มีใครปกติบ้างไหม

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: มีใครปกติบ้างไหม การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) ทั้งร่างกาย

การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) ทั้งร่างกาย

การตรวจ CT ทั้งร่างกายเป็นหนึ่งในการตรวจที่คลินิกเอกชนเสนอให้ทำ เพื่อดูศีรษะ คอ อก ช่องท้อง และเชิงกราน มีการเชิญชวนประชาชนโดยตรง และมักทำโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาล มักมีการประชาสัมพันธ์การตรวจทั้งร่างกายว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้รู้ทันโรคที่อาจเกิดด้วยแนวคิดว่าถ้าผล “ปกติ” ก็แปลว่าอุ่นใจได้ การตรวจนี้มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งยังไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมในผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการแสดงของโรค

ยิ่งกว่านั้น ปริมาณรังสีที่ผู้รับการตรวจสัมผัสยังสูงถึง 400 เท่าของการเอกซเรย์ช่องอก สูงมากจนในปี ค.ศ. 2007 คณะกรรมการรังสีในสิ่ง แวดล้อมในทางการแพทย์ (Committee on Medical Aspects of Radiation in the Environment หรือ COMARE) ในสหราชอาณาจักรต้องแนะนำไว้ชัดเจนว่า “หน่วยงาน” ที่ให้การคัดกรองด้วย CT ทั่วร่างกายควรเลิกทำการคัดกรองในคนที่ไม่มีอาการผิดปกติ

ในปี ค.ศ. 2010 หลังจากหารือ รัฐบาลก็ประกาศเจตจำนงว่าจะบังคับใช้กฎที่เข้มงวดยิ่งขึ้นกับการตรวจทั้งร่างกาย องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาก็เตือนประชาชนเช่นกันว่า ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าการตรวจเหล่านี้มีประโยชน์ในคนสุขภาพปกติ โดยให้ความเห็นว่า “หลายคนไม่ฉุกคิดว่าการตรวจคัดกรองด้วย CT ทั่วร่างกายอาจไม่ได้ทำให้ ‘สบายใจ’ ดังหวัง หรือไม่ ได้ให้ข้อมูลที่ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้เสมอไป เพราะผลที่ผิดปกติอาจไม่ร้ายแรง ส่วนผลที่ชี้ว่าปกติก็อาจไม่เที่ยงตรง” [23, 24, 25]

การหาจุดสมดุล

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาจุดสมดุลระหว่างการเฝ้าแต่ควานหาโรคกับ การปล่อยให้ผู้ที่อาจได้ประโยชน์จากการตรวจพบโรคได้เร็วรอดสายตา และมักเป็นเหตุให้เกิดการตัดสินใจที่ขัดใจคนหมู่มาก หากจะให้ประชาชนทั้งหมดได้ประโยชน์ ระบบสุขภาพทุกระบบต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด หลักพื้นฐานนี้หมายความว่านอกจากต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ตอนที่ริเริ่มโครงการคัดกรอง ยังต้องมีการทบทวนอยู่เสมอว่า เมื่อมีหลักฐานเพิ่มพูนขึ้นและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การคัดกรองยังคงมีประโยชน์หรือไม่ ข้อควรพิจารณาที่สำคัญคือ โครงการคัดกรองควรทำในประชาชนวงกว้าง หรือควรพุ่งเป้าไปที่กลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคสูง

เพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง (บทที่ 4)

บทถัดไป: บทที่ 5 ทำอย่างไรเมื่อผลการรักษาไม่แน่นอน