น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ (Evening Primrose Oil for Eczema)

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ

แม้การขาดการประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่ได้คร่าชีวิต หรือเกิดอันตราย แต่ก็ทำให้เสียเงินเปล่า ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นปัญหาผิวหนังที่ สร้างความรำคาญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รอยโรคที่ผิวหนังทั้งไม่น่ามองและคันคะเยอ แม้การใช้ครีมสเตียรอยด์จะช่วยได้ แต่ก็ต้องห่วงเรื่องผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ตอนต้นทศวรรษ 1980 มีสารสกัดธรรมชาติของน้ำมันที่ได้จากพืชคือ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ที่เปิด

Timeline for evidence about and use of evening primrose oil in eczema

ช่วงเวลาเกี่ยวกับการใช้และหลักฐานเกี่ยวกับน้ำมันอีฟนิงพริมโรสในผื่นผิวหนังอักเสบ

ตัวในฐานะทางเลือกหนี่งที่ได้ผลโดยมีผลข้างเคียงน้อย [11] น้ำมันอีฟนิงพริมโรสประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นเรียกว่ากรดแกมมาไลโนเลนิก (gamma-linolenic acid หรือ GLA) จึงมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือให้ใช้น้ำมันนี้ เช่น มีคำแนะนำว่าร่างกายของผู้ป่วยผื่นผิวหนังอักเสบจะมีกระบวนการเปลี่ยนรูป (เผาผลาญ) GLA ที่บกพร่อง ดังนั้น ถ้าว่ากันตามทฤษฎี การให้ GLA เสริมจึงน่าจะช่วยรักษาโรคนี้ได้ นอกจากนี้ น้ำมันโบราจ หรืออีกชื่อว่าน้ำมันสตาร์ฟลาวเวอร์ ยิ่งมีปริมาณ GLA สูงขึ้นอีก จึงมีคำแนะนำให้ใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบเช่นกัน

เชื่อกันว่า GLA ปลอดภัย แต่มันได้ผลแน่หรือ มีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ เรื่องนี้เป็นจำนวนมาก แต่ผลกลับไม่ตรงกัน ส่วนหลักฐานที่ตีพิมพ์ก็ได้รับ อิทธิพลสูงจากการศึกษาที่สนับสนุนโดยบริษัทที่ผลิตอาหารเสริมกลุ่มนี้ ในปี ค.ศ. 1995 กระทรวงสาธารณสุขสหราชอาณาจักรจึงขอให้นักวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตทบทวนงานวิจัยทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ 20 ชิ้น โดยไม่พบหลักฐานเลยว่ามันมีประโยชน์ แต่ทางกระทรวงฯ ไม่ได้รายงานต่อสาธารณะ เพราะผู้ผลิตยานี้คัดค้าน 5 ปีต่อมานักวิจัยกลุ่มเดิมทบทวน วรรณกรรมอย่างเป็นระบบอีกครั้งเกี่ยวกับทั้งน้ำมันอีฟนิงพริมโรสและน้ำมันโบราจ คราวนี้ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งชี้ว่า จากการศึกษาขนาดใหญ่ที่สุด ครอบคลุมที่สุด ไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อว่าวิธีการรักษาเหล่านี้ใช้ได้ผล[12]

แต่มีประเด็นที่ยังไม่ได้ศึกษาคือ GLA อาจใช้ได้ผลเฉพาะเมื่อใช้ใน ปริมาณสูงมาก แต่กระทั่งข้ออ้างนี้ก็ยังโดนการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมและรอบคอบตีตกไปในปี ค.ศ. 2003 [13] ที่เหลือเชื่อคือ กว่าผลการศึกษานี้จะตีพิมพ์ องค์การควบคุมยาของสหราชอาณาจักร (Medicines Control Agency) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นองค์การควบคุมยาและผลิตภัณฑ์

เพิ่มเติมเอกสารอ้างอิง (บทที่ 2)

บทถัดไป: บทที่ 3 มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป