2-8 Consider all of the relevant fair comparisons

A single comparison of treatments rarely provides conclusive evidence and results are often available from other comparisons of the same treatments. These other comparisons may have different results or may help to provide more reliable and precise estimates of the effects of treatments.

Consider all of the relevant fair comparisons.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Know Your Chances

This book has been shown in two randomized trials to improve peoples' understanding of risk in the context of health care choices.

| 0 Comments | Evaluated

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments

The certainty of chance

Ben Goldacre reminds readers how associations may simply reflect the play of chance, and describes Deming’s illustration of this.

| 0 Comments

How Science Works

Definitions of terms that students have to know for 'How Science Works' and associated coursework, ISAs, etc

| 0 Comments

The Systematic Review

This blog explains what a systematic review is, the steps involved in carrying one out, and how the review should be structured.

| 0 Comments

Goldilocks

Cartoon and blog about how poorly performed systematic reviews and meta-analyses may misrepresent the truth.

| 0 Comments

Forest Plot Trilogy

Synthesising the results of similar but separate fair comparisons (meta-analysis) may help by yielding statistically more reliable estimates

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งเต้านม : เป็นที่ยอมรับแต่ยังมีการถกเถียงกัน

เนื่องจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสี (mammography) ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ เราจึงสันนิษฐานว่าคงมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าวิธีนี้มีประโยชน์มากกว่าโทษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2010 ว่า “การคัดกรองนี้ได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา หญิงกว่า 600,000 รายเข้าร่วมในการทดลองแบบสุ่ม 10 โครงการ ในช่วง 50 ปีมานี้ แต่ละโครงการก็ติดตามพวกเธอนานร่วม 10 […]

| 0 Comments
Book cover

อะโพรทินิน (Aprotinin) : ผลต่อการเลือดออกระหว่างและหลังการผ่าตัด

ผู้ให้ทุนวิจัย สถาบันวิชาการ นักวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และวารสารทางวิทยาศาสตร์ ล้วนมีส่วนผิดในงานวิจัยที่ไม่จำเป็น (ดูบทที่ 9)ดังที่อธิบายในบทที่ 8 และที่แสดงในตัวอย่างงานวิจัยที่ไม่จำเป็นสองเรื่องข้างต้นงานวิจัยใหม่ควรวางแผน หรือดำเนินการหลังจากประเมินความรู้จากการวิจัยที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ที่น่าตกใจ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2005 เป็นเรื่องการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมเกี่ยวกับยาชื่ออะโพรทินิน เพื่อลดเลือดออกระหว่างหรือหลังผ่าตัด ยาชนิดนี้ได้ผล แต่ส่วนที่น่าตกใจคือยังมีการทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมต่อไป ทั้งที่หลักฐานจำนวนมากพิสูจน์นานแล้วว่ายาลดการให้เลือดลงอย่างเห็นได้ชัด […]

| 0 Comments
Book cover

ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

งานวิจัยบางเรื่องก็ก้ำกึ่งระหว่างดีกับไม่ดี ได้แก่ งานที่ไม่จำเป็น ตัวอย่างงานลักษณะนี้เป็นเรื่องเด็กท่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้เกิดเร็วกว่าที่ควร ปอดจึงอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กจึงเสี่ยงมีอาการแทรกซ้อนที่ถึงชีวิต เช่น ภาวะหายใจลำบาก ก่อนช่วงต้นทศวรรษ 1980 มีหลักฐานจำนวนมากว่าการให้สเตียรอยด์ในหญิงมีครรภ์ที่เสี่ยงจะคลอดก่อนกำหนด ลดความถี่ที่ทารกจะมีอาการหายใจลำบากและเสียชีวิต แต่ในช่วงทศวรรษถัดมา ยังมีการทดลองโดยเปรียบเทียบสเตียรอยด์กับยาหลอกหรือการไม่รักษา หากมีการทบทวนผลการทดลองเรื่องก่อนๆ อย่างเป็นระบบ แล้วรวมผลด้วยการวิเคราะห์เชิงอภิมาน (ดูบทที่ 7 […]

| 0 Comments
Book cover

โรคทางจิตเวช

น่าเสียดายที่บางครั้งงานวิจัยก็ขาดคุณภาพ หรือไม่ตรงประเด็น ดังตัวอย่างในอาการที่ทรมาน เรียกว่ากลุ่มอาการเคลื่อนไหวผิดปกติจากยา (tardive dyskinesia) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยาต้านอาการทางจิต (antipsychotic) เป็นเวลานานเพื่อรักษาโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคจิตเภท อาการเด่นที่สุดคือ การที่ปากและใบหน้าขยับเองซ้ำๆ ทั้งหน้า บูดเบี้ยว เลียปาก แลบลิ้นบ่อยๆ และดูดกระพุ้งแก้ม หรือทำแก้มพอง โดยอาจมีมือเท้ากระตุกร่วมด้วย ผู้ป่วย […]

| 0 Comments
Book cover

คำแนะนำให้ผู้เขียนรวมผลการวิจัยเข้ากับความรู้เดิม โดยบรรณาธิการวารสารทางการแพทย์ เดอะแลนเซ็ต

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ หัวข้อนี้ควรครอบคลุมรายละเอียดว่าผู้เขียนค้นหาหลักฐานทั้งหมดอย่างไร และผู้เขียนควรอธิบายวิธีประเมินคุณภาพของหลักฐานนั้นๆ เช่น เลือกและรวมหลักฐานเข้าด้วยกันอย่างไร การแปลผล ผู้เขียนควรอธิบายในหัวข้อนี้ว่าการศึกษาของตนช่วยให้องค์ความรู้สมบูรณ์ขึ้นอย่างไร เมื่อผนวกเข้ากับงานเรื่องก่อนๆ “รายงานวิจัยทุกชิ้น ไม่ว่าเป็นแบบสุ่มหรือไม่ ที่ยื่นนับจากวันที่ 1 ส.ค. กรุณา…รวมผลเข้ากับองค์ความรู้เดิมในหัวข้ออภิปรายผล” Clark S, Horton R. Putting research […]

| 0 Comments
Book cover

ถ้าตรวจสอบหลักฐานก่อนจะป้องกันการเสียชีวิตได้ไหม

“เหตุสลดที่เลี่ยงได้เกิดกับเอลเลน โรช อายุ 24 ปี อาสาสมัครสุขภาพดีในการศึกษาโรคหืด ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เธอเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน (ปี ค.ศ. 2001) เพราะสารเคมีที่ขอให้เธอสูดเข้าไปทำให้ปอดและไตค่อยๆ ล้มเหลว หลังจากความสูญเสียนี้จึงได้ปรากฎว่าทั้งนักวิจัยและคณะกรรมการจริยธรรมที่อนุมัติให้ทำการศึกษามองข้ามคำใบ้มากมายเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีดังกล่าว ซึ่งคือ เฮ็กซาเมโทเนียม […]

| 0 Comments
Book cover

วิทยาศาสตร์คือการสะสมแต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้รวบรวม หลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

“นักวิจัยสายวิชาการพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘การวิเคราะห์เชิงอภิมานสะสม (cumulative meta-analysis)’ มานาน 25 ปีแล้ว โดยหลักการคือการทำการวิเคราะห์เชิงอภิมานเกี่ยวกับมาตรการหนึ่งๆ อยู่เป็นระยะๆ เมื่อการศึกษาหนึ่งเสร็จสิ้น ก็เติมค่าที่ได้เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้ผลรวมที่ทันเหตุการณ์ และให้รู้ชัดว่าผลที่ได้ชี้ไปในทิศทางใด ประโยชน์สูงสุดของวิธีนี้คือมีโอกาสสูงที่จะสังเกตเห็นคำตอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติทันทีที่ปรากฏ โดยไม่ต้องเสี่ยงหลายชีวิตในการศึกษาเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น” Goldacre B. Bad Science: How pools […]

| 0 Comments
Book cover

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

“การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานมีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในการดูแลสุขภาพ แพทย์อ่านงานเหล่านี้เพื่อให้ทันเหตุการณ์ในสาขาของตน ทั้งยังมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ หน่วยงานให้ทุนวิจัยอาจต้องการการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อยืนยันว่ามีเหตุสมควรให้ทำงานวิจัยเพิ่มเติม วารสารวิชาการด้านการดูแลสุขภาพบางฉบับก็มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับงานวิจัยทุกชนิด คุณค่าของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำ สิ่งที่พบ และความชัดเจนในการรายงาน แต่คุณภาพของการรายงานประเภทนี้ก็สะเปะสะปะไม่ต่างจากงานตีพิมพ์อื่นๆ ซึ่งทำให้ ผู้อ่านประเมินข้อดีและข้อด้อยของการทบทวนเหล่านั้นได้ยาก” Moher D, Liberati A, Tetzlaff, Altman […]

| 0 Comments
Book cover

การสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย

เมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว ลอร์ดเรย์ลี ประธานสมาคมพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (British Association for the Advancement  of  Science) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องรวมผลจากการวิจัยเรื่องใหม่เข้าในบริบทเดียวกับหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องว่า “ถ้าวิทยาศาสตร์เป็นอย่างที่เข้าใจกันในบางครั้ง คือประกอบด้วยข้อเท็จจริงล้วนๆ ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยความอุตสาหะ ไม่นานมันก็จะหยุดชะงัก แล้วล่มสลายเพราะความหนักของมันเอง…จึงมี 2 กระบวนการที่ดำเนินไปเคียงข้างกัน คือ การยอมรับสิ่งใหม่และการทำความเข้าใจสิ่งเดิมจนนำมาใช้ใหม่ได้ […]

| 0 Comments
Book cover

ทำไมจึงเริ่มทำ

“แทบไม่มีหลักการใดที่เป็นรากฐานของการวิจัยเชิงคลินิกในทางวิทยาศาสตร์และความถูกต้องทางจริยธรรม ยิ่งกว่าการที่การศึกษาควรตอบคำถามที่เป็นประโยชน์ และควรออกแบบในลักษณะที่จะ ให้คำตอบที่นำไปใช้ได้ การจะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดนี้ได้ ต้องมีการค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งทำก่อนหน้านั้นอย่างครอบคลุม…หากหลักฐานดังกล่าวไม่ครบถ้วนจะเป็นการละเมิดข้อตกลงด้านจริยธรรมที่มีต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ว่า ข้อมูลซึ่งได้รับจากพวกเขามีความสำคัญและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น” Robinson KA, Goodman SN. A systematic examination of the citation of prior research […]

| 0 Comments
Book cover

รายงานวิจัยเรื่องใหม่ควรเริ่มต้นและปิดท้ายด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

รายงานจากการศึกษา [20] เพื่อประเมินผลของการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลัน เป็นตัวอย่างว่าจะตอบคำถามทั้ง 4 ข้อของแบรดฟอร์ด ฮิลล์ได้อย่างไร นักวิจัยกลุ่มนี้อธิบายว่าเริ่มทำการศึกษานี้ เนื่องจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่พวกเขาทำโดยใช้หลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดร่วมกับหลักฐานว่ามีความแตกต่างในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว พบว่ามีความไม่แน่นอนข้อสำคัญเรื่องผลของวิธีการรักษาที่ใช้กัน เพิ่มเติม: เอกสารอ้างอิง (บทที่ 8) บทถัดไป: บทที่ 9 การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วยหรือตัวถ่วง

| 0 Comments
Book cover

ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย

ผลเสียของการไม่ทบทวนหลักฐานจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้และเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มีเพียงก่ออันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้เข้าร่วมในงานวิจัยนั้น เพราะยังอาจทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลและการวิจัยด้านสุขภาพ เช่น ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ผู้ป่วยรวมกว่า 8,000 ราย เข้าร่วมในการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับยาชนิดใหม่ที่เสนอให้ใช้ในโรคหลอดเลือดสมอง นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ทบทวนผลจากการศึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มนี้อย่างเป็นระบบ โดยไม่พบผลที่เป็นประโยชน์ (ดูบทที่ 10) [17] จึงตัดสินใจทบทวนผลจากการตรวจสอบยาดังกล่าวที่เคยทำในสัตว์ ซึ่งก็ยังไม่พบประโยชน์ใดๆ [18] หากนักวิจัยที่ทดลองในสัตว์และนักวิจัยที่ศึกษาในคนทบทวนผลจากการศึกษาในสัตว์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ผลดัง […]

| 2 Comments
Book cover

อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย

การไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งที่เลี่ยงได้ นักวิจัยยังถูกว่าจ้างให้ทำการศึกษาซึ่งระงับการใช้วิธีการรักษาที่รู้ว่ามีประสิทธิผล เช่น เนิ่นนานหลังจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือแสดงว่า การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดลำไส้ช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อน นักวิจัยยังคงทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยไม่ให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยครึ่งหนึ่ง การที่นักวิจัยละเลยการทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ ตัดโอกาสที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาครึ่งหนึ่งจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่าเป็นประโยชน์ มีหลักฐานว่าความบกพร่องร้ายแรงนี้ยังไม่เป็นที่สนใจทั้งจากหน่วยงานที่ให้ทุนแก่งานวิจัยและจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยซึ่งทบทวนโครงร่างงานวิจัย แต่กลับไม่โต้แย้งนักวิจัย หากนักวิจัยไม่ประเมินสิ่งที่รู้อยู่แล้วเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษานั้นๆ อย่างเป็นระบบนอกจากผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีการรักษาจะต้องเสี่ยง ยังอาจส่งผลเสียต่ออาสาสมัครสุขภาพดีด้วย ระยะแรกในการตรวจสอบวิธีการรักษามักทำในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวนน้อยในปี ค.ศ. 2006 ชายหนุ่มอาสาสมัคร 6 รายของหน่วยวิจัยเอกชนในเวสต์ลอนดอน […]

| 0 Comments
Book cover

อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้

มีการนำวิธีที่แนะนำให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งตีพิมพ์ในตำรามานานกว่า 30 ปี มาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ถูกละเลย เพราะผู้เขียนตำราไม่ได้ทบทวนรายงานการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมในช่วงนั้นอย่างเป็นระบบ [11] การเปรียบเทียบพบว่าคำแนะนำในตำรามักผิดพลาด เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ทบทวนหลักฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ผลจากการนี้รุนแรงแสนสาหัส เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเสียโอกาสได้รับวิธีการรักษาที่ช่วยชีวิตได้ (เช่น ยาละลายลิ่มเลือด) หรือกระทั่งหลังจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมพิสูจน์แล้วว่าวิธีการรักษาหนึ่งๆ เป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์กลับยังแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวต่อไปอีกนาน เช่น การใช้ยาที่ลดความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่กำลังมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (ดูข้างต้นและบทที่ 2) […]

| 0 Comments
Book cover

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ต้องนำหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องมาทบทวนอย่างเป็นระบบ เพื่อดูว่าเรารู้อะไรแล้วบ้าง ทั้งจากงานวิจัยในสัตว์ ห้องปฏิบัติการ และการทดลองใช้วิธีการรักษาใหม่ ซึ่งบางครั้งก็ทำกับอาสาสมัครสุขภาพดี หรืองานวิจัยก่อนหน้าที่ทำในผู้ป่วย ถ้าขั้นตอนนี้ถูกละเลย หรือไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาอาจร้ายแรง กล่าวคือ ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยอาจทรมานจนเสียชีวิตโดยไม่สมควร สูญทรัพยากรล้ำค่าทั้งในการดูแลสุขภาพและงานวิจัย เนื้อเรื่องย่อย อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย ถัดไป: รายงานวิจัยเรื่องใหม่ควรเริ่มต้นและปิดท้ายด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ  

| 2 Comments
Book cover

การลดผลจากความบังเอิญในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ในบทที่ 7 ผู้เขียนอธิบายวิธีลดผลจากความบังเอิญโดยรวมข้อมูลจากการศึกษาที่เป็นเอกเทศแต่คล้ายคลึงกันด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การวิเคราะห์เชิงอภิมาน” พร้อมยกตัวอย่าง 5 การศึกษาจาก 5 ประเทศที่แยกกันดำเนินการและรับทุนเพื่อไขข้อข้องใจนาน 60 ปีว่า ทารกซึ่งคลอดก่อนกำหนดต้องมีระดับออกซิเจนในเลือดเท่าใดจึงจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตโดยไม่พิการร้ายแรง ตัวอย่างนี้ทำให้เห็นภาพว่าสามารถวางแผน กระบวนการดังกล่าวก่อนได้ผลการศึกษา ทั้งยังทำหลังการศึกษาซึ่งคล้าย กันจำนวนหนึ่งเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1974 […]

| 0 Comments
Book cover

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงภาษา หรือรูปแบบการรายงานนั้นยากเอาเรื่อง ปัญหาสำคัญคือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องบางชิ้นไม่ได้รายงานต่อสาธารณะ การรายงานไม่ครบถ้วนมีสาเหตุหลักจากการที่นักวิจัยไม่เขียนหรือส่งรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เนื่องจากผลไม่ได้ดังใจ บริษัทยาปกปิดการศึกษาที่ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของตน ส่วนวารสารก็มักลำเอียงโดยปฏิเสธรายงานที่ส่งเข้ามา เพราะเห็นว่าผลไม่ “น่าตื่นเต้น” พอ [3] การรายงานงานวิจัยไม่ครบถ้วนด้วยความลำเอียงนั้น ผิดทั้งหลักวิทยาศาสตร์และจริยธรรม โดยเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่าเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังใคร่ครวญเลือกวิธีการรักษาอาจจะเข้าใจผิด เพราะมีโอกาสน้อยที่จะมีการรายงานการศึกษาซึ่งได้ผล “ไม่ได้ดังใจ” หรือ […]

| 0 Comments
Book cover

การลดความลำเอียงในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

เช่นเดียวกับที่ความลำเอียงอาจบิดเบือนการตรวจสอบวิธีการรักษาหนึ่งๆ จนได้ข้อสรุปที่เป็นเท็จ มันยังบิดเบือนการทบทวนวรรณกรรมได้เช่นกัน เช่น นักวิจัยอาจจะ “คัด” การศึกษา “งามๆ” ที่รู้ว่าจะช่วยหนุนคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ตนต้องการจะสื่อ เพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ควรวางแผนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบไว้เป็นโครงร่างการวิจัย เช่นเดียวกับงานวิจัยเดี่ยวๆ โดยโครงร่างต้องชี้แจงว่านักวิจัยจะใช้วิธีใดลดความลำเอียงและผลจากความบังเอิญ ขณะเตรียมการทบทวนวรรณกรรม รวมถึงระบุว่าการทบทวนจะตอบคำถามใดเกี่ยวกับวิธีการรักษาเกณฑ์การคัดการศึกษาเข้า วิธีค้นหาการศึกษาที่มีแนวโน้มเข้าเกณฑ์ ขั้นตอนการลดความลำเอียงในการคัดการศึกษาเข้า และขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ถัดไป: การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

| 0 Comments
Book cover

การทบทวนหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องท้ังหมดอย่างเป็นระบบ

การบอกว่าเราควรทบทวนผลจากการศึกษาหนึ่งๆ ร่วมกับหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องง่าย แต่ทำได้ยากในหลายแง่ การทบทวนวรรณกรรมมีความสำคัญ เพราะประชาชนควรเชื่อถือมันได้ จึงต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด การทบทวนที่ดูเหมือนพยายามตอบคำถามเดียวกันเรื่องวิธีการรักษาหนึ่งๆ อาจได้ข้อสรุปแตกต่างกัน บ้างก็เป็นเพราะคำถามต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย หรือเพราะวิธีวิจัยที่นักวิจัยใช้แตกต่างกัน และ บ้างก็เป็นเพราะนักวิจัย “บิด” ข้อสรุป จึงสำคัญที่ต้องค้นหาการทบทวนวรรณกรรมที่ตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีการรักษา ซึ่งเข้ากันได้กับคำถามที่เราสนใจ มีความเป็นไปได้สูงว่าออกแบบมาให้ลดผลจากความลำเอียงและความบังเอิญได้ ทั้งยังได้ข้อสรุปที่ตรงไปตรงมาตามที่หลักฐานบ่งชี้ เนื้อเรื่องย่อย […]

| 0 Comments
Book cover

แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

คำตอบง่ายๆ คือ “มักไม่พอ” น้อยครงทการเปรียบเทียบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมเพียงเรื่องเดียว ให้หลักฐานที่เชื่อถือได้พอนำมาใช้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ แต่ก็เป็นไปได้ในบางกรณี หนึ่งในการศึกษาหายากเหล่านี้พิสูจน์ว่าการใช้แอสไพรินในช่วงที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร [1] อีกการศึกษาหนึ่งชี้ชัดว่าการให้สเตียรอยด์ในคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลันคร่าชีวิตได้ (ดูด้านล่างและบทที่ 7) และการศึกษาที่สามพบว่าคาเฟอีนเป็นยาชนิดเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าป้องกันสมองพิการในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดาหนด (ดูบทที่ 5) แต่ปกติการศึกษาเดี่ยวๆ ก็เป็นเพียงหนึ่งในการเปรียบเทียบมากมาย ซึ่งตอบคำถามเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน จึงควรประเมินหลักฐานที่ได้จากแต่ละการศึกษาร่วมกับการศึกษาอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน […]

| 1 Comment
Book cover

บทที่ 8 ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ประเด็นสำคัญ เดี่ยวมักให้หลักฐานไม่เพียงพอเป็นแนวทางเพื่อเลือกวิธีในการดูแลสุขภาพ การประเมินข้อดีของวิธีการรักษาต่างๆ ควรอิงเชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากและผลจากซึ่งทำให้เข้าใจผิด เช่นเดียวกับในการศึกษาเดี่ยวเพื่อตรวจสอบวิธีการรักษา การไม่พิจารณาผลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยทั้งที่หลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลสุขภาพและการวิจัย ถัดไป: แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

| 0 Comments
Book cover

การได้จำนวนที่มากพอในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

บางครั้งเมื่อตรวจสอบวิธีการรักษา ก็อาจได้จำนวนคนมากพอจากงานวิจัยที่ทำใน 1 หรือ 2 แหล่งวิจัย แต่การประเมินผลการรักษาที่เกิดน้อย เช่น การเสียชีวิตมักจำเป็นต้องเชิญชวนผู้ป่วยจากหลายแหล่ง      บ่อยครั้งก็จากหลายประเทศ ให้เข้าร่วมในงานวิจัยเพื่อให้ได้หลักฐานที่เชื่อถือได้ เช่น การศึกษาในผู้ป่วย 10,000 รายจาก 13 ประเทศ พิสูจน์ว่าการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บรุนแรง  ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันมากว่า 30 […]

| 1 Comment
Book cover

การสะสางความไม่แน่นอนด้านผลการรักษา

แล้วเราควรทำอย่างไรต่อไป แพทย์ต้องสามารถใช้ข้อมูลเรองวิธีการรักษา ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีที่สุด ณ เวลานั้นจากการรวบรวมประสบการณ์และการทบทวนงานวิจัยที่เชื่อถือได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ถ้ายังพบว่ามีความไม่แน่นอนเรื่องวิธีการรักษา แพทย์ก็ต้องพร้อมจะหารือกับผู้ป่วย อธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ และปรึกษากันเรื่องทางเลือกโดยคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ แม้การหารืออาจเปิดประเด็นความไม่แน่นอนที่ต้องยอมรับ และสะสางเพิ่มขึ้นอีกก็ตาม เราจะก้าวหน้าอย่างมั่นคงไปสู่การรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราต่างตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ไม่ใช่เพื่อให้ยอมรับ “ความพ่ายแพ้” ทุกวันนี้แนวทางสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบางฉบับก็แสดงทัศนคติในแง่ดีต่อการสะสางความไม่แน่นอนต่างๆ แนวทางเวชปฏิบัติที่ดี (Good Medical […]

| 0 Comments
Book cover

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation)

แต่การลดจำนวนการผ่าตัดอวัยวะ ออกทั้งหมดก็ยังไม่ใช่การปิดฉากแนวคิด “ยิ่งมากยิ่งดี” ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการใช้แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ด้วยยาเคมีบำบัดปริมาณมาก ตามด้วย การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ “การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์” (stem cell rescue) รายงานในนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) ในปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ (Evening Primrose Oil for Eczema)

แม้การขาดการประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่ได้คร่าชีวิต หรือเกิดอันตราย แต่ก็ทำให้เสียเงินเปล่า ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นปัญหาผิวหนังที่ สร้างความรำคาญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รอยโรคที่ผิวหนังทั้งไม่น่ามองและคันคะเยอ แม้การใช้ครีมสเตียรอยด์จะช่วยได้ แต่ก็ต้องห่วงเรื่องผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ตอนต้นทศวรรษ 1980 มีสารสกัดธรรมชาติของน้ำมันที่ได้จากพืชคือ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ที่เปิด ตัวในฐานะทางเลือกหนี่งที่ได้ผลโดยมีผลข้างเคียงน้อย [11] น้ำมันอีฟนิงพริมโรสประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นเรียกว่ากรดแกมมาไลโนเลนิก (gamma-linolenic acid […]

| 0 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.