1-4 Common practice is not always evidence-based

Treatments that have not been properly evaluated but are widely used or have been used for a long time are often assumed to work. Sometimes, however, they may be unsafe or of doubtful benefit.

Do not assume that treatments are beneficial or safe simply because they are widely used or have been used for a long time, unless this has been shown in systematic reviews of fair comparisons of treatments.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments
Book cover

แพทย์เล่าเรื่องการคาดเดาในการเลือกวิธีการรักษา

“ในการสนทนาจำลองระหว่างแพทย์ 2 ราย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปให้ความเห็นดังต่อไปนี้ “สิ่งสารพัดที่เราทำเป็นการคาดเดา ซึ่งทั้งคุณทั้งผมก็คงไม่สบายใจที่เป็นอย่างนั้น ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดได้ผลคือต้องมีการทดลองที่ได้คุณภาพ ซึ่งก็ลำบาก เราจึงทำตามใจชอบ ผมมั่นใจว่าในบางกรณีก็ไม่มีปัญหา เพราะใช้ประสบการณ์ในการรักษาและอื่นๆ ทว่าในกรณีอื่นเราก็อาจเข้าใจ ผิดว่าทำถูกแล้ว แต่เพราะสิ่งที่เราทำไม่ถือเป็นการทดลอง จึงไม่มีการกำกับดูแล และไม่มีใครใช้มันเป็นบทเรียน” Adapted from Petit-Zeman S. […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อโดนดึงเข้าไปในวังวน

ปี ค.ศ. 2006  ผู้ป่วยคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านการแพทย์มา เผลอตามกระแสเฮอเซปตินไปด้วย เมื่อเธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแบบมี HER2 ในปีก่อนหน้านั้น “ก่อนจะมีการวินิจฉัย ฉันก็เหมือนผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการรักษามะเร็งเต้านมในยุคนี้ เลยต้องพึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ตอนนั้นเว็บไซต์เบรสต์แคนเซอร์แคร์ (Breast Cancer Care) หรือการดูแลมะเร็งเต้านม กำลังรณรงค์ให้ผู้หญิงที่มี HER2 ทุกคนได้ใช้เฮอเซปติน […]

| 0 Comments
Book cover

มะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม (ดูบทที่ 3) เป็นอีกตัวอย่างของความไม่แน่นอนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ มีการใช้วิธีผ่าตัด ฉายรังสี และเคมีบำบัด แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยังไม่กระจ่างว่าวิธีการรักษาใดดีที่สุดในมะเร็งเต้านมระยะแรกเริ่มและ “มะเร็งเทียม” รวมถึงจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ควรตัดออกจากบริเวณรักแร้ หรือกระทั่งว่าควรตัดหรือไม่ [20] เท่านั้นยังไม่พอ เรื่องที่ผู้ป่วยสนใจอย่างการบรรเทาความอ่อนเพลียจากการรักษา หรือวิธีใดดีที่สุดในการรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองที่แขน ซึ่งเป็นผลอันทรมานและบั่นทอนสุขภาพหลังผ่าตัดและฉายรังสีที่รักแร้ก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบมากเท่าที่ควร ถัดไป: การสะสางความไม่แน่นอนด้านผลการรักษา

| 0 Comments
Book cover

คาเฟอีน (Caffeine) เพื่อการรักษาปัญหาการหายใจในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

ความแตกต่างใหญ่หลวงของวิธีการรักษาที่ใช้ในโรคหนึ่งๆ เป็นหลักฐานชัดเจนถึงความไม่แน่นอนในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพ เรื่องข้อดีของวิธีการรักษาต่างๆ และยิ่งแนวทางปฏิบัตินั้นหยั่งรากลึก ก็อาจแปลว่ายิ่งต้องใช้เวลานานในการสะสางความไม่แน่นอนด้วยการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม การใช้คาเฟอีนในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดเป็นตัวอย่างที่เห็นชัด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักหายใจไม่ปกติ และบางครั้งก็หยุดหายใจเป็นช่วงสั้นๆ อาการนี้เรียกว่าอาการหยุดหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด (Apnoea in prematurity) เกิดในทารกส่วนใหญ่ซึ่งคลอดขณะที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ ในปลายทศวรรษ 1970 มีการพิสูจน์ว่าการรักษาด้วยคาเฟอีนลดจำนวนครั้งที่เกิดอาการดังกล่าว กุมารแพทย์บางรายจึงเริ่มสั่งใช้ ถึงอย่างนั้นผลของคาเฟอีนก็ยังเป็นที่ถกเถียง […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งเต้านม : เป็นที่ยอมรับแต่ยังมีการถกเถียงกัน

เนื่องจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสี (mammography) ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ เราจึงสันนิษฐานว่าคงมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าวิธีนี้มีประโยชน์มากกว่าโทษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2010 ว่า “การคัดกรองนี้ได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา หญิงกว่า 600,000 รายเข้าร่วมในการทดลองแบบสุ่ม 10 โครงการ ในช่วง 50 ปีมานี้ แต่ละโครงการก็ติดตามพวกเธอนานร่วม 10 […]

| 0 Comments
Book cover

จริยธรรมที่ลำเอียง

“ถ้าแพทย์ลองใช้วิธีการรักษาแบบใหม่โดยตั้งใจศึกษาให้ถี่ถ้วน ประเมินผลการรักษา และตีพิมพ์ผลที่ได้ แพทย์รายนั้นกำลังทำวิจัย อาสาสมัครในงานวิจัยเหล่านี้ถูกมองว่าต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยต้องตรวจสอบโครงร่างการวิจัยกับหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมงานวิจัย (informed consent form)[1] อย่างละเอียด และอาจระงับงานวิจัยนี้ แต่หากแพทย์เชื่อว่าวิธีการรักษาใหม่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลองใช้โดยไม่คิดศึกษา จะไม่ถือเป็นการวิจัย การลองแบบนี้ไม่ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการ และการขอความยินยอมจากผู้ป่วยก็เป็นไปเพียงเพื่อไม่ให้ตนโดนผู้ป่วยฟ้องร้องความผิดพลาดทางการแพทย์ ผู้ป่วยในกรณีหลัง (ไม่ใช่งานวิจัย) จึงน่าจะเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยในกรณีแรก (เข้าร่วมในงานวิจัยอย่างเป็นกิจจะลักษณะ) นอกจากนี้ […]

| 0 Comments
Book cover

ถ้าตรวจสอบหลักฐานก่อนจะป้องกันการเสียชีวิตได้ไหม

“เหตุสลดที่เลี่ยงได้เกิดกับเอลเลน โรช อายุ 24 ปี อาสาสมัครสุขภาพดีในการศึกษาโรคหืด ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เธอเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน (ปี ค.ศ. 2001) เพราะสารเคมีที่ขอให้เธอสูดเข้าไปทำให้ปอดและไตค่อยๆ ล้มเหลว หลังจากความสูญเสียนี้จึงได้ปรากฎว่าทั้งนักวิจัยและคณะกรรมการจริยธรรมที่อนุมัติให้ทำการศึกษามองข้ามคำใบ้มากมายเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีดังกล่าว ซึ่งคือ เฮ็กซาเมโทเนียม […]

| 0 Comments
Book cover

เห็นในสิ่งที่เชื่อ

ริชาร์ด แอชเชอร์ แพทย์ชาวสหราชอาณาจักร ตั้งข้อสังเกตใน บทความถึงแพทย์ที่เขาเขียนว่า “ถ้าคุณเชื่อมั่นวิธีการรักษาที่ใช้ ต่อให้การตรวจสอบแบบมีกลุ่มควบคุมแสดงว่าวิธีดังกล่าวแทบไม่มีประโยชน์ คุณก็จะยังได้ผลการรักษาดีกว่า ผู้ป่วยจะอาการดีกว่า และรายได้ของคุณก็จะงามกว่าเช่นกัน ผมคิดว่าความเชื่อคือเหตุให้เพื่อนร่วมวิชาชีพบางคนประสบความสำเร็จท่วมท้นทั้งที่ด้อยความสามารถและหูเบา ทั้งยังเป็นเหตุให้แพทย์ผู้ทันยุคและประสบความสำเร็จตั้งแง่กับสถิติและการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม” Asher R. Talking sense (Lettsomian lecture, 16 Feb, […]

| 0 Comments
Book cover

ความจำเป็นที่ต้องใช้มากกว่าความรู้สึก

แค่ผู้ป่วยเชื่อว่าสิ่งนั้นๆ ช่วยพวกเขาก็น่าจะเพียงพอ เหตุใดต้องหาเรื่องยุ่งยากสิ้นเปลืองทำงานวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หรือหาทางพิสูจน์ว่าวิธีการรักษาดังกล่าวช่วยผู้ป่วยหรือไม่ และหากช่วยได้มันช่วยอย่างไร มีเหตุผลอย่างน้อย 2 ข้อ ข้อหนึ่งคือวิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลอาจเบนความสนใจเราจากวิธีการรักษาที่ได้ผลจริง อีกเหตุผลคือวิธีการรักษาหลายวิธี (หรือกระทั่งส่วนใหญ่) มีผลข้างเคียงบ้างระยะสั้น บ้างระยะยาว และบ้างยังไม่รู้ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวก็อาจรอดพ้นจากผลเสีย จึงเป็นประโยชน์หากแยกแยะได้ว่าวิธีการรักษาใดไม่น่าจะได้ผลดี หรืออาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ งานวิจัยยังอาจค้นพบข้อมูลสำคัญว่าวิธีการรักษาต่างๆ ทำงานอย่างไร รวมถึงค้นหาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีที่ดีขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

การแก้ไขความไม่แน่นอนคือความเป็นมืออาชีพ

“หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเป็นมืออาชีพ…ควรเป็นความสามารถในการระบุและแก้ไขความไม่แน่นอนทางการแพทย์ ทุกวันผู้ประกอบวิชาชีพต้องเผชิญหน้าและรับมือกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสาเหตุของโรค การวินิจฉัย และวิธีการรักษา แต่ความไม่แน่นอน เหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผย ผู้ประกอบวิชาชีพบาง รายยังลำบากใจหากต้องยอมรับว่ามีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะในการดูแลผู้ป่วย ความไม่แน่นอนเป็นตัวกระตุ้นชั้นยอดให้มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้คน ซึ่งเป็นแก่นของภารกิจของสภาวิจัยการแพทย์ในอนาคต การที่ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพพิจารณาผลการวิจัยซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในสาขาของตนจะยิ่งทวีความสำคัญ เพื่อจะได้ตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอนเรื่องใด และมีงานวิจัยอะไรบ้างที่ดำเนินการอยู่ หรือต้องทำเพื่อแก้ไขความไม่แน่นอนเหล่านี้ โดยสรุป ในอนาคตเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ การตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยควรเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมืออาชีพ […]

| 0 Comments
Book cover

เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน : เรื่องคอขาดบาดตาย

“การไม่เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของผลการรักษา อาจทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตมหาศาลทั้งที่เลี่ยงได้ ถ้าก่อนนำไดอะซีแพม (diazepam) และเฟนิโทอิน (phenytoin) มาใช้กันชักในภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการชักร่วมด้วย (eclampsia) มีการเปรียบเทียบกับแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulphate) ซึ่งใช้กันมาหลายสิบปี คงลดจำนวนหญิงที่ต้องทรมานและเสียชีวิตได้หลายแสนคน เช่นเดียวกัน ถ้ามีการประเมินผลของสเตียรอยด์ชนิดให้เข้าในร่างกายในภาวะสมองบาดเจ็บก่อนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คงเลี่ยงการเสียชีวิตอันไม่สมควรได้หลายหมื่นราย นี่เป็นเพียง 2 กรณีจากกรณีตัวอย่าง มากมายที่แสดงว่า […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อแพทย์เห็นไม่ตรงกัน

ในหลายๆ โรคและหลายๆ อาการ ยังไม่แน่นอนนักว่าวิธีการรักษาใดได้ผลมากน้อยเพียงใด และวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น แต่แพทย์กลับไม่ลดการมองวิธีการรักษาต่างๆ แบบสุดโต่งลงเลย ทั้งที่ความเห็นของแพทย์แต่ละรายอาจแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิธีการรักษาที่ใช้ในอาการนั้นๆ ต่างกันโดยสิ้นเชิง ในทศวรรษที่ 1990 เอียน ชาลเมอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียน ข้อเท้าหักขณะพักผ่อนอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้รับการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ซึ่งดามขาข้างนั้นไว้ชั่วคราวและบอกว่า หลังจากหายบวมจะมีการใส่เฝือกแข็งตั้งแต่เข่าลงมานาน 6 […]

| 2 Comments
Book cover

ปาหี่การคัดกรอง

ในปี ค.ศ. 2009 อาจารย์ด้านประสาทวิทยาเพิ่งเกษียณผู้สนใจ เรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมายาวนานทราบว่าเพื่อนบ้านได้รับใบปลิวจากบริษัทที่ให้การคัดกรองด้านระบบหลอดเลือด เชิญชวนให้พวกเขาไปโบสถ์ในแถบนั้น (และจ่ายเงิน 152 ปอนด์ หรือราว 7,000 บาท) เพื่อรับการตรวจโรคหลอดเลือดสมองกับอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทางหัวใจและหลอดเลือด ด้วยความอยากรู้ และที่สำคัญ คือ เพราะข้อมูลในใบปลิวดังกล่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง อาจารย์จึงตัดสินใจไปด้วย “การตรวจแรกเป็นการคัดกรองหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

| 0 Comments
Book cover

การตัดเต้านมแบบถอนรากแบบดั้งเดิม (halsted)

การตัดเต้านมแบบถอนรากคิดค้นโดยวิลเลียม ฮาลสเต็ด เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 เป็นการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมที่ทำกันมากที่สุดจนช่วงปี ค.ศ. 1975 ศัลยแพทย์จะตัดกล้ามเนื้อหน้าอกด้านนอก (pectoralis major) ซึ่งคลุมผนังช่องอกพร้อมกับเต้านมทั้งหมด กล้ามเนื้อหน้าอกด้านในติดกับสะบักและซี่โครง (pectoralis minor) ซึ่งมัดเล็กกว่าก็ถูกตัด เพื่อให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดส่วนรักแร้ (axilla) ได้ง่ายขึ้น    เพื่อเลาะต่อมน้ำเหลืองและไขมันโดยรอบออก การตัดเต้านมแบบถอนรากร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลือง […]

| 0 Comments
Book cover

เราทำอย่างนั้นเพราะ…

“เรา (แพทย์) ทำโน่นนี่ เพราะแพทย์คนอื่นก็ทำกัน เราไม่อยากแปลกแยกจึงทำตาม หรือเป็นเพราะเราถูก (ครู แพทย์ประจำบ้าน ต่อยอดแพทย์ประจำบ้าน [แพทย์ที่กำลังเรียนต่อเฉพาะทาง]) สอนมาอย่างนั้น หรือเกิดจากเราโดน (ครู ผู้บริหาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มคนที่จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ) บังคับ หรือเพราะผู้ป่วยต้องการเลยคิดว่าต้องทำอย่างนั้น หรือเพราะได้ผลตอบแทนมากกว่า (จากการตรวจร่างกายโดยไม่จำเป็น […]

| 0 Comments
Book cover

ไม่แปลกที่เธอสับสน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 ผู้ป่วยที่ผ่านการตัดมดลูกเขียนจดหมายหา เดอะแลนเซ็ต (The Lancet)[1] ว่า “เมื่อปี ค.ศ. 1986 ฉันต้องตัดมดลูกเนื่องจากมีเนื้องอกศัลยแพทย์ตัดรังไข่ออกด้วย รวมทั้งพบว่าฉันมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนกะทันหัน ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอายุเพียง 45 ปี ฉันจึงได้รับการรักษาด้วย […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy)

ในหญิงวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนได้ผลมากในการลดอาการร้อนวูบวาบทรมานที่มักเป็นกัน หลักฐานบางชิ้น ยังบอกว่าวิธีนี้อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย คำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์ต่างๆ ของฮอร์โมนทดแทนค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงการ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง หญิงหลายล้านคนเริ่มใช้ฮอร์โมนเป็นเวลายาวนานขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะคำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์เหล่านี้และประโยชน์อื่นๆ อีกมาก ทว่าที่มาของคำกล่าวอ้างนี้กลับเชื่อถือไม่ค่อยได้ ว่ากันเฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กว่า 20 ปีที่ผู้หญิงได้รับการบอกเล่าว่า ฮอร์โมนทดแทนจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร้ายแรงนี้ อันที่จริงคำแนะนำนี้ได้มาจากผลของการศึกษาที่ไม่เที่ยงธรรม […]

| 0 Comments
Book cover

ไดเอทิลสติลเบสทรอล (Diethylstillbestrol หรือ DES)

นานมาแล้วแพทย์ไม่แน่ใจว่าหญิงมีครรภ์ซึ่งเคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ ควรได้เอสโตรเจน[ช]สังเคราะห์ (ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ) ที่เรียก ว่า DES เสริมหรือไม่ จึงมีแพทย์เพียงบางรายสั่งยานี้ DES เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เพราะความคิดที่ว่ามันช่วยแก้อาการที่รกทำงานผิดปกติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา กลุ่มที่ใช้ยามั่นใจขึ้นด้วยรายงานจากประสบการณ์ของหญิงที่เคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่คลอดทารกปลอดภัยหลังใช้ DES ตัวอย่างเช่น สูตินรีแพทย์ชาวสหราชอาณาจักรสั่งยา DES ให้หญิงมีครรภ์รายหนึ่งตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ […]

| 0 Comments
Book cover

คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

อย่าคิดว่าเท่านั้นที่อันตราย คำแนะนำก็ร้ายแรงถึงตายได้เช่นกัน หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กชาวอเมริกัน นายแพทย์เบนจามิน สป็อก ผู้เขียนหนังสือขายดี การดูแลเด็กและทารก (Baby and Child Care) ที่กลายเป็นคัมภีร์ของทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และพ่อแม่ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร อยู่นานหลายสิบปี แต่ในการให้คำแนะนำเรื่องหนึ่งด้วยเจตนาดี นายแพทย์สป็อกกลับพลาดอย่างจัง ด้วยตรรกะที่ไม่อาจโต้แย้งบวกกับบารมีที่มีในระดับหนึ่ง เขากล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นตั้งแต่ฉบับปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 2 หวังไปก็ไร้ผล

ประเด็นสำคัญ ไม่ว่าทฤษฎี หรือความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ใช่แนวทางที่เชื่อถือได้ในการเลือกที่ปลอดภัยและได้ผล แค่เพราะวิธีการรักษานั้น “เป็นที่ยอมรับ” ไม่ได้หมายความว่ามีผลดีมากกว่าเสีย แม้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่อันตรายต่อผู้ป่วย แต่ก็อาจทำให้ทรัพยากรทั้งของประชาชนและของสังคมเสียเปล่า วิธีการรักษาบางอย่างนั้นใช้กันมานานก่อนจะรู้ว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์ ผลดีต่างๆ ที่คาดหวังแต่แรกอาจไม่เกิดขึ้นจริง ในบทนี้เราจะอธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถัดไป: คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

| 2 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.