บทที่ 3 มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: บทที่ 3 มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป

ประเด็นสำคัญ

  • การรักษา ที่รุนแรงกว่าอาจไม่มีประโยชน์ทั้งยังมีโทษมากกว่าในบางกรณี

ความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยคือ หากวิธีการรักษานั้นดี ยิ่งใช้มากก็ยิ่งดี ซึ่งไม่จริงเลย ยิ่งใช้มากอาจยิ่งแย่ด้วยซ้ำ การหาปริมาณที่ “เหมาะสม” ซึ่งให้ประโยชน์สูงและมีผลเสีย (ผลข้างเคียง) ต่ำนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับวิธีการรักษาทุกวิธี เมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นไปถึงระดับหนึ่งประโยชน์ที่ได้จะไม่เพิ่มตามไปด้วย แต่ผลเสียมักเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้น

Paracelsus

“All things are poison, and nothing is without poison; only the dose permits something not to be poisonous.” Paracelsus, 1493-1541

“ยิ่งมาก” อาจลดประโยชน์ที่ได้รับจริงๆ หรือโดยรวมมีผลร้ายด้วยซ้ำ

ยาขับปัสสาวะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เมื่อให้ในปริมาณต่ำจะลดความดันโลหิต โดยมีผลข้างเคียงน้อย การเพิ่มปริมาณไม่ได้ช่วยให้ความดันโลหิตยิ่งลดลง แต่ให้ผลเสีย เช่น ปัสสาวะบ่อยเกินไป เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น แอสไพรินก็เช่นกัน ที่ปริมาณต่ำคือ 1 ใน 4 หรือครึ่งเม็ด[ญ] ต่อวัน จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีผลเสียน้อยอย่างไรก็ตาม แม้การกินแอสไพรินหลายเม้ดต่อวันจะแก้ปวดศีรษะได้ แต่กลับไม่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

หลักการของ “ปริมาณที่พอเหมาะ” ไม่ได้ใช้เฉพาะกับยา แต่ยังใช้ได้กับวิธีการรักษาอื่นๆ รวมถึงการผ่าตัดด้วย

[ญ] เม็ดในที่นี้คือเม็ดมาตรฐาน มีตัวยาเม็ดละ 300-325 มิลลิกรัม

ถัดไป: การรักษามะเร็งเต้านมแบบรุนแรง