Claims: are they justified?

Not all claims about the effects of treatments are reliable. Well-informed treatment decisions require reliable information.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Know Your Chances

This book has been shown in two randomized trials to improve peoples' understanding of risk in the context of health care choices.

| 0 Comments | Evaluated
Logo

Bias

A University of Massachusetts Medical School text on biases.

| 0 Comments
Logo

Harm

A University of Massachusetts Medical School text on adverse effects of treatments.

| 0 Comments

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments

DRUG TOO

James McCormick with another parody/spoof of the Cee Lo Green song ‘Forget You’ to prompt scepticism about many drug treatments.

| 0 Comments

How do you regulate Wu?

Ben Goldacre finds that students of Chinese medicine are taught (on a science degree) that the spleen is “the root of post-heaven essence”.

| 0 Comments

Screen test

Ben Goldacre notes that even if people realize that screening programmes have downsides, people don’t regret being screened.

| 0 Comments

Publish or be damned

Ben Goldacre points out the indefensible practice of announcing conclusions from research studies which haven’t been published.

| 0 Comments

Weasels Are on the Loose

Weaseling is the use of certain words to weaken a claim, so that the author can say something without actually saying it and avoid criticism

| 0 Comments

Balancing Benefits and harms

A blog explaining what is meant by ‘benefits’ and ‘harms’ in the context of healthcare interventions, and the importance of balancing them.

| 0 Comments

Cancer Screening Debate

This blog discusses problems that can be associated with cancer screening, including over-diagnosis and thus (unnecessary) over-treatment.

| 0 Comments
Book cover

Testing Treatments

Testing Treatments is a book to help the public understand why fair tests of treatments are needed, what they are, and how to use them.

| 0 Comments

Does it work?

People with vested interests may use misleading statistics to support claims about the efects of new treatments.

| 0 Comments

Alicia

Earlier testing is not always better, and can lead to overdiagnosis and overtreatment.

| 0 Comments

Peer-Review

Even quality control steps, such as peer-review, can be affected by conflicts of interest.

| 0 Comments

Gertrud

Exaggeration and hopes or fears can lead to unrealistic expectations about treatment effects.

| 0 Comments

Soy Lattes

Just because two things are associated, doesn't mean one thing caused the other.

| 0 Comments
DISCERN logo

DISCERN online

A questionnaire providing a valid and reliable way of assessing the quality of written information on treatment choices.

| 0 Comments

The placebo effect

A video by NHS Choices explaining what the placebo effect is, and describing its role in medical research and the pharmaceutical industry.

| 0 Comments
Book cover

ใครเป็นเบาหวาน

ถ้าอย่างนั้นเราตัดสินอย่างไรว่าใครเป็นเบาหวาน ตอนผมเรียนแพทย์ ค่าที่เป็นเกณฑ์ของเราเป็นดังนี้ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting blood sugar) ของใครเกิน 140 ถือว่าคนนั้นเป็น เบาหวาน แต่ในปี ค.ศ. 1997 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยและจัดกลุ่มเบาหวาน (Expert Committee on the Diagnosis […]

| 0 Comments
Book cover

แพทย์เล่าเรื่องการคาดเดาในการเลือกวิธีการรักษา

“ในการสนทนาจำลองระหว่างแพทย์ 2 ราย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปให้ความเห็นดังต่อไปนี้ “สิ่งสารพัดที่เราทำเป็นการคาดเดา ซึ่งทั้งคุณทั้งผมก็คงไม่สบายใจที่เป็นอย่างนั้น ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดได้ผลคือต้องมีการทดลองที่ได้คุณภาพ ซึ่งก็ลำบาก เราจึงทำตามใจชอบ ผมมั่นใจว่าในบางกรณีก็ไม่มีปัญหา เพราะใช้ประสบการณ์ในการรักษาและอื่นๆ ทว่าในกรณีอื่นเราก็อาจเข้าใจ ผิดว่าทำถูกแล้ว แต่เพราะสิ่งที่เราทำไม่ถือเป็นการทดลอง จึงไม่มีการกำกับดูแล และไม่มีใครใช้มันเป็นบทเรียน” Adapted from Petit-Zeman S. […]

| 0 Comments
Book cover

จากคนธรรมดากลายเป็นผู้ป่วย

การคัดกรองทำให้คนที่มีผลการทดสอบ “เป็นบวก” กลับกลายเป็นผู้ป่วย การเปลี่ยนสถานะเช่นนี้ต้องไตร่ตรองให้ดีก่อนทำ “ถ้าผู้ป่วยขอความช่วยเหลือจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทย์ก็ ต้องทำสุดความสามารถ และไม่ใช่ความผิดของแพทย์ที่องค์ความรู้ในการรักษามีข้อบกพร่อง แต่ถ้าแพทย์แนะนำให้ทำการคัดกรอง จะเป็นคนละกรณีโดยสิ้นเชิง ผู้เขียนจึงเห็นว่าแพทย์ควรมีหลักฐานแน่ชัดว่า หากคัดกรองจะเปลี่ยนกระบวนการเกิดโรคได้ในคนจำนวนมากที่เข้ารับการคัดกรอง” Cochrane AL, Holland WW. Validation of screening procedures. […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อโดนดึงเข้าไปในวังวน

ปี ค.ศ. 2006  ผู้ป่วยคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านการแพทย์มา เผลอตามกระแสเฮอเซปตินไปด้วย เมื่อเธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแบบมี HER2 ในปีก่อนหน้านั้น “ก่อนจะมีการวินิจฉัย ฉันก็เหมือนผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการรักษามะเร็งเต้านมในยุคนี้ เลยต้องพึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ตอนนั้นเว็บไซต์เบรสต์แคนเซอร์แคร์ (Breast Cancer Care) หรือการดูแลมะเร็งเต้านม กำลังรณรงค์ให้ผู้หญิงที่มี HER2 ทุกคนได้ใช้เฮอเซปติน […]

| 0 Comments
Book cover

โศกนาฏกรรมการแพร่ระบาดของอาการตาบอดในทารก

“ทันทีที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด มีการนำวิธีการรักษาใหม่ๆ หลายวิธีมาใช้แก้ปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด แต่ภายในไม่กี่ปีก็ปรากฏชัดว่าการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลทารกเหล่านี้ก่อผลร้ายที่ไม่คาดฝัน โศกนาฏกรรมทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่สุดคือ ‘การแพร่ระบาด’ ของอาการตาบอดจากจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด (retrolental fibroplasia) ในช่วงปี ค.ศ. 1942-1954 ความผิดปกตินี้สัมพันธ์กับการให้ออกซิเจนในการดูแลเด็กแรกเกิดที่มีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ โดยต้องใช้ความพยายามนานถึง 12 ปี กว่าจะหยุดการแพร่ระบาดของอาการนี้ได้ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้หลายคนตาสว่างว่าจำเป็นต้องมีการประเมินนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างเป็นระบบก่อนยอมให้นำมาใช้ได้ทั่วไป” Silverman WA. […]

| 0 Comments
Book cover

เรื่องเล่าก็เป็นแค่เรื่องเล่า

“สมองของเราดูจะโปรดปรานเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา เราเรียนรู้ได้ง่ายที่สุดผ่านเรื่องเล่าที่น่าสนใจ แต่ผมตกใจที่ผู้คนมากมาย ซึ่งรวมถึงเพื่อนผมหลายคน ไม่เห็นหลุมพรางของวิธีนี้ วิทยาศาสตร์รู้ ว่าเรื่องเล่าและประสบการณ์ส่วนตัวนั้นกลับขาวเป็นดำได้ จึงต้องมีผลที่ตรวจสอบได้และทำซ้ำได้ ในทางกลับกัน การแพทย์ช่วยให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าได้น้อยมาก มนุษย์มีความหลากหลายมากจนไม่อาจมั่นใจอะไรได้เลยในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน จึงมีช่องว่างเหลือเฟือให้ใช้การคาดเดา แต่เราต้องชัดเจนว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน เพราะหากเราล้ำเส้นจะทำลายหลักการของวิทยาศาสตร์ทันทีจะกลายเป็นเอาง่ายเข้าว่าจนข้อเท็จจริงและความคิดเห็นปนเปกันแทบแยกไม่ออก” Ross N. Foreword. In: Ernst […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีลบปานสตรอว์เบอร์รีแบบใหม่

บางคราวการค้นพบวิธีรักษาที่เห็นผลเด่นชัดก็เกิดโดยบังเอิญ เช่น ภาวะที่เกิดในทารก ซึ่งเรียกว่า ฮีแมงจิโอมา (Hemangioma) หรือเนื้องอกหลอดเลือด ซึ่งคล้ายกับปานแดงชนิด portwine stains ตรงที่เกิดจากการผิดรูปของหลอดเลือดซึ่งยังเจริญไม่เต็มที่ ในฮีแมงจิโอมาหลอดเลือดขนาดเล็กจะรวมกันเป็นก้อนส่วนใหญ่เกิดบนผิวหนัง โดยมักเป็นที่ศีรษะหรือลำคอ แต่ก็อาจเกิดที่อวัยวะภายใน เช่น ตับ ได้ด้วย รอยที่ผิวหนังชนิดนี้มักเรียกว่าปานสตรอว์เบอร์รี เพราะเป็นสีแดงสดและนูน มักมองไม่เห็น […]

| 0 Comments
Book cover

จุมพิตของแม่

วิธีการพื้นๆ ก็อาจได้ผลเด่นชัดเช่นกัน บางครั้งเด็กเล็กก็ใส่สิ่งของชิ้นเล็ก เช่น ของเล่นพลาสติก หรือลูกปัด เข้าไปในจมูกของตน แต่มักพ่นลมออกทางจมูกไล่สิ่งแปลกปลอมไม่ได้ วิธี “จุมพิตของแม่” เพื่อไล่สิ่งที่ติดคานั้นเรียบง่าย แต่ได้ผลดีมากโดยให้พ่อหรือแม่ปิดจมูกข้างที่ไม่มีอะไรติดคาอยู่ พร้อมกับเป่าลมเข้าปากเด็ก [2], [6]. ถัดไป: วิธีลบปานสตรอว์เบอร์รีแบบใหม่

| 0 Comments
Book cover

อิมาทินิบ (Imatinib) ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง ชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)

ผู้ป่วยที่ได้รับยาอิมาทินิบเพื่อรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีลอยด์ก็ได้ผลการรักษาน่าชื่นใจเช่นกัน [4], [5]. ก่อนจะเริ่มนำอิมาทินิบมาใช้ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มะเร็งเม็ด เลือดขาวชนิดนี้แทบไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน ทว่าเมื่อลองใช้ยาใหม่ชนิดนี้ โดยเริ่มในผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษามาตรฐาน อาการโดยรวมของผู้ป่วยกลับดีขึ้นผิดหูผิดตา อิมาทินิบทำให้โรคสงบ ทั้งยังปรากฏว่าช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยได้พอสมควรเมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีอิมาทินิบ อาการข้างเคียงส่วนใหญ่ก็ไม่รุนแรง ปัจจุบันจึงใช้ อิมาทินิบเป็นวิธีการรักษาอย่างแรก ถัดไป: จุมพิตของแม่

| 0 Comments
Book cover

การลบปานแดงแบบ Portwine stains ด้วยเลเซอร์

ปานแบบเป็นปื้นแดงแต่กำเนิดนี้มีสาเหตุจากเส้นเลือดใต้ผิวหนัง ขยายตัวผิดรูปถาวร มักเกิดบนใบหน้า และจะไม่จางหายไปเอง ทั้งยังสีเข้มขึ้นเมื่อเด็กเติบโตจนอาจเสียโฉม ที่ผ่านมามีการลองใช้วิธีการรักษาสารพัด เช่น ทำให้เย็นจัด[ณ] ผ่าตัด และฉายรังสี แต่พบว่าไม่ค่อยได้ผล ทั้งยังมีอาการข้างเคียงหลายประการ แต่การเริ่มใช้วิธีการรักษาด้วยเลเซอร์ ให้ผลน่าประทับใจ เพราะมักเห็นผลในปานชนิดนี้เกือบทุกรูปแบบหลังจากเลเซอร์เพียงครั้งเดียว และแผลที่ผิวหนังโดยรอบซึ่งเกิดจากความร้อนจากเลเซอร์กระจายออก ก็จะหายในเวลาไม่นาน[2], [3] [ณ] cryosurgery […]

| 0 Comments
Book cover

มะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม (ดูบทที่ 3) เป็นอีกตัวอย่างของความไม่แน่นอนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ มีการใช้วิธีผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัด แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยังไม่กระจ่างว่าวิธีการรักษาใดดีที่สุดในมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่มและ “มะเร็งเทียม” รวมถึงจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ควรตัดออกจากบริเวณรักแร้ หรือกระทั่งว่าควรตัดหรือไม่ [20] เท่านั้นยังไม่พอ เรื่องที่ผู้ป่วยสนใจอย่างการบรรเทาความอ่อนเพลียจากการรักษา หรือวิธีใดดีที่สุดในการรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองที่แขน ซึ่งเป็นผลอันทรมานและบั่นทอนสุขภาพหลังผ่าตัดและฉายรังสีที่รักแร้ก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบมากเท่าที่ควร ถัดไป: การสะสางความไม่แน่นอนด้านผลการรักษา

| 0 Comments
Book cover

ยาปฏิชีวนะในการคลอดก่อนกำหนด

เมื่อตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม อาจพบว่าวิธีการรักษาที่หวังว่าจะให้ผลดีและคิดว่าไม่เป็นอันตราย ให้ผลเป็นตรงข้าม แพทย์สั่งใช้วิธีการรักษาต่างๆ ด้วยเจตนาดี โดยเฉพาะหากวิธีการรักษาเหล่านั้นให้ความหวังได้ในยามอับจน เช่น มีทฤษฎีกล่าวว่าการติดเชื้อที่ “ไม่แสดงอาการ” อาจกระตุ้นให้เจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนด แพทย์จึงส่งใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงมีครรภ์บางรายโดยหวังว่าจะช่วยยืดอายุครรภ์ได้ ไม่มีใครคิดจริงจังว่าการ ใช้ยาปฏิชีวนะในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง อันที่จริง ยังมีหลัก ฐานว่าหญิงมีครรภ์อยากใช้ยาปฏิชีวนะเอง ด้วยวิธีคิดแบบ “ลองดูคงไม่เสียหาย” เมื่อมีการตรวจสอบวิธีการรักษานี้อย่างเที่ยงธรรมในที่สุด ผลที่ได้ก็สร้างความกระจ่าง […]

| 0 Comments
Book cover

คาเฟอีน (Caffeine) เพื่อการรักษาปัญหาการหายใจในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

ความแตกต่างใหญ่หลวงของวิธีการรักษาที่ใช้ในโรคหนึ่งๆ เป็นหลักฐานชัดเจนถึงความไม่แน่นอนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ เรื่องข้อดีของวิธีการรักษาต่างๆ และยิ่งแนวทางปฏิบัตินั้นหยั่งรากลึก ก็อาจแปลว่ายิ่งต้องใช้เวลานานในการสะสางความไม่แน่นอนด้วยการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม การใช้คาเฟอีนในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเป็นตัวอย่างที่เห็นชัด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักหายใจไม่ปกติ และบางครั้งก็หยุดหายใจเป็นช่วงสั้นๆ อาการนี้เรียกว่าอาการหยุดหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด (Apnoea in prematurity) เกิดในทารกส่วนใหญ่ซึ่งคลอดขณะที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ ในปลายทศวรรษ 1970 มีการพิสูจน์ว่าการรักษาด้วยคาเฟอีนลดจำนวนครั้งที่เกิดอาการดังกล่าว กุมารแพทย์บางรายจึงเริ่มสั่งใช้ ถึงอย่างนั้นผลของคาเฟอีนก็ยังเป็นที่ถกเถียง […]

| 0 Comments
Book cover

การตรวจพันธุกรรม : บางครั้งมีประโยชน์ แต่หลายคราวเชื่อไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้ “การตรวจพันธุกรรม” ยังใช้เฉพาะกับโรคจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว ซึ่งมักเป็นโรคหายาก เช่น โรคกล้ามเนื้อเสื่อมแบบดูเชนน์ (Duchenne muscular dystrophy) ที่ทำให้สูญเสียกล้ามเนื้อ เกิดในเด็ก หรือโรคฮันทิงตัน (Huntington’s disease) ซึ่งเป็นความผิดปกติในระบบประสาทที่ลุกลามไปเรื่อยๆ โดยผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการในวัยกลางคน นอกจากนี้ การตรวจพันธุกรรมทั้งใช้วินิจฉัยและใช้คัดกรองคนสุขภาพปกติ ที่ประวัติครอบครัวบ่งว่ามีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้สูงกว่าคนทั่วไป เพื่อเป็น […]

| 2 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งปอด : รู้เร็ว แต่ยังไม่เร็วพอหรือเปล่า

การคัดกรองอาจวินิจฉัยโรคได้เร็ว แต่ก็ไม่เร็วพอจะเป็นประโยชน์เสมอไป (ดูภาพ) มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด แพร่กระจายในร่างกายก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการ และก่อนที่การตรวจใดๆ จะพบว่ามีมะเร็ง ความพยายามตรวจหามะเร็งปอดโดยใช้การเอกซเรย์ช่องอก (chest x-rays) เป็นตัวอย่างของปัญหานี้ (ดูระยะ B ในภาพ) ในทศวรรษ 1970 การศึกษาขนาดใหญ่หลายครั้งในผู้สูบบุหรี่จัดพบว่า แม้พบมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก : ผลเสียชัดเจน แต่ประโยชน์ไม่แน่นอน

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในชายทั่วโลก [14] แบ่งกว้างๆ เป็น 2 ชนิด ผู้ป่วยบางรายเป็นชนิดรุนแรง ซึ่งแพร่กระจายเร็ว อัตราการเสียชีวิตจึงสูง แต่ผู้ป่วยจำนวนมากก็เป็นมะเร็งชนิดโตช้า ซึ่งจะไม่ลุกลามจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพตลอดชีวิต จะดีที่สุดหากการคัดกรองวินิจฉัยพบมะเร็งชนิดอันตราย ซึ่งหวังว่าจะรักษาได้ และไม่พบมะเร็งชนิดโตช้า เพราะการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากไม่ว่าชนิดใดก็เสี่ยงให้ผลข้างเคียงเลวร้าย เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่หนักหนา ถ้าเดิมทีมะเร็งไม่ได้ก่อปัญหา […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งเต้านม : เป็นที่ยอมรับแต่ยังมีการถกเถียงกัน

เนื่องจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสี (mammography) ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ เราจึงสันนิษฐานว่าคงมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าวิธีนี้มีประโยชน์มากกว่าโทษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2010 ว่า “การคัดกรองนี้ได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา หญิงกว่า 600,000 รายเข้าร่วมในการทดลองแบบสุ่ม 10 โครงการ ในช่วง 50 ปีมานี้ แต่ละโครงการก็ติดตามพวกเธอนานร่วม 10 […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง (Abdominal aortic aneurysm) : ควรดำเนินการอย่างระมัดระวัง

การคัดกรองหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องอาจมีประโยชน์  ในกลุ่มผู้สูงวัย หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) เป็นเส้นเลือดหลักในร่างกายซึ่งเริ่มต้นจากหัวใจผ่านอกและช่องท้อง ในบางคน ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องจะอ่อนแอลงเมื่ออายุมากขึ้น เส้นเลือดจึงเริ่มขยายออก นี่คือโรคหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) ซึ่งเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ พบได้บ่อยที่สุดในเพศชายอายุ 65 ปีขึ้นไป สุดท้ายหลอดเลือดที่โป่งพองมากอาจแตกรั่วได้โดยไม่แสดงอาการ จึงมักคร่าชีวิต [8] หลักฐานว่าด้วยความถี่ในการเกิดหลอดเลือดโป่งพองในชายสูงอายุนี้ใช้สนับสนุนการเริ่มทำการคัดกรองได้ เช่น ในสหราชอาณาจักร ชาย […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองโรคฟีนิลคีโตนยูเรีย (Phenylketonuria) : มีประโยชน์ชัดเจน

เด็กเกิดใหม่จะได้รับการคัดกรองหาโรคทางพันธุกรรมที่เรียกว่า ฟีนิลคีโตนยูเรีย หรือ PKU เด็กที่เป็นโรค PKU จะไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในอาหารทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น นม เนื้อ ปลา และไข่ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ฟีนิลอะลานีนจะสะสมในกระแสเลือด เป็นผลให้สมองเสียหายร้ายแรงโดยไม่อาจแก้ไขให้กลับคืน การตรวจหาโรค PKU ทำโดยเก็บเลือด […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 1 ใหม่กว่าแล้วดีกว่าไหม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะวิธีการรักษาใหม่มีโอกาสพอๆ กันที่จะแย่กว่า หรือดีกว่าวิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่ การตรวจสอบวิธีการรักษาที่ (ไม่เที่ยงธรรม) อาจทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและเสียชีวิต วิธีการรักษาที่อนุมัติให้ใช้แล้วก็ใช่ว่าปลอดภัยเสมอไป ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าอาการข้างเคียงจากวิธีการรักษาจะปรากฏ จากวิธีการรักษามักถูกเน้นเกินจริง ขณะที่มักถูกกลบเกลื่อน ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม หากขาดการประเมินอย่างเที่ยงธรรม…คือไม่ลำเอียง…ก็อาจมีการสั่งใช้วิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลหรือกระทั่งเป็นโทษเพราะนึกว่ามีประโยชน์ หรือตรงข้าม การรักษาที่ได้ผลก็อาจถูกละเลยเพราะมองว่าไม่มีประโยชน์ จึงควรตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมกับวิธีการรักษาทุกวิธี โดยไม่ต้องสนใจว่ามันมีที่มาอย่างไร หรือเป็นวิธีมาตรฐานหรือวิธีเสริม/ทางเลือกหรือไม่ ไม่ควรเชื่อทฤษฎีเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ […]

| 0 Comments
Book cover

การตัดเต้านม

การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเต้านมมากระทั่งกลางศตวรรษที่ 20 โดยมีที่มาจากความเชื่อว่ามะเร็งค่อยๆ ลุกลามอย่างมีแบบแผน เริ่มจากแพร่กระจายจากเนื้องอกในเต้านมไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่รักแร้ จึงมีการให้เหตุผลว่ายิ่งผ่าตัดเนื้องอกแบบถอนยวงและรวดเร็วเท่าใด ก็จะยิ่งมีโอกาสหยุดการแพร่ของมะเร็งได้มากเท่านั้น วิธีการรักษาจึงเป็นการผ่าตัด “เฉพาะบริเวณ” คือผ่าตัดเต้านม หรือ บริเวณโดยรอบ แต่ถึงจะเรียกว่าเฉพาะบริเวณ การตัดเต้านมแบบถอนราก (radical mastectomy) ก็ไม่ได้ใกล้เคียงคำนี้เลย เพราะเป็นการตัดทงกล้าม […]

| 0 Comments
Book cover

แรงรบเร้ากับยาชนิดใหม่

“ลักษณะเฉพาะของยาชนิดใหม่คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วนเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิผล และผลกระทบด้านค่าใช้จ่าย อันที่จริงการสนับสนุนสิ่ง ‘ใหม่’ อย่างแข็งขันไม่ได้พบเฉพาะในหนังสือพิมพ์ แต่ยังพบบ่อยครั้งในสื่อแขนงอื่น รวมถึงในแวดวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ด้วย ‘แรงรบเร้า’ เป็นแนวคิดที่มักใช้ในการโฆษณาที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก แต่ในกรณีนี้ คำถามข้อสำคัญคือสิ่งที่เราประสบอยู่คือแรงรบเร้าจากผู้ป่วย หรือว่าเป็นโฆษณาทแทบจะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เป็นที่รู้จัก เพื่อที่ผู้ป่วย องค์กรการกุศล และที่สำคัญคือแพทย์ จะได้เรียกร้องอยากมีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้ […]

| 0 Comments
Book cover

แค่หายีนนั้นให้พบ

“เป็นที่…คาดหวังว่าการปฏิวัติทางพันธุกรรม (genetic revolution) จะแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ทุกประการ เราจะสามารถหาตำแหน่งและคัดลอกยีนที่เป็นเหตุให้เราสร้างบ้านเรือนที่ดีขึ้น ขจัดมลพิษ ยืนหยัดต้านทานมะเร็งได้ ลงทุนเพื่อสถานดูแลเด็กให้ประชาชนทุกคนได้ใช้ ตกลงกันได้เรื่องที่ตั้งและออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติ อีกไม่นานทารกทุกคนจะเกิดมาโดยมีกรรมพันธุ์ทัดเทียมกัน เช่น เราจะค้นหาและลบยีนที่ทำให้เด็กผู้หญิงสอบวัดระดับมัธยมปลายได้ดีกว่าเด็กผู้ชาย พันธุศาสตร์มีความเป็นไปได้ไร้ขีดจำกัด…ดังนั้น จริงอยู่ที่เรากำลังเข้าสู่โลกที่ไม่แน่นอน แต่ก็เป็นโลกที่มีความหวัง หากเรื่องพันธุกรรมก่อให้เกิดประเด็นร้ายแรงทางศีลธรรม เราจะแยกยีนที่แก้ปัญหานั้นจนได้” Iannucci A. The […]

| 0 Comments
Book cover

มีพิรุธ หลอกลวง ต้มตุ๋น

นักวิจัย 2 รายเขียนเรื่องเบาสมองลงในวารสารทางการแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร (British Medical Journal) ฉบับฉลองคริสต์มาส โดยอุปโลกน์บริษัทชื่อบริษัทคณิกา จำกัด (มหาชน) ซึ่งให้บริการแก่ผู้ให้ทุนทำการทดลอง ดังนี้ “เรารับรองว่าจะได้ผลเชิงบวกสำหรับผู้ผลิต ซึ่งกำลังหาทางตีตลาดด้วยยาและเครื่องมือแพทย์ที่ไม่น่าเชื่อถือสำหรับกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ซึ่งอยากให้บริการวินิจฉัยและรักษาพร่ำเพรื่อของตนเป็นที่ต้องการยิ่งขึ้น รวมถึงหน่วยงานทางการแพทย์ท้องถนและระดับชาติ ซึ่งผลักดันนโยบายด้านสุขภาพที่ไม่สมเหตุสมผลเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว…สำหรับยา ‘พ่วงท้าย’ ที่น่าเคลือบแคลง (ทีมพ่วงท้ายได้เสมอ) […]

| 0 Comments
Book cover

แพทย์กับบริษัทยา

“ไม่มีใครรู้ว่าบริษัทยาให้เงินแก่แพทย์รวมเท่าไร แต่ฉันประเมินจากรายงานประจำปีของบริษัทยาสัญชาติอเมริกันรายใหญ่ 9 อันดับแรกว่าน่าจะตกปีละหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อุตสาหกรรมยาจึงชี้นำแพทย์ในการประเมินและใช้ผลิตภัณฑ์ของตนได้ สายสัมพันธ์แน่นแฟ้นระหว่างอุตสาหกรรมกับแพทย์ โดยเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิในโรงเรียนแพทย์ชั้นแนวหน้า ส่งผลต่อผลการวิจัย เวชปฏิบัติ และกระทั่งจำกัดความว่าอะไรบ้างที่นับว่าเป็นโรค” Angell M. Drug companies & doctors: a story of corruption. […]

| 0 Comments
Book cover

ผลกระทบของยา “พ่วงท้าย” ในแคนาดา

“ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ค่าใช้จ่ายด้านยาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1996-2003 เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสิทธิบัตร ซึ่งก็แทบไม่ได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์ราคาย่อมเยากว่าที่มีใช้ ตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1990 ควรมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่พุ่งทะยานจากการใช้ยาพ่วงท้าย ซึ่งแพงระยับเมื่อเทียบกับยาอื่นที่ใช้ได้ผลมานาน วิธีกำหนดราคายาเช่นที่ใช้ในนิวซีแลนด์[1] อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายและโยกย้ายเงินจำนวนนี้ไปลงกับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น รัฐบริติชโคลัมเบียจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 350 […]

| 0 Comments
Book cover

ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะศึกษาอะไร

เห็นชัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่เข้าที แต่เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งคือประเด็นวิจัยมักถูกบิดเบือนโดยปัจจัยภายนอก [22] เช่น อุตสาหกรรมยาทำการวิจัยเพื่อสนองเป้าหมายหลัก คือเพื่อให้ลุล่วงตามภาระหน้าที่ในการทำกำไรที่มีต่อผู้ถือหุ้น ส่วนความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ป่วยและแพทย์สำคัญรองลงมา ธุรกิจถูกชักจูงด้วยตลาดขนาดใหญ่ เช่น หญิงที่สงสัยว่าควรใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ซึมเศร้า วิตก กังวล หดหู่ หรือเจ็บปวด ทว่าในช่วงทศวรรษหลังๆ แนวทางแบบเล็งผลทางการค้านี้แทบไม่ได้ทำให้เกิดวิธีการรักษาใหม่ที่สำคัญ แม้แต่ในโรค “ยอดนิยม” […]

| 2 Comments
Book cover

โจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย

นักวิจัยในบริสตอล สหราชอาณาจักร ตัดสินใจตั้งคำถามสำคัญว่า “งานวิจัยเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมตอบโจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยและแพทย์หรือไม่อย่างไร” [17] พวกเขาเริ่มจากจัดกลุ่มสนทนา 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยอายุรแพทย์โรคข้อนักกายภาพบำบัด และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กลุ่มคนเหล่านี้เห็นตรงกันว่าไม่อยากให้ทำการทดลองที่สนับสนุนโดยบริษัทยา ซึ่งเปรียบเทียบยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (กลุ่มยาที่มีไอบูโพรเฟน เป็นต้น) กับยาหลอกอีก ผู้ป่วยเห็นว่าแทนที่จะศึกษาเรื่องยา น่าจะมีการประเมินการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดอย่างมีคุณภาพ รวมถึงประเมินมาตรการให้ความรู้และรับมือกับโรค ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการเรื้องรังที่มักก่อความเจ็บปวดและอาจพิการนี้ได้เป็นผลดียิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

จริยธรรมที่ลำเอียง

“ถ้าแพทย์ลองใช้วิธีการรักษาแบบใหม่โดยตั้งใจศึกษาให้ถี่ถ้วน ประเมินผลการรักษา และตีพิมพ์ผลที่ได้ แพทย์รายนั้นกำลังทำวิจัย อาสาสมัครในงานวิจัยเหล่านี้ถูกมองว่าต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยต้องตรวจสอบโครงร่างการวิจัยกับหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมงานวิจัย (informed consent form)[1] อย่างละเอียด และอาจระงับงานวิจัยนี้ แต่หากแพทย์เชื่อว่าวิธีการรักษาใหม่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลองใช้โดยไม่คิดศึกษา จะไม่ถือเป็นการวิจัย การลองแบบนี้ไม่ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการ และการขอความยินยอมจากผู้ป่วยก็เป็นไปเพียงเพื่อไม่ให้ตนโดนผู้ป่วยฟ้องร้องความผิดพลาดทางการแพทย์ ผู้ป่วยในกรณีหลัง (ไม่ใช่งานวิจัย) จึงน่าจะเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยในกรณีแรก (เข้าร่วมในงานวิจัยอย่างเป็นกิจจะลักษณะ) นอกจากนี้ […]

| 0 Comments
Book cover

ถ้าตรวจสอบหลักฐานก่อนจะป้องกันการเสียชีวิตได้ไหม

“เหตุสลดที่เลี่ยงได้เกิดกับเอลเลน โรช อายุ 24 ปี อาสาสมัครสุขภาพดีในการศึกษาโรคหืด ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เธอเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน (ปี ค.ศ. 2001) เพราะสารเคมีที่ขอให้เธอสูดเข้าไปทำให้ปอดและไตค่อยๆ ล้มเหลว หลังจากความสูญเสียนี้จึงได้ปรากฎว่าทั้งนักวิจัยและคณะกรรมการจริยธรรมที่อนุมัติให้ทำการศึกษามองข้ามคำใบ้มากมายเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีดังกล่าว ซึ่งคือ เฮ็กซาเมโทเนียม […]

| 0 Comments
Book cover

การแพทย์แบบอิงการตลาด

“เอกสารเป็นการภายในจากอุตสาหกรรมยาบ่งบอกว่า หลักฐานที่สาธารณชนเข้าถึงได้อาจไม่แสดงถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างเที่ยงตรง อุตสาหกรรมดังกล่าวและพันธมิตรในบรรษัทสื่อสารการแพทย์กล่าวว่า การตีพิมพ์บทความทางการแพทย์เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการตลาดเป็นหลักการปกปิดและบิดเบือนผลที่เป็นเชิงลบ และการจ้างเขียน (ดูบทที่ 10 หน้า 207) กลายเป็นเครื่องมือช่วยจัดการผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ให้เหมาะแก่การขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่สุด ทั้งยังหารายได้จากโรคและแบ่งแพทย์เป็นกลุ่มการตลาด เพื่อรีดผลกำไรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงอยากชี้ว่าแม้การแพทย์แบบอิงหลักฐานจะเป็นอุดมคติสูงส่ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันคือการแพทย์แบบอิงการตลาด” Spielmans GI, Parry PI. From […]

| 1 Comment
Book cover

คำนึงถึงการตักตวงผลประโยชน์และการบิดเบือนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

จะเป็นอย่างไรหากผู้ทบทวนวรรณกรรมมีผลประโยชน์อื่นซึ่งอาจกระทบการดำเนินงานหรือการแปลผล โดยอาจได้รับเงินจากบริษัทผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ที่ตรวจสอบอยู่  เมื่อประเมินหลักฐานเรื่องผลจากน้ำมันอีฟนิงพริมโรสต่อผื่นผิวหนังอักเสบผู้ทบทวนวรรณกรรมซึ่งเกี่ยวพันกับผู้ผลิตยาได้ข้อสรุปว่าน้ำมันนี้น่าประทับใจกว่าที่ผู้ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าสรุป (ดูบทที่ 2) แต่การทบทวนที่ลำเอียงไม่ได้เกิดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดได้จากอคติของทุกคน ทั้งนักวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและผู้ป่วย น่าผิดหวังที่บางครั้งผู้ตักตวงผลประโยชน์ ใช้ความลำเอียงปรับวิธีการรักษาให้ดูดีกว่าที่เป็นจริง. (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 10)[8] ซึ่งเกิดเมื่อนักวิจัยบางส่วนจงใจเพิกเฉยหลักฐานที่มี โดยมักเป็นเพราะเหตุผลทางการค้า แต่บ้างก็ด้วยเหตุอื่น พวกเขาออกแบบ วิเคราะห์และรายงานผลจากงานวิจัย โดยตกแต่งผลเกี่ยวกับวิธีการรักษาหนึ่งๆ ให้เป็นด้านบวก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษ […]

| 2 Comments
Book cover

โครงการใบเหลือง

โครงการใบเหลืองเปิดตัวในสหราชอาณาจักรเมื่อปี ค.ศ. 1964 หลังเหตุสลดจากทาลิโดไมด์ เน้นความสำคัญของการตามสังเกตปัญหาที่เกิดหลังยาได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย มีการส่งรายงานไปยังองค์การควบคุมยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งทำการวิเคราะห์ผล ในแต่ละปีองค์การนี้ได้รับรายงานอาการที่น่าจะเป็นอาการข้างเคียงมากกว่า 20,000 กรณี ในช่วงแรกมีเพียงแพทย์ที่ยื่นรายงานได้ จากนั้นจึงสนับสนุนให้พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ทันตแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และนักทัศนมาตรศาสตร์ ยื่นรายงานได้เช่นกัน และตั้งแต่ปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

เห็นในสิ่งที่เชื่อ

ริชาร์ด แอชเชอร์ แพทย์ชาวสหราชอาณาจักร ตั้งข้อสังเกตใน บทความถึงแพทย์ที่เขาเขียนว่า “ถ้าคุณเชื่อมั่นวิธีการรักษาที่ใช้ ต่อให้การตรวจสอบแบบมีกลุ่มควบคุมแสดงว่าวิธีดังกล่าวแทบไม่มีประโยชน์ คุณก็จะยังได้ผลการรักษาดีกว่า ผู้ป่วยจะอาการดีกว่า และรายได้ของคุณก็จะงามกว่าเช่นกัน ผมคิดว่าความเชื่อคือเหตุให้เพื่อนร่วมวิชาชีพบางคนประสบความสำเร็จท่วมท้นทั้งที่ด้อยความสามารถและหูเบา ทั้งยังเป็นเหตุให้แพทย์ผู้ทันยุคและประสบความสำเร็จตั้งแง่กับสถิติและการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม” Asher R. Talking sense (Lettsomian lecture, 16 Feb, […]

| 0 Comments
Book cover

เข้าใจผิดว่าอะไรคือสิ่งที่รักษา

“เขายืนกรานกันว่ามีหลักฐานว่ายาสูบแก้โรคน้ำหนีบได้ในนักดำน้ำและผู้คนมากหลาย ทั้งยังมิเป็นอันตรายต่อผู้ใด ความเห็นดังนี้ นอกจากจะสำคัญผิดใหญ่หลวง ยังหาสาระมิได้ ผู้ป่วยใช้ยาสูบยาม อาการทรุดหนัก กาลต่อมาความป่วยไข้ก็บรรเทาลงตามธรรมชาติ ผู้นั้นจึงหายดี จึงเห็นว่าเช่นนั้นแล้ว เป็นยาสูบแน่ที่สร้างปาฏิหาริย์” James Stuart, King of Great Britaine, France and Ireland. […]

| 0 Comments
Book cover

การเกิดและตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับผลเสียที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา

การเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพหรือผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มเฉลียวใจเรื่องผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา ทั้งที่ร้ายและดี [10] เนื่องจากการตรวจสอบวิธีการรักษาซึ่งต้องใช้เพื่อขออนุญาตวางจำหน่าย ทำกับคนเพียงไม่กี่ร้อย หรือไม่กี่พันคน และให้วิธีการรักษานานไม่กี่เดือน ในขั้นนี้จึงมักพบ เพียงผลข้างเคียงระยะสั้นและผลข้างเคียงที่พบบ่อย ต้องรอจนมีการใช้วิธีการรักษาดังกล่าวกันแพร่หลายขึ้น เป็นระยะเวลานานขึ้นและในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายกว่าที่เข้าร่วมในการตรวจสอบเพื่อขออนุญาต จึงจะพบผลข้างเคียงที่พบได้ยาก หรือที่ใช้เวลากว่าจะแสดงออก ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก […]

| 2 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่เห็นผลเด่นชัด

บางครั้งผู้ป่วยก็ตอบสนองต่อวิธีการรักษาต่างจากที่เคยตอบสนองในอดีต และจากธรรมชาติของโรคนั้นๆ อย่างเด่นชัดจนชี้ขาดผลการรักษา ได้โดยไม่ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วน (ดูบทที่ 5) [3] ในผู้ป่วยโรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) การแทงเข็มเข้าในช่องอกเพื่อระบายอากาศที่คั่งค้างออกทำให้อาการดีขึ้นทันตาเห็น ประโยชน์ของวิธีการรักษานี้จึงชัดเจน ตัวอย่างอื่นๆ ของผลที่เด่นชัด ได้แก่ มอร์ฟีนระงับปวด อินซูลินแก้ภาวะโคม่าเนื่องจากเบาหวาน และข้อสะโพกเทียมรักษาอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบ เป็นต้น ผลเสียจากการรักษาก็อาจเด่นชัด เช่นกัน […]

| 2 Comments
Book cover

ความจำเป็นที่ต้องใช้มากกว่าความรู้สึก

แค่ผู้ป่วยเชื่อว่าสิ่งนั้นๆ ช่วยพวกเขาก็น่าจะเพียงพอ เหตุใดต้องหาเรื่องยุ่งยากสิ้นเปลืองทำงานวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หรือหาทางพิสูจน์ว่าวิธีการรักษาดังกล่าวช่วยผู้ป่วยหรือไม่ และหากช่วยได้มันช่วยอย่างไร มีเหตุผลอย่างน้อย 2 ข้อ ข้อหนึ่งคือวิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลอาจเบนความสนใจเราจากวิธีการรักษาที่ได้ผลจริง อีกเหตุผลคือวิธีการรักษาหลายวิธี (หรือกระทั่งส่วนใหญ่) มีผลข้างเคียงบ้างระยะสั้น บ้างระยะยาว และบ้างยังไม่รู้ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวก็อาจรอดพ้นจากผลเสีย จึงเป็นประโยชน์หากแยกแยะได้ว่าวิธีการรักษาใดไม่น่าจะได้ผลดี หรืออาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ งานวิจัยยังอาจค้นพบข้อมูลสำคัญว่าวิธีการรักษาต่างๆ ทำงานอย่างไร รวมถึงค้นหาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีที่ดีขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

ประโยชน์ของการมองโลกแง่ดีและความคาดหวัง

ปัจจุบันเราเข้าใจชัดขึ้นเกี่ยวกับเหตุผลด้านจิตวิทยาที่ทำให้คนเราโยงว่าอาการของตนกระเตื้องขึ้นเพราะวิธีการรักษาที่ได้รับ ทุกคนมักจะทึกทักว่าถ้าสองเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน เหตุการณ์แรกอาจเป็น เหตุให้เกิดเหตุการณ์ที่สอง เราจะเริ่มพบแบบแผนซึ่งไม่มีอยู่จริง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยในหลากหลายสาขา เช่น การโยนเหรียญ ราคาหุ้น และการโยนลูกบาสเกตบอลลงห่วง ทั้งยังมีแนวโน้มจะมีปัญหาที่เรียกว่าความลำเอียงเพื่อยืนยันความคิดตัวเอง (confirmation bias) คือเราจะมองเห็นแต่สิ่งที่คิดว่าจะเห็น หรือ “เห็นในสิ่งที่เชื่อ” การพบสิ่งที่ยืนยันความเชื่อจะเสริมความมั่นใจว่าเราคิดถูก ตรงกันข้าม เราอาจไม่รับรู้ หรือไม่ยอมรับข้อมูลที่ขัดกับความคิดของเรา […]

| 2 Comments
Book cover

ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

ธรรมชาติคือผู้เยียวยา ปัญหาสุขภาพหลายอย่างมีแนวโน้มจะทรุดลงหากไม่ได้รับการรักษา ซ้ำบ้างยังทรุดลงแม้รักษาแล้ว ทว่าบ้างก็ทุเลาได้เอง คือ “รักษาตัวเองได้” ดังที่นักวิจัยผู้มีส่วนในการตรวจสอบวิธีการรักษาที่เสนอให้ใช้กับไข้หวัดกล่าวว่า “หากรักษาอย่างแข็งขันไข้หวัดจะหายใน 7 วัน แต่ถ้าปล่อยไว้อย่างนั้นจะหายใน 1 สัปดาห์” [1] ถ้าจะให้เจ็บแสบกว่านั้น “ธรรมชาติรักษาแต่แพทย์เก็บค่ารักษา” และอันที่จริงการรักษาอาจยิ่งเป็นการซ้ำเติม เนื่องจากคนเรามักหายป่วยได้โดยไม่ต้องรักษา เมื่อตรวจสอบวิธีการรักษาจึงต้องคำนึงถึงวงจร “ธรรมชาติ” […]

| 2 Comments
Book cover

การแก้ไขความไม่แน่นอนคือความเป็นมืออาชีพ

“หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเป็นมืออาชีพ…ควรเป็นความสามารถในการระบุและแก้ไขความไม่แน่นอนทางการแพทย์ ทุกวันผู้ประกอบวิชาชีพต้องเผชิญหน้าและรับมือกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสาเหตุของโรค การวินิจฉัย และวิธีการรักษา แต่ความไม่แน่นอน เหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผย ผู้ประกอบวิชาชีพบาง รายยังลำบากใจหากต้องยอมรับว่ามีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะในการดูแลผู้ป่วย ความไม่แน่นอนเป็นตัวกระตุ้นชั้นยอดให้มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้คน ซึ่งเป็นแก่นของภารกิจของสภาวิจัยการแพทย์ในอนาคต การที่ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพพิจารณาผลการวิจัยซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในสาขาของตนจะยิ่งทวีความสำคัญ เพื่อจะได้ตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอนเรื่องใด และมีงานวิจัยอะไรบ้างที่ดำเนินการอยู่ หรือต้องทำเพื่อแก้ไขความไม่แน่นอนเหล่านี้ โดยสรุป ในอนาคตเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ การตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยควรเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมืออาชีพ […]

| 0 Comments
Book cover

เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน : เรื่องคอขาดบาดตาย

“การไม่เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของผลการรักษา อาจทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตมหาศาลทั้งที่เลี่ยงได้ ถ้าก่อนนำไดอะซีแพม (diazepam) และเฟนิโทอิน (phenytoin) มาใช้กันชักในภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการชักร่วมด้วย (eclampsia) มีการเปรียบเทียบกับแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulphate) ซึ่งใช้กันมาหลายสิบปี คงลดจำนวนหญิงที่ต้องทรมานและเสียชีวิตได้หลายแสนคน เช่นเดียวกัน ถ้ามีการประเมินผลของสเตียรอยด์ชนิดให้เข้าในร่างกายในภาวะสมองบาดเจ็บก่อนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คงเลี่ยงการเสียชีวิตอันไม่สมควรได้หลายหมื่นราย นี่เป็นเพียง 2 กรณีจากกรณีตัวอย่าง มากมายที่แสดงว่า […]

| 0 Comments
Book cover

ความก้าวหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ได้เป็นข่าวใหญ่

“ข่าวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ข่าวที่ขายได้ ลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์เหมาะจะเป็น ‘รายงานพิเศษในเล่ม’ เพราะปกติวิทยาศาสตร์ไม่ได้พัฒนาเนื่องจากจู่ๆ ก็มีการค้นพบครั้งประวัติการณ์ แต่พัฒนาเพราะหัวข้อและทฤษฎีต่างๆ ค่อยๆ ปรากฏ ชัด โดยใช้หลักฐานอ้างอิงจำนวนมหาศาลจากหลากหลายหลักการมาอธิบายในหลากหลายระดับ แต่สื่อยังคงยึดติดอยู่แต่กับ ‘การค้นพบครั้งประวัติการณ์’” Goldacre B. Bad Science. London: Fourth Estate, 2008, […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อแพทย์เห็นไม่ตรงกัน

ในหลายๆ โรคและหลายๆ อาการ ยังไม่แน่นอนนักว่าวิธีการรักษาใดได้ผลมากน้อยเพียงใด และวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น แต่แพทย์กลับไม่ลดการมองวิธีการรักษาต่างๆ แบบสุดโต่งลงเลย ทั้งที่ความเห็นของแพทย์แต่ละรายอาจแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิธีการรักษาที่ใช้ในอาการนั้นๆ ต่างกันโดยสิ้นเชิง ในทศวรรษที่ 1990 เอียน ชาลเมอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียน ข้อเท้าหักขณะพักผ่อนอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้รับการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ซึ่งดามขาข้างนั้นไว้ชั่วคราวและบอกว่า หลังจากหายบวมจะมีการใส่เฝือกแข็งตั้งแต่เข่าลงมานาน 6 […]

| 2 Comments
Book cover

ผลการรักษาระดับปานกลาง : พบบ่อยและไม่เด่นชัด

วิธีการรักษาส่วนใหญ่มักให้ผลไม่เด่นชัด จึงต้องมีการตรวจสอบ อย่างเที่ยงธรรมเพื่อประเมินวิธีเหล่านี้ และบางครั้งวิธีหนึ่งๆ อาจให้ผลเด่น ชัดในบางกรณีเท่านั้น แม้วิตามินบี 12 จะรักษา โรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 หายขาดได้แน่นอน (ดูข้างต้น) แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันจนทุกวันนี้ว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทุก 3 เดือน หรือว่าบ่อยกว่านั้น การจะตอบคำถามดังกล่าวได้ ต้องมีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ โดยควบคุมอย่างรัดกุม ขณะที่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกขจัดความเจ็บปวดได้เป็นปลิดทิ้ง […]

| 3 Comments
Book cover

ผลการรักษาที่เด่นชัด : หาได้ยาก แต่สังเกตได้ง่าย

น้อยครั้งที่มีหลักฐานว่าวิธีการรักษานั้นได้ผลชัดแจ้งจนไร้ข้อกังขา [2]. ในกรณีเช่นนี้ การรักษามักเห็นผลทันทีและเด่นชัด เช่น กรณีโรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะที่เรียกกันว่าหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (ventricular fibrillation) ซึ่งจังหวะหดตัวกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง (ventricle) เกิดปั่นป่วน นี่เป็น ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะอาจคร่าชีวิตภายในไม่กี่นาที จึงมีการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากเครื่องที่หน้าอกในการ  “กระตุก”  หัวใจ  เพื่อให้จังหวะกลับเป็นปกติ ซึ่งหากสำเร็จจะเห็นผลในพริบตา […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 5 ทำอย่างไรเมื่อผลการรักษาไม่แน่นอน

ประเด็นสำคัญ น้อยครั้งที่พบจาก เรื่องผลของพบได้ดาษดื่น เป็นเรื่องปกติที่ผลของวิธีการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย การตรวจจับความแตกต่างนี้ได้ถูกต้องจึงมีความสำคัญ ต้องดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดความไม่แน่นอน หากไม่มีใครรู้ชัดในประเด็นสำคัญเรื่องผลของวิธีการรักษาหนึ่งๆ การช่วยให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการลดความไม่แน่นอนเรื่องผลของวิธีการรักษาต่างๆ ทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกมาก ในบทนเราจะกล่าวถึงความไม่แน่นอนในแทบทุกผลทกล่าวอ้างของ วิธีการรักษาทั้งใหม่และเก่า เช่น อาจมีผู้กังขาเรื่องการให้ออกซิเจนเสริมใน ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีประโยชน์ แต่มีหลักฐานว่าเป็นอันตราย ความไม่แน่นอนนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง เหมาะสม [1] […]

| 1 Comment
Book cover

ปาหี่การคัดกรอง

ในปี ค.ศ. 2009 อาจารย์ด้านประสาทวิทยาเพิ่งเกษียณผู้สนใจ เรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมายาวนานทราบว่าเพื่อนบ้านได้รับใบปลิวจากบริษัทที่ให้การคัดกรองด้านระบบหลอดเลือด เชิญชวนให้พวกเขาไปโบสถ์ในแถบนั้น (และจ่ายเงิน 152 ปอนด์ หรือราว 7,000 บาท) เพื่อรับการตรวจโรคหลอดเลือดสมองกับอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทางหัวใจและหลอดเลือด ด้วยความอยากรู้ และที่สำคัญ คือ เพราะข้อมูลในใบปลิวดังกล่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง อาจารย์จึงตัดสินใจไปด้วย “การตรวจแรกเป็นการคัดกรองหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

| 0 Comments
Book cover

อย่าเล่นพนันกับพันธุกรรม

“การลงมือโดยมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมเพียงตำแหน่งเดียว (หรือแม้แต่ 2-3 ตำแหน่ง) ก็ไม่ต่างจากเล่นโป๊กเกอร์ โดยทุ่มเงินพนันหมดหน้าตัก ทั้งที่เพิ่งเห็นไพ่เพียงใบเดียว คุณไม่รู้ ว่าองค์ประกอบด้านพันธุกรรมจั่วอะไรมาให้คุณ รวมทั้งไม่รู้ว่าสิ่งแวดล้อมจะมีผลอย่างไร นอกจากนั้น แทนที่จะเป็นไพ่ 5 ใบ คุณมียีนถึงกว่า 20,000 ยีน และปัจจัยแวดล้อมอีกหลายพันประการ ผลของยีนอาจถูกหักล้างด้วยผลจากวิถีชีวิต ประวัติครอบครัว […]

| 0 Comments
Book cover

โฆษณาการคัดกรอง

“การโฆษณาการคัดกรองเป็นเรื่องง่าย แค่กระตุ้นความกลัวด้วยการประโคมความเสี่ยงจนเกินจริง ให้ความหวังด้วยการอวดอ้างแต่ประโยชน์ และไม่เอ่ยถึงผลเสียของการคัดกรอง ถ้าเป็นโรคมะเร็งจะง่ายเป็นพิเศษ เพราะเป็นโรคร้ายแรงที่สุด และเราก็รู้คาถาสะกดจิตกันดีว่า การตรวจพบแต่เนิ่นๆ คือการป้องกันที่ดีที่สุด คนที่สงสัยจะถูกหาว่าเพี้ยน ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปี คุณต้องนัดตรวจเต้านมโดย การถ่ายภาพรังสี เว้นแต่คุณจะยังไม่เห็นว่าการตรวจสำคัญ ในกรณีนี้ คุณต้องตรวจอย่างอื่นด้วยนอกจากเต้านม’ จากโปสเตอร์ในอดีตของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American […]

| 0 Comments
Book cover

ผู้ค้นพบ PSA เปิดอก

“ความนิยมในการตรวจนี้ก่อให้เกิดหายนะซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงลิ่วในการสาธารณสุข นี่เป็นเรื่องที่ผมชินชา ผมค้นพบ PSA ในปี ค.ศ. 1970… ชาวอเมริกันใช้เงินก้อนมหึมาเพื่อตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก การคัดกรอง PSA ใช้เงินอย่างต่ำ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยส่วนใหญ่เมดิแคร์ (Medicare)[1] และองค์การทหารผ่านศึกเป็นผู้จ่าย มะเร็งต่อมลูกหมากอาจเป็นกระแสในสื่อ แต่ถ้าว่ากันด้วยจำนวน ตลอดชีวิตชายชาวอเมริกันมีโอกาสถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากร้อยละ […]

| 0 Comments
Book cover

การวินิจฉัยเกินในมะเร็งต่อมลูกหมาก

“มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นตัวอย่างชั้นยอดของการวินิจฉัยเกิน ประเด็นนี้ไม่ได้หมายความว่าการวินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากรอดชีวิตเลย แต่…เราแทบไม่อาจรู้ล่วงหน้าว่าชายคนไหนจะได้ประโยชน์จากการคัดกรอง และคนไหนจะได้รับการรักษาโดยไม่จำเป็นซึ่งมักมีผลเสียรุนแรง ปัญหาหลัก คือ การคัดกรองและตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากทำให้เราตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าสมัยก่อน และน่าแปลกที่มะเร็งจำนวนมากนี้จะไม่มีทางเป็นอันตรายต่อชีวิต ในอดีต ชายกลุ่มนี้ไม่มีทางรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และจะเสียชีวิตเพราะสาเหตุอื่น ขณะที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ไม่ใช่เสียชีวิตเพราะมะเร็ง การตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดโตช้าทำให้มีผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ต่อมลูกหมากมากกว่าที่เคยมี จึงเรียกว่า ‘วินิจฉัยเกิน’ สิ่งนี้เป็นภาวะหนีเสือปะจระเข้ ซึ่งชายที่คิดเข้ารับการตรวจต้องเผชิญ” […]

| 0 Comments
Book cover

อย่าทึกทักว่าตรวจพบเร็วแล้วจะดี

‘“การคัดกรองนิวโรบลาสมาเป็นตัวอย่างว่าเราอาจพลาดท่าง่ายๆ โดยทึกทักว่าการคัดกรองเป็นประโยชน์แน่ เพราะวินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ…การศึกษา 2 เรื่องนี้แสดงว่าการคัดกรองนิวโรบลาสโตมาไม่ได้แค่ไร้ประโยชน์ แต่ยังทำให้เกิด ‘การวินิจฉัยเกิน’ เนื่องจากจะตรวจพบเนื้องอกที่ฝ่อได้เองด้วย ทั้ง 2 การศึกษากล่าวถึงเรื่องที่เด็กกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองต้องทุกข์ทรมานจากอาการแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา…หวังว่าเราจะได้เรื่องนี้เป็นบทเรียนเมื่อมีการพิจารณาดำเนินโครงการคัดกรองอื่นๆ เช่น การคัด   กรองมะเร็งต่อมลูกหมาก” Morris JK. Screening for neuroblastoma in […]

| 0 Comments
Book cover

มีใครปกติบ้างไหม

การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT) ทั้งร่างกาย การตรวจ CT ทั้งร่างกายเป็นหนึ่งในการตรวจที่คลินิกเอกชนเสนอให้ทำ เพื่อดูศีรษะ คอ อก ช่องท้อง และเชิงกราน มีการเชิญชวนประชาชนโดยตรง และมักทำโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาล มักมีการประชาสัมพันธ์การตรวจทั้งร่างกายว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้รู้ทันโรคที่อาจเกิดด้วยแนวคิดว่าถ้าผล “ปกติ” ก็แปลว่าอุ่นใจได้ การตรวจนี้มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งยังไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมในผู้ที่ไม่มีอาการหรืออาการแสดงของโรค ยิ่งกว่านั้น ปริมาณรังสีที่ผู้รับการตรวจสัมผัสยังสูงถึง 400 […]

| 0 Comments
Book cover

คัดกรองเพื่ออะไรและทำไมหลักฐานจึงสำคัญ

ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมา แสดงให้เห็นว่าก่อนผลีผลามทำการคัดกรองในวงกว้าง เราควรไตร่ตรองถึงองค์ประกอบหลัก และหวนระลึกถึงเป้าหมายของโครงการคัดกรอง คนที่มีสิทธิ์เข้ารับการคัดกรองไม่เคยมี…หรือไม่เคย รู้ตัวถึง…อาการ หรืออาการแสดง ซึ่งบ่งว่าเป็นโรคที่ตรวจหา ทั้งยังไม่ได้หาทางรักษาโรคดังกล่าว การคัดกรองประชากรบางราย หรือบางกลุ่มจึงเป็นไปเพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตที่อาการหนึ่งๆ จะทำให้เสียชีวิต หรือเจ็บป่วยโดยเสนอให้การตรวจเพื่อค้นหาคนที่อาจได้ประโยชน์จากการรักษา [1, 21] การคัดกรองไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้วินิจฉัยโรคได้แต่เนิ่นๆ ซึ่งอาจไม่ช่วยใครเลย ซ้ำยังอาจเกิดผลเสียได้ ในรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี ค.ศ. […]

| 3 Comments
Book cover

บทเรียนจากการคัดกรองโรคนิวโรบลาสโตมา (neuroblastoma)

ประสบการณ์จากการคัดกรองนิวโรบลาสโตมา มะเร็งหายากซึ่งเกิดในเด็กเล็กเป็นหลัก ให้บทเรียนในหลายแง่มุม เนื้องอกชนิดนเกิดที่เซลล์ประสาทในอวัยวะต่างๆ อัตราการรอดชีวิตของเด็กที่ป่วยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อวัยวะที่เกิดโรค เนื้องอกแพร่กระจายเพียงใดเมื่อตรวจพบ รวมทั้งอายุเด็ก เด็กที่ตรวจพบเมื่ออายุ 1-4 ขวบ ร้อยละ 55 จะรอดชีวิต ได้นานเกิน 5 ปีนับแต่พบมะเร็ง [3] โรคนี้มีคุณสมบัติประหลาดข้อหนึ่งคือ […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 4 ลงมือก่อนอาจไม่ดีกว่า

ประเด็นสำคัญ ได้แต่เนิ่นๆ ไม่ได้ทำให้ดีกว่าเสมอไป เพราะบ้างก็ทำให้แย่ลง โครงการควรเริ่มทำโดยมีหลักฐานเรื่องผลที่แน่ชัด การไม่ดำเนินโครงการคัดกรองเลยอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ผู้ที่ได้รับการเชิญชวนให้เข้ารับการคัดกรองต้องได้ข้อมูลรอบด้าน มักมีการอวดอ้างประโยชน์ของการคัดกรองจนเกินจริง อันตรายของการคัดกรองมักถูกกลบเกลื่อนหรือละเลย จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่ดีเกี่ยวกับประโยชน์ อันตราย และความเสี่ยงจากการคัดกรอง ใน 3 บทแรก ผู้เขียนแสดงให้เห็นแล้วว่าเหตุใดวิธีการรักษาที่ไม่ได้ตรวจสอบอย่างเหมาะสมจึงอาจก่อผลเสียใหญ่หลวง ในบทนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการคัดกรองเพื่อหาอาการแสดงแรกเริ่มของโรค การคัดกรองดูเหมือนมีเหตุผลรองรับหนักแน่น อีกทั้งน่าจะเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการป้องกันโรคร้ายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แต่การคัดกรองซึ่งเป็นประโยชน์ในหลายๆ […]

| 2 Comments
Book cover

ความยากลำบากในการได้หลักฐานที่ไม่มีอคติ

นักวิจัยเคยคาดไว้ว่าจะใช้เวลาราว 3 ปีเชิญหญิง 1,000 คนเข้าร่วมในการศึกษา 2 โครงการ แต่กลับใช้เวลาถึง 7 ปี…ซึ่งไม่น่าแปลกใจ…ผู้ป่วยในการทดลองต้องเซ็นใบยินยอมเข้าร่วมการวิจัย ซึ่งใบ ยินยอมจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์โรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งระบุว่ายังไม่มีหลักฐานว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกให้ผลดีกว่าวิธีการรักษามาตรฐาน ก่อนจะเข้าร่วมการทดลองผู้ป่วยต้องยอมรับความจริงเหล่านี้ ซึ่งไม่ง่ายเลย แต่ถ้าผู้ป่วยเลือกรับการปลูกถ่าย ไขกระดูกนอกการทดลองแบบสุ่มซึ่งมีกลุ่มควบคุม แพทย์ผู้กระตือรือร้นอาจบอกผู้ป่วยว่าการปลูกถ่ายไขกระดูกช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ แม้ผู้ป่วยจะมีสิทธิ์รู้ความจริง แต่ก็ไม่แปลกหากพวกเธออยากไปหาแพทย์ที่ให้ความหวัง […]

| 0 Comments
Book cover

การตัดเต้านมแบบถอนรากแบบดั้งเดิม (halsted)

การตัดเต้านมแบบถอนรากคิดค้นโดยวิลเลียม ฮาลสเต็ด เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 เป็นการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมที่ทำกันมากที่สุดจนช่วงปี ค.ศ. 1975 ศัลยแพทย์จะตัดกล้ามเนื้อหน้าอกด้านนอก (pectoralis major) ซึ่งคลุมผนังช่องอกพร้อมกับเต้านมทั้งหมด กล้ามเนื้อหน้าอกด้านในติดกับสะบักและซี่โครง (pectoralis minor) ซึ่งมัดเล็กกว่าก็ถูกตัด เพื่อให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดส่วนรักแร้ (axilla) ได้ง่ายขึ้น    เพื่อเลาะต่อมน้ำเหลืองและไขมันโดยรอบออก การตัดเต้านมแบบถอนรากร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลือง […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่รุนแรงไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป

“คนที่รักษามะเร็งอย่างเรามักคิดว่า การรักษาที่รุนแรงย่อมให้ผลดีกว่า การทดลองแบบสุ่มที่เปรียบเทียบวิธีการรักษาแบบรุนแรงกับ แบบรุนแรงน้อยกว่า จึงมีความสำคัญในการปกป้องผู้ป่วยจากความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น รวมถึงผลข้างเคียงทั้งระยะสั้นและยาวจากวิธีการ รักษาที่ทารุณเกินเหตุ การศึกษาเปรียบเทียบแบบนี้ไม่ผิดจริยธรรม เพราะคนที่เสียโอกาสได้ผลดีจะไม่ต้องเสี่ยงอันตรายโดยไม่จำเป็นเช่นกัน อีกทั้งไม่มีใครรู้ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร” Brewin T in Rees G, ed. The friendly professional: selected […]

| 0 Comments
Book cover

เราทำอย่างนั้นเพราะ…

“เรา (แพทย์) ทำโน่นนี่ เพราะแพทย์คนอื่นก็ทำกัน เราไม่อยากแปลกแยกจึงทำตาม หรือเป็นเพราะเราถูก (ครู แพทย์ประจำบ้าน ต่อยอดแพทย์ประจำบ้าน [แพทย์ที่กำลังเรียนต่อเฉพาะทาง]) สอนมาอย่างนั้น หรือเกิดจากเราโดน (ครู ผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มคนที่จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ) บังคับ หรือเพราะผู้ป่วยต้องการเลยคิดว่าต้องทำอย่างนั้น หรือเพราะได้ผลตอบแทนมากกว่า (จากการตรวจร่างกายโดยไม่จำเป็น […]

| 0 Comments
Book cover

กล้าคิดที่จะทำน้อยกว่า

ข้อสรุปคือมากกว่าไม่ได้ดีกว่าเสมอไป นี่ยังคงเป็นสาระสำคัญปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม (แพร่ไปบริเวณอื่น) กระตือรือร้น ที่จะได้รับการรักษาด้วยเฮอเซปติน. (ดูด้านบนและบทที่ 1) แต่อย่างมากเฮอเซปตินก็แค่เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีชีวิตยืนยาวขึ้นเล็กน้อย บางครั้งแค่เป็นวัน หรือสัปดาห์ โดยต้องแลกกับผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือกระทั่งเสียชีวิตในบางราย [12,13] ส่วนมะเร็งเต้านมในระยะอื่นๆ ก็มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะเกิดการรักษาเกินจำเป็น เช่น ในหญิงที่มีภาวะก่อนมะเร็ง เช่น มะเร็งในท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม […]

| 1 Comment
Book cover

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation)

แต่การลดจำนวนการผ่าตัดอวัยวะ ออกทั้งหมดก็ยังไม่ใช่การปิดฉากแนวคิด “ยิ่งมากยิ่งดี” ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการใช้แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ด้วยยาเคมีบำบัดปริมาณมาก ตามด้วย การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ “การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์” (stem cell rescue) รายงานในนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) ในปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษามะเร็งเต้านมแบบรุนแรง

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีที่มีการรณรงค์ตามที่เห็นบ่อยๆ ในข่าวเป็นบทเรียนที่ดีมากในเรื่องอันตรายจากการทึกทักว่า ยิ่งใช้วิธีการรักษาแบบรุนแรงจะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแน่นอน ตลอดช่วงศตรวรรษที่ 20 จนย่างสู่ 21 หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม้องการและต้องทนรับการรักษาที่ทารุณและทรมานเกินควรทั้งการผ่าตัด และยาในปริมาณมากเกินความจำเป็น แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด ในผู้ป่วยและแพทย์บางราย ผู้ป่วยโดนกล่อมว่ายิ่งการรักษารุนแรงและเป็นพิษมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาส “พิชิต” โรคได้มากเท่านั้น มีแพทย์และผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่เตรียมการโต้แย้งความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับวิธีการรักษา แต่ก็ ใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มเปลี่ยนกระแสความเชื่อผิดๆ นี้ได้ พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องสร้างหลักฐานที่เชื่อถือได้ […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 3 มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป

ประเด็นสำคัญ ที่รุนแรงกว่าอาจไม่มีประโยชน์ทั้งยังมีโทษมากกว่าในบางกรณี ความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยคือ หากวิธีการรักษานั้นดี ยิ่งใช้มากก็ยิ่งดี ซึ่งไม่จริงเลย ยิ่งใช้มากอาจยิ่งแย่ด้วยซ้ำ การหาปริมาณที่ “เหมาะสม” ซึ่งให้ประโยชน์สูงและมีผลเสีย (ผลข้างเคียง) ต่ำนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับวิธีการรักษาทุกวิธี เมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นไปถึงระดับหนึ่งที่ได้จะไม่เพิ่มตามไปด้วย แต่มักเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้น “ยิ่งมาก” อาจลดประโยชน์ที่ได้รับจริงๆ หรือโดยรวมมีผลร้ายด้วยซ้ำ ยาขับปัสสาวะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน […]

| 2 Comments
Book cover

ไม่แปลกที่เธอสับสน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 ผู้ป่วยที่ผ่านการตัดมดลูกเขียนจดหมายหา เดอะแลนเซ็ต (The Lancet)[1] ว่า “เมื่อปี ค.ศ. 1986 ฉันต้องตัดมดลูกเนื่องจากมีเนื้องอกศัลยแพทย์ตัดรังไข่ออกด้วย รวมทั้งพบว่าฉันมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนกะทันหัน ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอายุเพียง 45 ปี ฉันจึงได้รับการรักษาด้วย […]

| 0 Comments
Book cover

น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ (Evening Primrose Oil for Eczema)

แม้การขาดการประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่ได้คร่าชีวิต หรือเกิดอันตราย แต่ก็ทำให้เสียเงินเปล่า ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นปัญหาผิวหนังที่ สร้างความรำคาญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รอยโรคที่ผิวหนังทั้งไม่น่ามองและคันคะเยอ แม้การใช้ครีมสเตียรอยด์จะช่วยได้ แต่ก็ต้องห่วงเรื่องผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ตอนต้นทศวรรษ 1980 มีสารสกัดธรรมชาติของน้ำมันที่ได้จากพืชคือ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ที่เปิด ตัวในฐานะทางเลือกหนี่งที่ได้ผลโดยมีผลข้างเคียงน้อย [11] น้ำมันอีฟนิงพริมโรสประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นเรียกว่ากรดแกมมาไลโนเลนิก (gamma-linolenic acid […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy)

ในหญิงวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนได้ผลมากในการลดอาการร้อนวูบวาบทรมานที่มักเป็นกัน หลักฐานบางชิ้น ยังบอกว่าวิธีนี้อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย คำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์ต่างๆ ของฮอร์โมนทดแทนค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงการ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง หญิงหลายล้านคนเริ่มใช้ฮอร์โมนเป็นเวลายาวนานขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะคำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์เหล่านี้และประโยชน์อื่นๆ อีกมาก ทว่าที่มาของคำกล่าวอ้างนี้กลับเชื่อถือไม่ค่อยได้ ว่ากันเฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กว่า 20 ปีที่ผู้หญิงได้รับการบอกเล่าว่า ฮอร์โมนทดแทนจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร้ายแรงนี้ อันที่จริงคำแนะนำนี้ได้มาจากผลของการศึกษาที่ไม่เที่ยงธรรม […]

| 0 Comments
Book cover

ไดเอทิลสติลเบสทรอล (Diethylstillbestrol หรือ DES)

นานมาแล้วแพทย์ไม่แน่ใจว่าหญิงมีครรภ์ซึ่งเคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ ควรได้เอสโตรเจน[ช]สังเคราะห์ (ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ) ที่เรียก ว่า DES เสริมหรือไม่ จึงมีแพทย์เพียงบางรายสั่งยานี้ DES เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เพราะความคิดที่ว่ามันช่วยแก้อาการที่รกทำงานผิดปกติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา กลุ่มที่ใช้ยามั่นใจขึ้นด้วยรายงานจากประสบการณ์ของหญิงที่เคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่คลอดทารกปลอดภัยหลังใช้ DES ตัวอย่างเช่น สูตินรีแพทย์ชาวสหราชอาณาจักรสั่งยา DES ให้หญิงมีครรภ์รายหนึ่งตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ […]

| 0 Comments
Book cover

ยาแก้หัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

คำแนะนำของนายแพทย์สป็อกอาจฟังมีเหตุผล แต่เป็นการอ้างอิงทฤษฎีที่ไม่เคยตรวจสอบ ยังมีตัวอย่างของอันตรายจากคำแนะนำในลักษณะนี้อีกมาก เช่น หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายจะมีจังหวะหัวใจผิดปกติ เรียกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) คนกลุ่มนี้ เสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่มีอาการ เนื่องจากมียาบางอย่างที่แก้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ การคาดว่ายากลุ่มนี้จะลดความเสี่ยงเสียชีวิตหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันด้วยจึงดูสมเหตุสมผล แต่ที่จริงผลกลับตรงกันข้าม ยาเหล่านี้ได้รับการทดสอบในคนแล้ว แต่ก็เพียงเพื่อดูว่ายา จะลดภาวะจังหวะหัวใจผิดปกติได้หรือไม่ เมื่อนำหลักฐานจากการทดลองจำนวนมากมาทบทวนอย่างเป็นระบบในปีระบบในปี ค.ศ. 1983 กลับไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ายาเหล่านี้ลดอัตราการเสียชีวิต […]

| 2 Comments
Book cover

คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

อย่าคิดว่าเท่านั้นที่อันตราย คำแนะนำก็ร้ายแรงถึงตายได้เช่นกัน หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กชาวอเมริกัน นายแพทย์เบนจามิน สป็อก ผู้เขียนหนังสือขายดี การดูแลเด็กและทารก (Baby and Child Care) ที่กลายเป็นคัมภีร์ของทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และพ่อแม่ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร อยู่นานหลายสิบปี แต่ในการให้คำแนะนำเรื่องหนึ่งด้วยเจตนาดี นายแพทย์สป็อกกลับพลาดอย่างจัง ด้วยตรรกะที่ไม่อาจโต้แย้งบวกกับบารมีที่มีในระดับหนึ่ง เขากล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นตั้งแต่ฉบับปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 2 หวังไปก็ไร้ผล

ประเด็นสำคัญ ไม่ว่าทฤษฎี หรือความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ใช่แนวทางที่เชื่อถือได้ในการเลือกที่ปลอดภัยและได้ผล แค่เพราะวิธีการรักษานั้น “เป็นที่ยอมรับ” ไม่ได้หมายความว่ามีผลดีมากกว่าเสีย แม้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่อันตรายต่อผู้ป่วย แต่ก็อาจทำให้ทรัพยากรทั้งของประชาชนและของสังคมเสียเปล่า วิธีการรักษาบางอย่างนั้นใช้กันมานานก่อนจะรู้ว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์ ผลดีต่างๆ ที่คาดหวังแต่แรกอาจไม่เกิดขึ้นจริง ในบทนี้เราจะอธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถัดไป: คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

| 2 Comments
Book cover

อย่ามั่นใจเกินไป

“หากเสาะหาเราอาจได้เรียนและรู้สิ่งต่างๆ  ดีขึ้น  แต่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ความจริงที่แท้ ทุกสิ่งเป็นเพียงการคาดเดาที่เรียงร้อยเข้าด้วยกัน” เซโนฟาเนส เมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาล “ผมมั่นใจเสมอถ้าเป็นเรื่องที่ใช้แต่ความเห็น” ชาร์ลี (พีนัตส์) บราวน์ ในศตวรรษที่ 20 “ความผิดพลาดมากมายของเราแสดงว่าการคาดคะเนเรื่องเหตุ และผล…ยังคงเป็นศิลป์ แม้ว่าเราจะนำเทคนิคการวิเคราะห์ ระเบียบ และวิธีการทางสถิติ รวมถึงหลักเกณฑ์เชิงตรรกะมาช่วย […]

| 0 Comments
Book cover

เฮอเซปติน (Herceptin)

ไม่ได้มีแต่บริษัทเชิงพาณิชย์ที่เชิดชูข้อดีและกลบเกลื่อนข้อเสีย ของวิธีการรักษาใหม่ ความตื่นเต้นดีใจของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการประโคมของสื่อก็ส่งผลเช่นเดียวกัน ข้อเสียเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่ยังรวมถึงความยุ่งยากในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์เกี่ยวกับยาโรคมะเร็งเต้านม ทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าเฮอเซปติน (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 3) ต้นปี ค.ศ. 2006 การเรียกร้องของกลุ่มผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งหนุนโดยอุตสาหกรรมยาและสื่อมวลชนทำให้ระบบบริการสุขภาพแห่ง ชาติ (National Health Service) ในสหราชอาณาจักรให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกใช้เฮอเซปตินได้ […]

| 1 Comment
Book cover

ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Heart Valves)

ยาไม่ได้เป็นวิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวที่อาจมีผลร้ายที่ไม่คาดคิด วิธีการรักษาอื่นก็อาจก่อความเสี่ยงร้ายแรงได้เช่นกัน ปัจจุบันลิ้นหัวใจเทียมเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจขั้นรุนแรง[จ] และที่ผ่านมาลิ้นหัวใจเทียมก็ได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ลิ้นหัวใจเทียมบางประเภทแสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการพัฒนาด้านการออกแบบกลับมีผล ร้ายแสนสาหัส เริ่มมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเทียมแบบบียอร์ก-ไชลีย์ (Bjork-Shiley) มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งรุ่นแรกๆ นั้นมีแนว โน้มจะทำให้เกิดลิ่มเลือด (เลือดแข็งตัวเป็นก้อน) ซึ่งขัดขวางการทำงานของ เครื่องมือ จึงมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบเพื่อแก้ข้อด้อยดังกล่าวในปลาย ทศวรรษ […]

| 0 Comments
Book cover

อะแวนเดีย (Avandia)

ในปี ค.ศ. 2010 โรสิกลิทาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าว่าอะแวนเดีย เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นข่าวโด่งดัง เนื่องจากผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ก่อนหน้านั้น 10 ปี อะแวนเดีย ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานควบคุมยาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในฐานะทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลิน[ง]ไม่เพียงพอ หรือเมื่อเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน  และพบได้บ่อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 1  ซึ่งร่างกายไม่ผลิตอินซูลินเลยเบาหวานชนิดที่ […]

| 0 Comments
Book cover

ไวออกซ์ (Vioxx)

แม้การกำกับการทดสอบยาจะเข้มงวดขึ้นมาก แต่ต่อให้ทำการทดสอบยาอย่างดีที่สุด ก็ยังรับรองความปลอดภัยไม่ได้สมบูรณ์ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs หรือ NSAIDs) เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไมต้องมีการเฝ้าระวังในเรื่องยา ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มักใช้แก้ปวดแก้อักเสบในหลายโรค (เช่น ข้ออักเสบ) และใช้ลดไข้ ยาในกลุ่มนี้ “รุ่นแรกๆ” หลายชนิดเป็นยาที่ซื้อใช้เองได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น แอสไพริน (Aspirin) […]

| 0 Comments
Book cover

ทาลิโดไมด์ (Thalidomide)

ทาลิโดไมด์เป็นตัวอย่างสะเทือนขวัญของวิธีการรักษาใหม่ที่ให้โทษมากกว่าประโยชน์ [1] ยานอนหลับชนิดนี้เริ่มใช้กันในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ดูจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบาร์บิทูเรตส์ (Barbiturates) ที่ใช้กันทั่วไปในตอนนั้น เพราะการใช้ทาลิโดไมด์เกินขนาดไม่ทำให้หมดสติเหมือนบาร์บิทูเรตส์ จึงแนะนำให้ต้องใช้ทาลิโดไมด์กับหญิงมีครรภ์เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สูตินรีแพทย์เริ่มพบทารกแรกเกิดที่มีแขนขาผิดรูปขั้นรุนแรงเพิ่มจำนวนสูงขึ้นฉับพลัน ความผิดปกติซึ่งไม่ค่อยพบก่อนหน้านั้น คือการมีแขนขากุดจนดูเหมือนมือและเท้าโผล่ออกมาจากลำตัว แพทย์ในเยอรมนีและออสเตรเลียพบความเกี่ยวพันระหว่างความพิการในทารกนี้กับการที่แม่ได้รับยาทาลิโดไมด์ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ [2] บริษัทผู้ผลิตถอนทาลิโดไมด์ออกจากตลาดเมื่อปลายปี ค.ศ. 1961 หลายปีต่อมา […]

| 0 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.