาดข้อหนึ่งคือ […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 4 ลงมือก่อนอาจไม่ดีกว่า

ประเด็นสำคัญ ได้แต่เนิ่นๆ ไม่ได้ทำให้ดีกว่าเสมอไป เพราะบ้างก็ทำให้แย่ลง โครงการควรเริ่มทำโดยมีหลักฐานเรื่องผลที่แน่ชัด การไม่ดำเนินโครงการคัดกรองเลยอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ผู้ที่ได้รับการเชิญชวนให้เข้ารับการคัดกรองต้องได้ข้อมูลรอบด้าน มักมีการอวดอ้างประโยชน์ของการคัดกรองจนเกินจริง อันตรายของการคัดกรองมักถูกกลบเกลื่อนหรือละเลย จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ อันตราย และความเสี่ยงจากการคัดกรอง ใน 3 บทแรก ผู้เขียนแสดงให้เห็นแล้วว่าเหตุใดวิธีการรักษาที่ไม่ได้ตรวจสอบอย่างเหมาะสมจึงอาจก่อผลเสียใหญ่หลวง ในบทนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการคัดกรองเพื่อหาอาการแสดงแรกเริ่มของโรค การคัดกรองดูเหมือนมีเหตุผลรองรับหนักแน่น อีกทั้งน่าจะเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการป้องกันโรคร้ายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แต่การคัดกรองซึ่งเป็นประโยชน์ในหลายๆ […]

| 2 Comments
Book cover

กล้าคิดที่จะทำน้อยกว่า

ข้อสรุปคือมากกว่าไม่ได้ดีกว่าเสมอไป นี่ยังคงเป็นสาระสำคัญปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม (แพร่ไปบริเวณอื่น) กระตือรือร้น ที่จะได้รับการรักษาด้วยเฮอเซปติน. (ดูด้านบนและบทที่ 1) แต่อย่างมากเฮอเซปตินก็แค่เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีชีวิตยืนยาวขึ้นเล็กน้อย บางครั้งแค่เป็นวัน หรือสัปดาห์ โดยต้องแลกกับผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือกระทั่งเสียชีวิตในบางราย [12,13] ส่วนมะเร็งเต้านมในระยะอื่นๆ ก็มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะเกิดการรักษาเกินจำเป็น เช่น ในหญิงที่มีภาวะก่อนมะเร็ง เช่น มะเร็งในท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม […]

| 1 Comment
Book cover

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation)

แต่การลดจำนวนการผ่าตัดอวัยวะ ออกทั้งหมดก็ยังไม่ใช่การปิดฉากแนวคิด “ยิ่งมากยิ่งดี” ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการใช้แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ด้วยยาเคมีบำบัดปริมาณมาก ตามด้วย การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ “การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์” (stem cell rescue) รายงานในนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) ในปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษามะเร็งเต้านมแบบรุนแรง

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีที่มีการรณรงค์ตามที่เห็นบ่อยๆ ในข่าวเป็นบทเรียนที่ดีมากในเรื่องอันตรายจากการทึกทักว่า ยิ่งใช้วิธีการรักษาแบบรุนแรงจะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแน่นอน ตลอดช่วงศตรวรรษที่ 20 จนย่างสู่ 21 หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม้องการและต้องทนรับการรักษาที่ทารุณและทรมานเกินควรทั้งการผ่าตัด และยาในปริมาณมากเกินความจำเป็น แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด ในผู้ป่วยและแพทย์บางราย ผู้ป่วยโดนกล่อมว่ายิ่งการรักษารุนแรงและเป็นพิษมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาส “พิชิต” โรคได้มากเท่านั้น มีแพทย์และผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่เตรียมการโต้แย้งความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับวิธีการรักษา แต่ก็ ใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มเปลี่ยนกระแสความเชื่อผิดๆ นี้ได้ พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องสร้างหลักฐานที่เชื่อถือได้ […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 3 มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป

ประเด็นสำคัญ ที่รุนแรงกว่าอาจไม่มีประโยชน์ทั้งยังมีโทษมากกว่าในบางกรณี ความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยคือ หากวิธีการรักษานั้นดี ยิ่งใช้มากก็ยิ่งดี ซึ่งไม่จริงเลย ยิ่งใช้มากอาจยิ่งแย่ด้วยซ้ำ การหาปริมาณที่ “เหมาะสม” ซึ่งให้ประโยชน์สูงและมีผลเสีย (ผลข้างเคียง) ต่ำนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับวิธีการรักษาทุกวิธี เมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นไปถึงระดับหนึ่งที่ได้จะไม่เพิ่มตามไปด้วย แต่มักเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้น “ยิ่งมาก” อาจลดประโยชน์ที่ได้รับจริงๆ หรือโดยรวมมีผลร้ายด้วยซ้ำ ยาขับปัสสาวะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน […]

| 2 Comments
Book cover

น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ (Evening Primrose Oil for Eczema)

แม้การขาดการประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่ได้คร่าชีวิต หรือเกิดอันตราย แต่ก็ทำให้เสียเงินเปล่า ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นปัญหาผิวหนังที่ สร้างความรำคาญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รอยโรคที่ผิวหนังทั้งไม่น่ามองและคันคะเยอ แม้การใช้ครีมสเตียรอยด์จะช่วยได้ แต่ก็ต้องห่วงเรื่องผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ตอนต้นทศวรรษ 1980 มีสารสกัดธรรมชาติของน้ำมันที่ได้จากพืชคือ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ที่เปิด ตัวในฐานะทางเลือกหนี่งที่ได้ผลโดยมีผลข้างเคียงน้อย [11] น้ำมันอีฟนิงพริมโรสประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นเรียกว่ากรดแกมมาไลโนเลนิก (gamma-linolenic acid […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy)

ในหญิงวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนได้ผลมากในการลดอาการร้อนวูบวาบทรมานที่มักเป็นกัน หลักฐานบางชิ้น ยังบอกว่าวิธีนี้อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย คำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์ต่างๆ ของฮอร์โมนทดแทนค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงการ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง หญิงหลายล้านคนเริ่มใช้ฮอร์โมนเป็นเวลายาวนานขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะคำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์เหล่านี้และประโยชน์อื่นๆ อีกมาก ทว่าที่มาของคำกล่าวอ้างนี้กลับเชื่อถือไม่ค่อยได้ ว่ากันเฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กว่า 20 ปีที่ผู้หญิงได้รับการบอกเล่าว่า ฮอร์โมนทดแทนจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร้ายแรงนี้ อันที่จริงคำแนะนำนี้ได้มาจากผลของการศึกษาที่ไม่เที่ยงธรรม […]

| 0 Comments
Book cover

ไดเอทิลสติลเบสทรอล (Diethylstillbestrol หรือ DES)

นานมาแล้วแพทย์ไม่แน่ใจว่าหญิงมีครรภ์ซึ่งเคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ ควรได้เอสโตรเจน[ช]สังเคราะห์ (ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ) ที่เรียก ว่า DES เสริมหรือไม่ จึงมีแพทย์เพียงบางรายสั่งยานี้ DES เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เพราะความคิดที่ว่ามันช่วยแก้อาการที่รกทำงานผิดปกติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา กลุ่มที่ใช้ยามั่นใจขึ้นด้วยรายงานจากประสบการณ์ของหญิงที่เคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่คลอดทารกปลอดภัยหลังใช้ DES ตัวอย่างเช่น สูตินรีแพทย์ชาวสหราชอาณาจักรสั่งยา DES ให้หญิงมีครรภ์รายหนึ่งตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ […]

| 0 Comments
Book cover

ยาแก้หัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

คำแนะนำของนายแพทย์สป็อกอาจฟังมีเหตุผล แต่เป็นการอ้างอิงทฤษฎีที่ไม่เคยตรวจสอบ ยังมีตัวอย่างของอันตรายจากคำแนะนำในลักษณะนี้อีกมาก เช่น หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายจะมีจังหวะหัวใจผิดปกติ เรียกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) คนกลุ่มนี้ เสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่มีอาการ เนื่องจากมียาบางอย่างที่แก้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ การคาดว่ายากลุ่มนี้จะลดความเสี่ยงเสียชีวิตหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันด้วยจึงดูสมเหตุสมผล แต่ที่จริงผลกลับตรงกันข้าม ยาเหล่านี้ได้รับการทดสอบในคนแล้ว แต่ก็เพียงเพื่อดูว่ายา จะลดภาวะจังหวะหัวใจผิดปกติได้หรือไม่ เมื่อนำหลักฐานจากการทดลองจำนวนมากมาทบทวนอย่างเป็นระบบในปีระบบในปี ค.ศ. 1983 กลับไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ายาเหล่านี้ลดอัตราการเสียชีวิต […]

| 2 Comments
Book cover

คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

อย่าคิดว่าเท่านั้นที่อันตราย คำแนะนำก็ร้ายแรงถึงตายได้เช่นกัน หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กชาวอเมริกัน นายแพทย์เบนจามิน สป็อก ผู้เขียนหนังสือขายดี การดูแลเด็กและทารก (Baby and Child Care) ที่กลายเป็นคัมภีร์ของทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และพ่อแม่ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร อยู่นานหลายสิบปี แต่ในการให้คำแนะนำเรื่องหนึ่งด้วยเจตนาดี นายแพทย์สป็อกกลับพลาดอย่างจัง ด้วยตรรกะที่ไม่อาจโต้แย้งบวกกับบารมีที่มีในระดับหนึ่ง เขากล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นตั้งแต่ฉบับปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 2 หวังไปก็ไร้ผล

ประเด็นสำคัญ ไม่ว่าทฤษฎี หรือความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ใช่แนวทางที่เชื่อถือได้ในการเลือกที่ปลอดภัยและได้ผล แค่เพราะวิธีการรักษานั้น “เป็นที่ยอมรับ” ไม่ได้หมายความว่ามีผลดีมากกว่าเสีย แม้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่อันตรายต่อผู้ป่วย แต่ก็อาจทำให้ทรัพยากรทั้งของประชาชนและของสังคมเสียเปล่า วิธีการรักษาบางอย่างนั้นใช้กันมานานก่อนจะรู้ว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์ ผลดีต่างๆ ที่คาดหวังแต่แรกอาจไม่เกิดขึ้นจริง ในบทนี้เราจะอธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถัดไป: คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

| 2 Comments
Book cover

บทนำ

“เราไม่อาจรู้ว่าเมื่อไรเราจึงจะศึกษาปรากฏการณ์ซับซ้อนในธรรมชาติได้ครบถ้วน ดังที่คาร์ล พ็อปเพอร์ กล่าวไว้ว่าความรู้ของ เรามีขอบเขต ขณะที่ความไม่รู้นั้นไร้ขอบเขต ในทางการแพทย์ เรา ไม่อาจมั่นใจได้ว่าวิธีที่เราใช้รักษามีผลอย่างไร จึงทำได้เพียงลดขอบเขตของความไม่แน่นอน การยอมรับข้อนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด เพราะคำกล่าวอ้างที่ทนต่อการโต้แย้งซ้ำๆ มักเชื่อถือได้ ‘ความจริงเฉพาะกิจ’ เหล่านี้คือโครงสร้างอันแข็งแกร่งที่สนับสนุนวิธีการรักษาที่ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้” William A. Silverman. Where’s the […]

| 2 Comments
Book cover

เฮอเซปติน (Herceptin)

ไม่ได้มีแต่บริษัทเชิงพาณิชย์ที่เชิดชูข้อดีและกลบเกลื่อนข้อเสีย ของวิธีการรักษาใหม่ ความตื่นเต้นดีใจของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการประโคมของสื่อก็ส่งผลเช่นเดียวกัน ข้อเสียเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่ยังรวมถึงความยุ่งยากในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์เกี่ยวกับยาโรคมะเร็งเต้านม ทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าเฮอเซปติน (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 3) ต้นปี ค.ศ. 2006 การเรียกร้องของกลุ่มผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งหนุนโดยอุตสาหกรรมยาและสื่อมวลชนทำให้ระบบบริการสุขภาพแห่ง ชาติ (National Health Service) ในสหราชอาณาจักรให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกใช้เฮอเซปตินได้ […]

| 1 Comment
Book cover

ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Heart Valves)

ยาไม่ได้เป็นวิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวที่อาจมีผลร้ายที่ไม่คาดคิด วิธีการรักษาอื่นก็อาจก่อความเสี่ยงร้ายแรงได้เช่นกัน ปัจจุบันลิ้นหัวใจเทียมเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจขั้นรุนแรง[จ] และที่ผ่านมาลิ้นหัวใจเทียมก็ได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ลิ้นหัวใจเทียมบางประเภทแสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการพัฒนาด้านการออกแบบกลับมีผล ร้ายแสนสาหัส เริ่มมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเทียมแบบบียอร์ก-ไชลีย์ (Bjork-Shiley) มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งรุ่นแรกๆ นั้นมีแนว โน้มจะทำให้เกิดลิ่มเลือด (เลือดแข็งตัวเป็นก้อน) ซึ่งขัดขวางการทำงานของ เครื่องมือ จึงมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบเพื่อแก้ข้อด้อยดังกล่าวในปลาย ทศวรรษ […]

| 0 Comments
Book cover

อะแวนเดีย (Avandia)

ในปี ค.ศ. 2010 โรสิกลิทาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าว่าอะแวนเดีย เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นข่าวโด่งดัง เนื่องจากผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ก่อนหน้านั้น 10 ปี อะแวนเดีย ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานควบคุมยาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในฐานะทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลิน[ง]ไม่เพียงพอ หรือเมื่อเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน  และพบได้บ่อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 1  ซึ่งร่างกายไม่ผลิตอินซูลินเลยเบาหวานชนิดที่ […]

| 0 Comments
Book cover

ทาลิโดไมด์ (Thalidomide)

ทาลิโดไมด์เป็นตัวอย่างสะเทือนขวัญของวิธีการรักษาใหม่ที่ให้โทษมากกว่าประโยชน์ [1] ยานอนหลับชนิดนี้เริ่มใช้กันในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ดูจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบาร์บิทูเรตส์ (Barbiturates) ที่ใช้กันทั่วไปในตอนนั้น เพราะการใช้ทาลิโดไมด์เกินขนาดไม่ทำให้หมดสติเหมือนบาร์บิทูเรตส์ จึงแนะนำให้ต้องใช้ทาลิโดไมด์กับหญิงมีครรภ์เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สูตินรีแพทย์เริ่มพบทารกแรกเกิดที่มีแขนขาผิดรูปขั้นรุนแรงเพิ่มจำนวนสูงขึ้นฉับพลัน ความผิดปกติซึ่งไม่ค่อยพบก่อนหน้านั้น คือการมีแขนขากุดจนดูเหมือนมือและเท้าโผล่ออกมาจากลำตัว แพทย์ในเยอรมนีและออสเตรเลียพบความเกี่ยวพันระหว่างความพิการในทารกนี้กับการที่แม่ได้รับยาทาลิโดไมด์ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ [2] บริษัทผู้ผลิตถอนทาลิโดไมด์ออกจากตลาดเมื่อปลายปี ค.ศ. 1961 หลายปีต่อมา […]

| 0 Comments
The Book

คำนำผู้เขียน

การรักษาต้องสงสัย ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006 ได้แรงบันดาลใจจากคำถามว่า “เราจะทำอย่างไรจึงแน่ใจได้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการรักษาจะตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย” จากประสบการณ์ของเรา ผู้เขียน งานวิจัยมักไม่ได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญนี้ เรา ซึ่งในเวลานั้น หมายถึง อิโมเจน อีแวนส์ แพทย์ อดีตนักวิจัย และนักหนังสือพิมพ์ เฮเซล ทอร์นตัน ผู้ป่วย […]

| 2 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.