1-5 Newer is not necessarily better

New treatments are often assumed to be better simply because they are new or because they are more expensive. However, they are only very slightly likely to be better than other available treatments. Some side effects of treatments, for example, take time to appear and it may not be possible to know whether they will appear without long term follow-up.

A treatment should not be assumed to be beneficial and safe simply because it is new, brand-named or expensive.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments
Book cover

เมื่อโดนดึงเข้าไปในวังวน

ปี ค.ศ. 2006  ผู้ป่วยคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านการแพทย์มา เผลอตามกระแสเฮอเซปตินไปด้วย เมื่อเธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแบบมี HER2 ในปีก่อนหน้านั้น “ก่อนจะมีการวินิจฉัย ฉันก็เหมือนผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการรักษามะเร็งเต้านมในยุคนี้ เลยต้องพึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ตอนนั้นเว็บไซต์เบรสต์แคนเซอร์แคร์ (Breast Cancer Care) หรือการดูแลมะเร็งเต้านม กำลังรณรงค์ให้ผู้หญิงที่มี HER2 ทุกคนได้ใช้เฮอเซปติน […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 1 ใหม่กว่าแล้วดีกว่าไหม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะวิธีการรักษาใหม่มีโอกาสพอๆ กันที่จะแย่กว่า หรือดีกว่าวิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่ การตรวจสอบวิธีการรักษาที่ (ไม่เที่ยงธรรม) อาจทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและเสียชีวิต วิธีการรักษาที่อนุมัติให้ใช้แล้วก็ใช่ว่าปลอดภัยเสมอไป ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าอาการข้างเคียงจากวิธีการรักษาจะปรากฏ จากวิธีการรักษามักถูกเน้นเกินจริง ขณะที่มักถูกกลบเกลื่อน ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม หากขาดการประเมินอย่างเที่ยงธรรม…คือไม่ลำเอียง…ก็อาจมีการสั่งใช้วิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลหรือกระทั่งเป็นโทษเพราะนึกว่ามีประโยชน์ หรือตรงข้าม การรักษาที่ได้ผลก็อาจถูกละเลยเพราะมองว่าไม่มีประโยชน์ จึงควรตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมกับวิธีการรักษาทุกวิธี โดยไม่ต้องสนใจว่ามันมีที่มาอย่างไร หรือเป็นวิธีมาตรฐานหรือวิธีเสริม/ทางเลือกหรือไม่ ไม่ควรเชื่อทฤษฎีเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ […]

| 0 Comments
Book cover

แรงรบเร้ากับยาชนิดใหม่

“ลักษณะเฉพาะของยาชนิดใหม่คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วนเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิผล และผลกระทบด้านค่าใช้จ่าย อันที่จริงการสนับสนุนสิ่ง ‘ใหม่’ อย่างแข็งขันไม่ได้พบเฉพาะในหนังสือพิมพ์ แต่ยังพบบ่อยครั้งในสื่อแขนงอื่น รวมถึงในแวดวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ด้วย ‘แรงรบเร้า’ เป็นแนวคิดที่มักใช้ในการโฆษณาที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก แต่ในกรณีนี้ คำถามข้อสำคัญคือสิ่งที่เราประสบอยู่คือแรงรบเร้าจากผู้ป่วย หรือว่าเป็นโฆษณาทแทบจะเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เป็นที่รู้จัก เพื่อที่ผู้ป่วย องค์กรการกุศล และที่สำคัญคือแพทย์ จะได้เรียกร้องอยากมีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้ […]

| 0 Comments
Book cover

ผลกระทบของยา “พ่วงท้าย” ในแคนาดา

“ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ค่าใช้จ่ายด้านยาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1996-2003 เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสิทธิบัตร ซึ่งก็แทบไม่ได้ดีกว่าผลิตภัณฑ์ราคาย่อมเยากว่าที่มีใช้ ตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1990 ควรมีการตรวจสอบอย่างรอบคอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่พุ่งทะยานจากการใช้ยาพ่วงท้าย ซึ่งแพงระยับเมื่อเทียบกับยาอื่นที่ใช้ได้ผลมานาน วิธีกำหนดราคายาเช่นที่ใช้ในนิวซีแลนด์[1] อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายและโยกย้ายเงินจำนวนนี้ไปลงกับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น รัฐบริติชโคลัมเบียจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 350 […]

| 0 Comments
Book cover

ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะศึกษาอะไร

เห็นชัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่เข้าที แต่เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งคือประเด็นวิจัยมักถูกบิดเบือนโดยปัจจัยภายนอก [22] เช่น อุตสาหกรรมยาทำการวิจัยเพื่อสนองเป้าหมายหลัก คือเพื่อให้ลุล่วงตามภาระหน้าที่ในการทำกำไรที่มีต่อผู้ถือหุ้น ส่วนความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ป่วยและแพทย์สำคัญรองลงมา ธุรกิจถูกชักจูงด้วยตลาดขนาดใหญ่ เช่น หญิงที่สงสัยว่าควรใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ซึมเศร้า วิตก กังวล หดหู่ หรือเจ็บปวด ทว่าในช่วงทศวรรษหลังๆ แนวทางแบบเล็งผลทางการค้านี้แทบไม่ได้ทำให้เกิดวิธีการรักษาใหม่ที่สำคัญ แม้แต่ในโรค “ยอดนิยม” […]

| 2 Comments
Book cover

โจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย

นักวิจัยในบริสตอล สหราชอาณาจักร ตัดสินใจตั้งคำถามสำคัญว่า “งานวิจัยเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมตอบโจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยและแพทย์หรือไม่อย่างไร” [17] พวกเขาเริ่มจากจัดกลุ่มสนทนา 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยอายุรแพทย์โรคข้อนักกายภาพบำบัด และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กลุ่มคนเหล่านี้เห็นตรงกันว่าไม่อยากให้ทำการทดลองที่สนับสนุนโดยบริษัทยา ซึ่งเปรียบเทียบยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (กลุ่มยาที่มีไอบูโพรเฟน เป็นต้น) กับยาหลอกอีก ผู้ป่วยเห็นว่าแทนที่จะศึกษาเรื่องยา น่าจะมีการประเมินการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดอย่างมีคุณภาพ รวมถึงประเมินมาตรการให้ความรู้และรับมือกับโรค ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการเรื้องรังที่มักก่อความเจ็บปวดและอาจพิการนี้ได้เป็นผลดียิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

เฮอเซปติน (Herceptin)

ไม่ได้มีแต่บริษัทเชิงพาณิชย์ที่เชิดชูข้อดีและกลบเกลื่อนข้อเสีย ของวิธีการรักษาใหม่ ความตื่นเต้นดีใจของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการประโคมของสื่อก็ส่งผลเช่นเดียวกัน ข้อเสียเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่ยังรวมถึงความยุ่งยากในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์เกี่ยวกับยาโรคมะเร็งเต้านม ทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าเฮอเซปติน (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 3) ต้นปี ค.ศ. 2006 การเรียกร้องของกลุ่มผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งหนุนโดยอุตสาหกรรมยาและสื่อมวลชนทำให้ระบบบริการสุขภาพแห่ง ชาติ (National Health Service) ในสหราชอาณาจักรให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกใช้เฮอเซปตินได้ […]

| 1 Comment
Book cover

ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Heart Valves)

ยาไม่ได้เป็นวิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวที่อาจมีผลร้ายที่ไม่คาดคิด วิธีการรักษาอื่นก็อาจก่อความเสี่ยงร้ายแรงได้เช่นกัน ปัจจุบันลิ้นหัวใจเทียมเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจขั้นรุนแรง[จ] และที่ผ่านมาลิ้นหัวใจเทียมก็ได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ลิ้นหัวใจเทียมบางประเภทแสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการพัฒนาด้านการออกแบบกลับมีผล ร้ายแสนสาหัส เริ่มมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเทียมแบบบียอร์ก-ไชลีย์ (Bjork-Shiley) มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งรุ่นแรกๆ นั้นมีแนว โน้มจะทำให้เกิดลิ่มเลือด (เลือดแข็งตัวเป็นก้อน) ซึ่งขัดขวางการทำงานของ เครื่องมือ จึงมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบเพื่อแก้ข้อด้อยดังกล่าวในปลาย ทศวรรษ […]

| 0 Comments
Book cover

อะแวนเดีย (Avandia)

ในปี ค.ศ. 2010 โรสิกลิทาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าว่าอะแวนเดีย เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นข่าวโด่งดัง เนื่องจากผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ก่อนหน้านั้น 10 ปี อะแวนเดีย ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานควบคุมยาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในฐานะทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลิน[ง]ไม่เพียงพอ หรือเมื่อเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน  และพบได้บ่อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 1  ซึ่งร่างกายไม่ผลิตอินซูลินเลยเบาหวานชนิดที่ […]

| 0 Comments
Book cover

ไวออกซ์ (Vioxx)

แม้การกำกับการทดสอบยาจะเข้มงวดขึ้นมาก แต่ต่อให้ทำการทดสอบยาอย่างดีที่สุด ก็ยังรับรองความปลอดภัยไม่ได้สมบูรณ์ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs หรือ NSAIDs) เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไมต้องมีการเฝ้าระวังในเรื่องยา ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มักใช้แก้ปวดแก้อักเสบในหลายโรค (เช่น ข้ออักเสบ) และใช้ลดไข้ ยาในกลุ่มนี้ “รุ่นแรกๆ” หลายชนิดเป็นยาที่ซื้อใช้เองได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น แอสไพริน (Aspirin) […]

| 0 Comments
Book cover

ทาลิโดไมด์ (Thalidomide)

ทาลิโดไมด์เป็นตัวอย่างสะเทือนขวัญของวิธีการรักษาใหม่ที่ให้โทษมากกว่าประโยชน์ [1] ยานอนหลับชนิดนี้เริ่มใช้กันในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ดูจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบาร์บิทูเรตส์ (Barbiturates) ที่ใช้กันทั่วไปในตอนนั้น เพราะการใช้ทาลิโดไมด์เกินขนาดไม่ทำให้หมดสติเหมือนบาร์บิทูเรตส์ จึงแนะนำให้ต้องใช้ทาลิโดไมด์กับหญิงมีครรภ์เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สูตินรีแพทย์เริ่มพบทารกแรกเกิดที่มีแขนขาผิดรูปขั้นรุนแรงเพิ่มจำนวนสูงขึ้นฉับพลัน ความผิดปกติซึ่งไม่ค่อยพบก่อนหน้านั้น คือการมีแขนขากุดจนดูเหมือนมือและเท้าโผล่ออกมาจากลำตัว แพทย์ในเยอรมนีและออสเตรเลียพบความเกี่ยวพันระหว่างความพิการในทารกนี้กับการที่แม่ได้รับยาทาลิโดไมด์ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ [2] บริษัทผู้ผลิตถอนทาลิโดไมด์ออกจากตลาดเมื่อปลายปี ค.ศ. 1961 หลายปีต่อมา […]

| 0 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.