Comparisons: are they fair and reliable?

Well-informed treatment decisions requires systematic reviews of fair comparisons of treatments; i.e. comparisons designed to minimise the risk of systematic and random errors. Non-systematic summaries can be misleading, and not all comparisons of treatments are fair comparisons.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

CASP logo

Confidence Intervals – CASP

The p-value gives no direct indication of how large or important the estimated effect size is. So, confidence intervals are often preferred.

| 0 Comments | Evaluated

Know Your Chances

This book has been shown in two randomized trials to improve peoples' understanding of risk in the context of health care choices.

| 0 Comments | Evaluated
Logo

Bias

A University of Massachusetts Medical School text on biases.

| 0 Comments
Logo

Therapy

A University of Massachusetts Medical School text discussing the strengths and limitations of different measures of the effects of treatment

| 0 Comments

The DIY evaluation guide

The Educational Endowment Foundation’s DIY Evaluation Guide for teachers introduces the key principles of educational evaluation.

| 0 Comments

What are the results?

A Duke Univ. tutorial explaining how to address the questions: How large was the treatment effect? What was the absolute risk reduction?

| 0 Comments

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments

Dodgy academic PR

Ben Goldacre: 58% of all press releases by academic institutions lacked relevant cautions and caveats about the methods and results reported

| 0 Comments

The certainty of chance

Ben Goldacre reminds readers how associations may simply reflect the play of chance, and describes Deming’s illustration of this.

| 0 Comments

How Science Works

Definitions of terms that students have to know for 'How Science Works' and associated coursework, ISAs, etc

| 0 Comments

The Systematic Review

This blog explains what a systematic review is, the steps involved in carrying one out, and how the review should be structured.

| 0 Comments

The Bias of Language

Publication of research findings in a particular language may be prompted by the nature and direction of the results.

| 0 Comments

Defining Bias

This blog explains what is meant by ‘bias’ in research, focusing particularly on attrition bias and detection bias.

| 0 Comments

Data Analysis Methods

A discussion of 2 approaches to data analysis in trials - ‘As Treated’, and ‘Intention-to-Treat’ - and some of the pros and cons of each.

| 0 Comments

Defining Risk

This blog defines ‘risk’ in relation to health, and discusses some the difficulties in applying estimates of risk to a given individual.

| 0 Comments
CASP logo

P Values – CASP

Statistical significance is usually assessed by appeal to a p-value, a probability, which can take any value between 0 and 1 (certain).

| 0 Comments
Book cover

Testing Treatments

Testing Treatments is a book to help the public understand why fair tests of treatments are needed, what they are, and how to use them.

| 0 Comments

Eureka!

Cherry picking the results of people in sub-groups can be misleading.

| 0 Comments

Goldilocks

Cartoon and blog about how poorly performed systematic reviews and meta-analyses may misrepresent the truth.

| 0 Comments

Cherry Picking

Cherry-picking results that only support your own conclusion may mean ignoring important evidence that refutes a treatment claim.

| 0 Comments

Forest Plot Trilogy

Synthesising the results of similar but separate fair comparisons (meta-analysis) may help by yielding statistically more reliable estimates

| 0 Comments

False Precision

The use of p-values to indicate the probability of something occurring by chance may be misleading.

| 0 Comments

CEBM – Study Designs

A short article explaining the relative strengths and weaknesses of different types of study design for assessing treatment effects.

| 0 Comments
DISCERN logo

DISCERN online

A questionnaire providing a valid and reliable way of assessing the quality of written information on treatment choices.

| 0 Comments
Featured image

Means vs. Medians

Keith Bower’s 3-min video explaining how means (averages) and medians can be presented misleadingly.

| 0 Comments

Mega-trials

In this 5 min audio resource, Neeraj Bhala discusses systematic reviews and the impact of mega-trials.

| 0 Comments

The placebo effect

A video by NHS Choices explaining what the placebo effect is, and describing its role in medical research and the pharmaceutical industry.

| 0 Comments
Book cover

แพทย์เล่าเรื่องการคาดเดาในการเลือกวิธีการรักษา

“ในการสนทนาจำลองระหว่างแพทย์ 2 ราย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปให้ความเห็นดังต่อไปนี้ “สิ่งสารพัดที่เราทำเป็นการคาดเดา ซึ่งทั้งคุณทั้งผมก็คงไม่สบายใจที่เป็นอย่างนั้น ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดได้ผลคือต้องมีการทดลองที่ได้คุณภาพ ซึ่งก็ลำบาก เราจึงทำตามใจชอบ ผมมั่นใจว่าในบางกรณีก็ไม่มีปัญหา เพราะใช้ประสบการณ์ในการรักษาและอื่นๆ ทว่าในกรณีอื่นเราก็อาจเข้าใจ ผิดว่าทำถูกแล้ว แต่เพราะสิ่งที่เราทำไม่ถือเป็นการทดลอง จึงไม่มีการกำกับดูแล และไม่มีใครใช้มันเป็นบทเรียน” Adapted from Petit-Zeman S. […]

| 0 Comments
Book cover

โศกนาฏกรรมการแพร่ระบาดของอาการตาบอดในทารก

“ทันทีที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด มีการนำวิธีการรักษาใหม่ๆ หลายวิธีมาใช้แก้ปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด แต่ภายในไม่กี่ปีก็ปรากฏชัดว่าการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลทารกเหล่านี้ก่อผลร้ายที่ไม่คาดฝัน โศกนาฏกรรมทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่สุดคือ ‘การแพร่ระบาด’ ของอาการตาบอดจากจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด (retrolental fibroplasia) ในช่วงปี ค.ศ. 1942-1954 ความผิดปกตินี้สัมพันธ์กับการให้ออกซิเจนในการดูแลเด็กแรกเกิดที่มีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ โดยต้องใช้ความพยายามนานถึง 12 ปี กว่าจะหยุดการแพร่ระบาดของอาการนี้ได้ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้หลายคนตาสว่างว่าจำเป็นต้องมีการประเมินนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างเป็นระบบก่อนยอมให้นำมาใช้ได้ทั่วไป” Silverman WA. […]

| 0 Comments
Book cover

เรื่องเล่าก็เป็นแค่เรื่องเล่า

“สมองของเราดูจะโปรดปรานเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา เราเรียนรู้ได้ง่ายที่สุดผ่านเรื่องเล่าที่น่าสนใจ แต่ผมตกใจที่ผู้คนมากมาย ซึ่งรวมถึงเพื่อนผมหลายคน ไม่เห็นหลุมพรางของวิธีนี้ วิทยาศาสตร์รู้ ว่าเรื่องเล่าและประสบการณ์ส่วนตัวนั้นกลับขาวเป็นดำได้ จึงต้องมีผลที่ตรวจสอบได้และทำซ้ำได้ ในทางกลับกัน การแพทย์ช่วยให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าได้น้อยมาก มนุษย์มีความหลากหลายมากจนไม่อาจมั่นใจอะไรได้เลยในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน จึงมีช่องว่างเหลือเฟือให้ใช้การคาดเดา แต่เราต้องชัดเจนว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน เพราะหากเราล้ำเส้นจะทำลายหลักการของวิทยาศาสตร์ทันทีจะกลายเป็นเอาง่ายเข้าว่าจนข้อเท็จจริงและความคิดเห็นปนเปกันแทบแยกไม่ออก” Ross N. Foreword. In: Ernst […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งเต้านม : เป็นที่ยอมรับแต่ยังมีการถกเถียงกัน

เนื่องจากการคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสี (mammography) ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ เราจึงสันนิษฐานว่าคงมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าวิธีนี้มีประโยชน์มากกว่าโทษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ในปี ค.ศ. 2010 ว่า “การคัดกรองนี้ได้รับการศึกษาอย่างถี่ถ้วนที่สุดเท่าที่เคยมีมา หญิงกว่า 600,000 รายเข้าร่วมในการทดลองแบบสุ่ม 10 โครงการ ในช่วง 50 ปีมานี้ แต่ละโครงการก็ติดตามพวกเธอนานร่วม 10 […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 1 ใหม่กว่าแล้วดีกว่าไหม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะวิธีการรักษาใหม่มีโอกาสพอๆ กันที่จะแย่กว่า หรือดีกว่าวิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่ การตรวจสอบวิธีการรักษาที่ (ไม่เที่ยงธรรม) อาจทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและเสียชีวิต วิธีการรักษาที่อนุมัติให้ใช้แล้วก็ใช่ว่าปลอดภัยเสมอไป ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าอาการข้างเคียงจากวิธีการรักษาจะปรากฏ จากวิธีการรักษามักถูกเน้นเกินจริง ขณะที่มักถูกกลบเกลื่อน ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม หากขาดการประเมินอย่างเที่ยงธรรม…คือไม่ลำเอียง…ก็อาจมีการสั่งใช้วิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลหรือกระทั่งเป็นโทษเพราะนึกว่ามีประโยชน์ หรือตรงข้าม การรักษาที่ได้ผลก็อาจถูกละเลยเพราะมองว่าไม่มีประโยชน์ จึงควรตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมกับวิธีการรักษาทุกวิธี โดยไม่ต้องสนใจว่ามันมีที่มาอย่างไร หรือเป็นวิธีมาตรฐานหรือวิธีเสริม/ทางเลือกหรือไม่ ไม่ควรเชื่อทฤษฎีเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ […]

| 0 Comments
Book cover

อย่าถูกหลอกด้วยสถิติที่สะดุดตา

“สมมติว่าการมีคอเลสเตอรอลสูงจะเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันขึ้นร้อยละ 50 ในผู้ที่อายุอยู่ในช่วง 50 ปี ก็ฟังหนักหนาเอาการ แต่ถ้าความเสี่ยงนี้เพิ่มเพียงร้อยละ 2 ก็ฟังไม่เลวร้ายนัก แต่ทั้งสองค่าคือค่าเดียวกัน (ค่าเหล่านี้สมมติขึ้น) ลองคิดดังนี้ ในชายอายุในช่วง 50 ปีจำนวน 100 ราย หากมีคอเลสเตอรอลปกติ คาดว่า 4 […]

| 0 Comments
Book cover

คำถามที่ 3 : สถิติชวนสับสน ผู้ป่วยควรดูตัวเลขเหล่านี้จริงหรือ

วิธีนำเสนอตัวเลขอาจชวนให้ขยาด หรือกระทั่งทำให้เข้าใจผิดสิ้นเชิง แต่ถ้าต้องการเปรียบเทียบวิธีการรักษา 2 วิธี หรืออยากรู้จริงๆ ว่าโรคที่ตนเป็นส่งผลต่อผู้ป่วยรายอื่นอย่างไร ก็ต้องมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องอยู่ดี แต่วิธีนำเสนอตัวเลขบางวิธีอาจเป็นประโยชน์เมื่อเทียบกับวิธีอื่น วิธีดีที่สุดที่ทำให้ตัวเลขสื่อความได้ในประชาชนทั่วไป (และแพทย์ !)  คือการใช้ค่าความถี่ ซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็ม โดยทั่วไปจึงควรบอกว่า 15 คนใน 100 คน แทนที่จะบอกว่าร้อยละ […]

| 1 Comment
Book cover

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินแทบไม่ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย

“มีการทดลองไม่กี่เรื่องที่เปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ หรือการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว การศึกษาต่างๆ ทำในระยะสั้นจนไม่น่าเชื่อถือ เมื่อคำนึงถึงว่าโรคนั้นมีแนวโน้มจะเรื้อรังแทบตลอดชีวิต ดูเหมือนสิ่งที่รู้ชัดมีเพียงว่าวิธีการรักษาที่ใช้นั้นดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ที่สำคัญนักวิจัยละเลยประสบการณ์ มุมมอง ความต้องการ และ ความพึงพอใจของผู้ป่วย” อาร์ จ็อบลิง ประธานสมาคมโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis Association) Jobling R. Therapeutic research […]

| 0 Comments
Book cover

ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะศึกษาอะไร

เห็นชัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่เข้าที แต่เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งคือประเด็นวิจัยมักถูกบิดเบือนโดยปัจจัยภายนอก [22] เช่น อุตสาหกรรมยาทำการวิจัยเพื่อสนองเป้าหมายหลัก คือเพื่อให้ลุล่วงตามภาระหน้าที่ในการทำกำไรที่มีต่อผู้ถือหุ้น ส่วนความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ป่วยและแพทย์สำคัญรองลงมา ธุรกิจถูกชักจูงด้วยตลาดขนาดใหญ่ เช่น หญิงที่สงสัยว่าควรใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ซึมเศร้า วิตก กังวล หดหู่ หรือเจ็บปวด ทว่าในช่วงทศวรรษหลังๆ แนวทางแบบเล็งผลทางการค้านี้แทบไม่ได้ทำให้เกิดวิธีการรักษาใหม่ที่สำคัญ แม้แต่ในโรค “ยอดนิยม” […]

| 2 Comments
Book cover

อะโพรทินิน (Aprotinin) : ผลต่อการเลือดออกระหว่างและหลังการผ่าตัด

ผู้ให้ทุนวิจัย สถาบันวิชาการ นักวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย และวารสารทางวิทยาศาสตร์ ล้วนมีส่วนผิดในงานวิจัยที่ไม่จำเป็น (ดูบทที่ 9)ดังที่อธิบายในบทที่ 8 และที่แสดงในตัวอย่างงานวิจัยที่ไม่จำเป็นสองเรื่องข้างต้นงานวิจัยใหม่ควรวางแผน หรือดำเนินการหลังจากประเมินความรู้จากการวิจัยที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ที่น่าตกใจ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2005 เป็นเรื่องการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมเกี่ยวกับยาชื่ออะโพรทินิน เพื่อลดเลือดออกระหว่างหรือหลังผ่าตัด ยาชนิดนี้ได้ผล แต่ส่วนที่น่าตกใจคือยังมีการทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมต่อไป ทั้งที่หลักฐานจำนวนมากพิสูจน์นานแล้วว่ายาลดการให้เลือดลงอย่างเห็นได้ชัด […]

| 0 Comments
Book cover

โรคหลอดเลือดสมอง

อีกตัวอย่างของงานวิจัยที่ไม่จำเป็น ซึ่งเกิดเพราะไม่มีการรวบรวมและวิเคราะห์ผลจากการศึกษาก่อนๆ เช่นกัน เป็นเรื่องการรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยยาชื่อนิโมดิปีน (nimodipine ยาในกลุ่มยับยั้งตัว รับแคลเซียม [calcium antagonist]) หากจำกัดบริเวณที่สมองเสียหายได้ในผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง โอกาสเกิดความพิการก็น่าจะลดลง หลังจากการทดลองใช้นิโมดิปีนในสัตว์ให้ผลที่ดูเข้าที ก็เริ่มมีการทดลองยาดังกล่าวเพื่อการนี้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในทศวรรษ 1980 การทดลองซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1988 พบผลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในกลุ่มนี้ แต่ผลจากการทดลองอีกจำนวนมากเรื่องนิโมดิปีนและยาชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันกลับขัดแย้งกัน เมื่อมีการทบทวนหลักฐานจากการทดลองในคนทั้งหมดอย่างเป็นระบบในผู้ป่วยรวมเกือบ […]

| 2 Comments
Book cover

ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

งานวิจัยบางเรื่องก็ก้ำกึ่งระหว่างดีกับไม่ดี ได้แก่ งานที่ไม่จำเป็น ตัวอย่างงานลักษณะนี้เป็นเรื่องเด็กท่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้เกิดเร็วกว่าที่ควร ปอดจึงอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กจึงเสี่ยงมีอาการแทรกซ้อนที่ถึงชีวิต เช่น ภาวะหายใจลำบาก ก่อนช่วงต้นทศวรรษ 1980 มีหลักฐานจำนวนมากว่าการให้สเตียรอยด์ในหญิงมีครรภ์ที่เสี่ยงจะคลอดก่อนกำหนด ลดความถี่ที่ทารกจะมีอาการหายใจลำบากและเสียชีวิต แต่ในช่วงทศวรรษถัดมา ยังมีการทดลองโดยเปรียบเทียบสเตียรอยด์กับยาหลอกหรือการไม่รักษา หากมีการทบทวนผลการทดลองเรื่องก่อนๆ อย่างเป็นระบบ แล้วรวมผลด้วยการวิเคราะห์เชิงอภิมาน (ดูบทที่ 7 […]

| 0 Comments
Book cover

โรคทางจิตเวช

น่าเสียดายที่บางครั้งงานวิจัยก็ขาดคุณภาพ หรือไม่ตรงประเด็น ดังตัวอย่างในอาการที่ทรมาน เรียกว่ากลุ่มอาการเคลื่อนไหวผิดปกติจากยา (tardive dyskinesia) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยาต้านอาการทางจิต (antipsychotic) เป็นเวลานานเพื่อรักษาโรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคจิตเภท อาการเด่นที่สุดคือ การที่ปากและใบหน้าขยับเองซ้ำๆ ทั้งหน้า บูดเบี้ยว เลียปาก แลบลิ้นบ่อยๆ และดูดกระพุ้งแก้ม หรือทำแก้มพอง โดยอาจมีมือเท้ากระตุกร่วมด้วย ผู้ป่วย […]

| 0 Comments
Book cover

การติดเชื้อไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) ในเด็ก

ผลจากงานวิจัยที่มีคุณภาพยังเป็นประโยชน์ต่อเด็กที่ติดเชื้อ HIV ซึ่งก่อโรคเอดส์ (AIDS) ตัวเลขจากโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (the joint United Nations Programme on HIV / AIDS หรือ UNAIDS) เมื่อปลายปีค.ศ. 2009 ชี้ว่ามีเด็กที่มีเชื้อ HIV […]

| 0 Comments
Book cover

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ระยะก่อนชัก (Pre-eclampsia)

อีกตัวอย่างที่เด่นชัดของงานวิจัยที่ดีเป็นเรื่องหญิงมีครรภ์ ในแต่ละปี หญิงมีครรภ์ราว 600,000 รายทั่วโลกเสียชีวิตเนื่องจากอาการแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่เกิดในประเทศกำลังพัฒนา การเสียชีวิตในหลายกรณีสัมพันธ์กับการชักระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการชักร่วมด้วย ภาวะนี้ร้ายแรงจนอาจคร่าชีวิตทั้งแม่และลูก หญิงที่มีภาวะเสี่ยง คือภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ระยะก่อนชัก (เรียกอีกชื่อว่า ครรภ์เป็นพิษ) จะมีความดันโลหิตสูง และพบโปรตีนในปัสสาวะ ในปี ค.ศ. 1995 งานวิจัยพิสูจน์ว่าการฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งเป็นยาพื้นๆ […]

| 2 Comments
Book cover

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกคือ 1-2 ใน 6 และเพิ่มเป็น 4 ใน 6 ในครั้งถัดๆ ไป หนึ่งในสาเหตุของโรคนี้คือการตีบ (stenosis) ของหลอดเลือดแดงคาโรทิด ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงบริเวณ คอที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง บางครั้งไขมันที่สะสมด้านในหลอดเลือดแดงคาโรทิดก็ปริแตกและอุดตันแขนงหลอดเลือดแดงที่ขนาดเล็กกว่า จนเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในทศวรรษ 1950 […]

| 0 Comments
Book cover

โลกในฝัน

“โลกในฝัน เราสามารถเก็บข้อมูลผลการรักษาโดยไม่ระบุตัวตนและเปรียบเทียบกับประวัติการรักษาได้เต็มที่ เว้นแต่ในผู้ที่ห่วงความเป็นส่วนตัวมากกว่าชีวิตผู้อื่น…หากผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาแต่ยังไม่แน่นอนจริงๆ ว่าวิธีใดดีที่สุด ผู้ป่วยจะถูกสุ่มอย่างเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพให้รับวิธีการรักษาหนึ่ง พร้อมติดตามการเปลี่ยนแปลง โลกในฝัน แนวคิดเช่นนี้จะผสานเป็นหนึ่งเดียวกับแนวคิดเรื่องการดูแลสุขภาพของเราจนผู้ป่วยเห็นเป็นเรื่องธรรมดา” Goldacre B. Pharmaco-epidemiology would be fascinating enough even if society didn’t manage […]

| 0 Comments
Book cover

ใครบอกว่างานวิจัยด้านการแพทย์มีผลเสียต่อสุขภาพของเรา

“ส่วนใหญ่การอภิปรายเกี่ยวกับจริยธรรมในงานวิจัยด้านการแพทย์มักตั้งคำถามว่าควรกำกับงานวิจัยอย่างไร อันที่จริง งานวิจัยด้านการแพทย์ถูกกวดขันมากกว่าเวชปฏิบัติในหลายด้าน ถ้าผู้อ่าน พิจารณาแนวทางการทำวิจัยด้านการแพทย์ที่มีอยู่นับไม่ถ้วนแล้ว คิดว่างานวิจัยด้านการแพทย์เป็นอันตรายต่อสุขภาพพอๆ กับการสูบบุหรี่ก็คงโทษผู้อ่านไม่ได้” Hope T. Medical ethics: a very short introduction. Oxford: Oxford University Press, 2004, […]

| 0 Comments
Book cover

ระบบกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษาเหมาะสมหรือไม่

การกำกับงานวิจัยที่เข้มงวดทำให้อุ่นใจ แต่ก่อความลำบากยากเข็ญแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาวิธีการรักษาที่ยังขาดการประเมินอย่างมีคุณภาพแทนที่จะปล่อยให้ผู้ป่วยใช้วิธีดังกล่าวในเวชปฏิบัติตามปกติ ในหลายประเทศ ระบบทั้งด้านกฎหมาย หน่วยงาน มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ และอื่นๆ ซับซ้อนวุ่นวายและกินเวลา นักวิจัยต้องขออนุมัติซ้ำๆ จากหลายแห่ง บางครั้งจึงประสบปัญหาข้อกำหนดที่ขัดแย้งกัน นอกจากนี้ โดยรวมระบบนี้ยังอาจกีดกันและขัดขวางการเก็บข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การดูแลสุขภาพปลอดภัยขึ้น เช่น แม้การใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพว่าด้วยการเก็บความลับจะเป็นไปด้วยเจตนาดี แต่ก็ทำให้นักวิจัยหืดขึ้นคอในการเก็บข้อมูลทั่วๆ ไป ซึ่งอาจช่วยให้ค้นพบผลข้างเคียงจากวิธีการรักษาได้แม่นยำจากเวชระเบียน[ท] กว่านักวิจัยที่วางแผนทำการทดลองในคนจะได้เริ่มเชิญชวนผู้ป่วยก็ต้องใช้เวลาหลายปีนับจากริเริ่ม อีกทั้งกระทั่งการเชิญชวนให้เข้าร่วมการทดลองก็อาจเชื่องช้าเนื่องจากมาตรการควบคุมต่างๆ แต่ระหว่างที่นักวิจัยฟันฝ่าด่านต่างๆ […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 9 การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วย หรือตัวถ่วง

ประเด็นสำคัญ การกำกับซับซ้อนเกินจำเป็น ระบบกำกับงานวิจัยในปัจจุบันขัดขวางซึ่งเป็นไปเพื่อการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น แม้ระบบกำกับงานวิจัยจะมีข้อกำหนดเข้มงวดที่นักวิจัยต้องปฏิบัติ แต่ระบบแทบไม่อาจรับรองว่าการศึกษาที่วางแผนจะทำมีความจำเป็นจริง การกำกับงานวิจัยแทบไม่สนใจติดตามสังเกตงานวิจัยที่อนุมัติให้ทำแล้ว ถึงตอนนี้ผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าบ่อยครั้งที่วิธีการรักษายังขาดการประเมินอย่างถี่ถ้วน และผลการรักษาก็ยังไม่แน่นอนทั้งที่ไม่ควร ถึงอย่างนั้น ดังที่ผู้เขียนให้ความเห็นในบทที่ 5 ทัศนคติแบบเดิมๆ ยังคงเหนี่ยวรั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพไม่ให้ร่วมมือกับผู้ป่วยเพื่อให้ได้ความกระจ่างเรื่องผลการรักษา น่าแปลกที่มาตรการกำกับการวิจัยทางการแพทย์ในประเทศส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา โดยบังคับให้แบ่งแยกการวิจัยออกจากการรักษา งานวิจัยถูกตีขลุมว่าเป็นกระบวนการที่อันตรายมากจนต้องดูแลเข้มงวด ส่วนการรักษาทั่วไปถูกมองว่าสร้างปัญหาน้อยกว่า ทั้งที่ผู้ป่วยอาจรับความเสี่ยงจากการใช้วิธีการรักษานอกงานวิจัย โดยยังไม่ผ่านการประเมิน หรือผ่านการประเมินที่ด้อยคุณภาพ […]

| 3 Comments
Book cover

คำแนะนำให้ผู้เขียนรวมผลการวิจัยเข้ากับความรู้เดิม โดยบรรณาธิการวารสารทางการแพทย์ เดอะแลนเซ็ต

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ หัวข้อนี้ควรครอบคลุมรายละเอียดว่าผู้เขียนค้นหาหลักฐานทั้งหมดอย่างไร และผู้เขียนควรอธิบายวิธีประเมินคุณภาพของหลักฐานนั้นๆ เช่น เลือกและรวมหลักฐานเข้าด้วยกันอย่างไร การแปลผล ผู้เขียนควรอธิบายในหัวข้อนี้ว่าการศึกษาของตนช่วยให้องค์ความรู้สมบูรณ์ขึ้นอย่างไร เมื่อผนวกเข้ากับงานเรื่องก่อนๆ “รายงานวิจัยทุกชิ้น ไม่ว่าเป็นแบบสุ่มหรือไม่ ที่ยื่นนับจากวันที่ 1 ส.ค. กรุณา…รวมผลเข้ากับองค์ความรู้เดิมในหัวข้ออภิปรายผล” Clark S, Horton R. Putting research […]

| 0 Comments
Book cover

ถ้าตรวจสอบหลักฐานก่อนจะป้องกันการเสียชีวิตได้ไหม

“เหตุสลดที่เลี่ยงได้เกิดกับเอลเลน โรช อายุ 24 ปี อาสาสมัครสุขภาพดีในการศึกษาโรคหืด ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เธอเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน (ปี ค.ศ. 2001) เพราะสารเคมีที่ขอให้เธอสูดเข้าไปทำให้ปอดและไตค่อยๆ ล้มเหลว หลังจากความสูญเสียนี้จึงได้ปรากฎว่าทั้งนักวิจัยและคณะกรรมการจริยธรรมที่อนุมัติให้ทำการศึกษามองข้ามคำใบ้มากมายเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีดังกล่าว ซึ่งคือ เฮ็กซาเมโทเนียม […]

| 0 Comments
Book cover

วิทยาศาสตร์คือการสะสมแต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้รวบรวม หลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

“นักวิจัยสายวิชาการพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘การวิเคราะห์เชิงอภิมานสะสม (cumulative meta-analysis)’ มานาน 25 ปีแล้ว โดยหลักการคือการทำการวิเคราะห์เชิงอภิมานเกี่ยวกับมาตรการหนึ่งๆ อยู่เป็นระยะๆ เมื่อการศึกษาหนึ่งเสร็จสิ้น ก็เติมค่าที่ได้เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้ผลรวมที่ทันเหตุการณ์ และให้รู้ชัดว่าผลที่ได้ชี้ไปในทิศทางใด ประโยชน์สูงสุดของวิธีนี้คือมีโอกาสสูงที่จะสังเกตเห็นคำตอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติทันทีที่ปรากฏ โดยไม่ต้องเสี่ยงหลายชีวิตในการศึกษาเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น” Goldacre B. Bad Science: How pools […]

| 0 Comments
Book cover

การแพทย์แบบอิงการตลาด

“เอกสารเป็นการภายในจากอุตสาหกรรมยาบ่งบอกว่า หลักฐานที่สาธารณชนเข้าถึงได้อาจไม่แสดงถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างเที่ยงตรง อุตสาหกรรมดังกล่าวและพันธมิตรในบรรษัทสื่อสารการแพทย์กล่าวว่า การตีพิมพ์บทความทางการแพทย์เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการตลาดเป็นหลักการปกปิดและบิดเบือนผลที่เป็นเชิงลบ และการจ้างเขียน (ดูบทที่ 10 หน้า 207) กลายเป็นเครื่องมือช่วยจัดการผลงานตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ให้เหมาะแก่การขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่สุด ทั้งยังหารายได้จากโรคและแบ่งแพทย์เป็นกลุ่มการตลาด เพื่อรีดผลกำไรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราจึงอยากชี้ว่าแม้การแพทย์แบบอิงหลักฐานจะเป็นอุดมคติสูงส่ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันคือการแพทย์แบบอิงการตลาด” Spielmans GI, Parry PI. From […]

| 1 Comment
Book cover

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

“การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานมีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในการดูแลสุขภาพ แพทย์อ่านงานเหล่านี้เพื่อให้ทันเหตุการณ์ในสาขาของตน ทั้งยังมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ หน่วยงานให้ทุนวิจัยอาจต้องการการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อยืนยันว่ามีเหตุสมควรให้ทำงานวิจัยเพิ่มเติม วารสารวิชาการด้านการดูแลสุขภาพบางฉบับก็มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับงานวิจัยทุกชนิด คุณค่าของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำ สิ่งที่พบ และความชัดเจนในการรายงาน แต่คุณภาพของการรายงานประเภทนี้ก็สะเปะสะปะไม่ต่างจากงานตีพิมพ์อื่นๆ ซึ่งทำให้ ผู้อ่านประเมินข้อดีและข้อด้อยของการทบทวนเหล่านั้นได้ยาก” Moher D, Liberati A, Tetzlaff, Altman […]

| 0 Comments
Book cover

การสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย

เมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว ลอร์ดเรย์ลี ประธานสมาคมพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (British Association for the Advancement  of  Science) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องรวมผลจากการวิจัยเรื่องใหม่เข้าในบริบทเดียวกับหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องว่า “ถ้าวิทยาศาสตร์เป็นอย่างที่เข้าใจกันในบางครั้ง คือประกอบด้วยข้อเท็จจริงล้วนๆ ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยความอุตสาหะ ไม่นานมันก็จะหยุดชะงัก แล้วล่มสลายเพราะความหนักของมันเอง…จึงมี 2 กระบวนการที่ดำเนินไปเคียงข้างกัน คือ การยอมรับสิ่งใหม่และการทำความเข้าใจสิ่งเดิมจนนำมาใช้ใหม่ได้ […]

| 0 Comments
Book cover

ทำไมจึงเริ่มทำ

“แทบไม่มีหลักการใดที่เป็นรากฐานของการวิจัยเชิงคลินิกในทางวิทยาศาสตร์และความถูกต้องทางจริยธรรม ยิ่งกว่าการที่การศึกษาควรตอบคำถามที่เป็นประโยชน์ และควรออกแบบในลักษณะที่จะ ให้คำตอบที่นำไปใช้ได้ การจะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดนี้ได้ ต้องมีการค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งทำก่อนหน้านั้นอย่างครอบคลุม…หากหลักฐานดังกล่าวไม่ครบถ้วนจะเป็นการละเมิดข้อตกลงด้านจริยธรรมที่มีต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่ว่า ข้อมูลซึ่งได้รับจากพวกเขามีความสำคัญและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น” Robinson KA, Goodman SN. A systematic examination of the citation of prior research […]

| 0 Comments
Book cover

รายงานวิจัยเรื่องใหม่ควรเริ่มต้นและปิดท้ายด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

รายงานจากการศึกษา [20] เพื่อประเมินผลของการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลัน เป็นตัวอย่างว่าจะตอบคำถามทั้ง 4 ข้อของแบรดฟอร์ด ฮิลล์ได้อย่างไร นักวิจัยกลุ่มนี้อธิบายว่าเริ่มทำการศึกษานี้ เนื่องจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบที่พวกเขาทำโดยใช้หลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมดร่วมกับหลักฐานว่ามีความแตกต่างในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว พบว่ามีความไม่แน่นอนข้อสำคัญเรื่องผลของวิธีการรักษาที่ใช้กัน เพิ่มเติม: เอกสารอ้างอิง (บทที่ 8) บทถัดไป: บทที่ 9 การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วยหรือตัวถ่วง

| 0 Comments
Book cover

ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย

ผลเสียของการไม่ทบทวนหลักฐานจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้และเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มีเพียงก่ออันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้เข้าร่วมในงานวิจัยนั้น เพราะยังอาจทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลและการวิจัยด้านสุขภาพ เช่น ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ผู้ป่วยรวมกว่า 8,000 ราย เข้าร่วมในการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับยาชนิดใหม่ที่เสนอให้ใช้ในโรคหลอดเลือดสมอง นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ทบทวนผลจากการศึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มนี้อย่างเป็นระบบ โดยไม่พบผลที่เป็นประโยชน์ (ดูบทที่ 10) [17] จึงตัดสินใจทบทวนผลจากการตรวจสอบยาดังกล่าวที่เคยทำในสัตว์ ซึ่งก็ยังไม่พบประโยชน์ใดๆ [18] หากนักวิจัยที่ทดลองในสัตว์และนักวิจัยที่ศึกษาในคนทบทวนผลจากการศึกษาในสัตว์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ผลดัง […]

| 2 Comments
Book cover

อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย

การไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งที่เลี่ยงได้ นักวิจัยยังถูกว่าจ้างให้ทำการศึกษาซึ่งระงับการใช้วิธีการรักษาที่รู้ว่ามีประสิทธิผล เช่น เนิ่นนานหลังจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือแสดงว่า การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดลำไส้ช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อน นักวิจัยยังคงทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยไม่ให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยครึ่งหนึ่ง การที่นักวิจัยละเลยการทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ ตัดโอกาสที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาครึ่งหนึ่งจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่าเป็นประโยชน์ มีหลักฐานว่าความบกพร่องร้ายแรงนี้ยังไม่เป็นที่สนใจทั้งจากหน่วยงานที่ให้ทุนแก่งานวิจัยและจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยซึ่งทบทวนโครงร่างงานวิจัย แต่กลับไม่โต้แย้งนักวิจัย หากนักวิจัยไม่ประเมินสิ่งที่รู้อยู่แล้วเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษานั้นๆ อย่างเป็นระบบนอกจากผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีการรักษาจะต้องเสี่ยง ยังอาจส่งผลเสียต่ออาสาสมัครสุขภาพดีด้วย ระยะแรกในการตรวจสอบวิธีการรักษามักทำในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวนน้อยในปี ค.ศ. 2006 ชายหนุ่มอาสาสมัคร 6 รายของหน่วยวิจัยเอกชนในเวสต์ลอนดอน […]

| 0 Comments
Book cover

อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้

มีการนำวิธีที่แนะนำให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งตีพิมพ์ในตำรามานานกว่า 30 ปี มาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ถูกละเลย เพราะผู้เขียนตำราไม่ได้ทบทวนรายงานการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมในช่วงนั้นอย่างเป็นระบบ [11] การเปรียบเทียบพบว่าคำแนะนำในตำรามักผิดพลาด เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ทบทวนหลักฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ผลจากการนี้รุนแรงแสนสาหัส เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเสียโอกาสได้รับวิธีการรักษาที่ช่วยชีวิตได้ (เช่น ยาละลายลิ่มเลือด) หรือกระทั่งหลังจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมพิสูจน์แล้วว่าวิธีการรักษาหนึ่งๆ เป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์กลับยังแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวต่อไปอีกนาน เช่น การใช้ยาที่ลดความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่กำลังมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (ดูข้างต้นและบทที่ 2) […]

| 0 Comments
Book cover

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ต้องนำหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องมาทบทวนอย่างเป็นระบบ เพื่อดูว่าเรารู้อะไรแล้วบ้าง ทั้งจากงานวิจัยในสัตว์ ห้องปฏิบัติการ และการทดลองใช้วิธีการรักษาใหม่ ซึ่งบางครั้งก็ทำกับอาสาสมัครสุขภาพดี หรืองานวิจัยก่อนหน้าที่ทำในผู้ป่วย ถ้าขั้นตอนนี้ถูกละเลย หรือไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาอาจร้ายแรง กล่าวคือ ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยอาจทรมานจนเสียชีวิตโดยไม่สมควร สูญทรัพยากรล้ำค่าทั้งในการดูแลสุขภาพและงานวิจัย เนื้อเรื่องย่อย อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้ อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย ถัดไป: รายงานวิจัยเรื่องใหม่ควรเริ่มต้นและปิดท้ายด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ  

| 2 Comments
Book cover

คำนึงถึงการตักตวงผลประโยชน์และการบิดเบือนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

จะเป็นอย่างไรหากผู้ทบทวนวรรณกรรมมีผลประโยชน์อื่นซึ่งอาจกระทบการดำเนินงานหรือการแปลผล โดยอาจได้รับเงินจากบริษัทผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ที่ตรวจสอบอยู่  เมื่อประเมินหลักฐานเรื่องผลจากน้ำมันอีฟนิงพริมโรสต่อผื่นผิวหนังอักเสบผู้ทบทวนวรรณกรรมซึ่งเกี่ยวพันกับผู้ผลิตยาได้ข้อสรุปว่าน้ำมันนี้น่าประทับใจกว่าที่ผู้ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าสรุป (ดูบทที่ 2) แต่การทบทวนที่ลำเอียงไม่ได้เกิดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดได้จากอคติของทุกคน ทั้งนักวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและผู้ป่วย น่าผิดหวังที่บางครั้งผู้ตักตวงผลประโยชน์ ใช้ความลำเอียงปรับวิธีการรักษาให้ดูดีกว่าที่เป็นจริง. (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 10)[8] ซึ่งเกิดเมื่อนักวิจัยบางส่วนจงใจเพิกเฉยหลักฐานที่มี โดยมักเป็นเพราะเหตุผลทางการค้า แต่บ้างก็ด้วยเหตุอื่น พวกเขาออกแบบ วิเคราะห์และรายงานผลจากงานวิจัย โดยตกแต่งผลเกี่ยวกับวิธีการรักษาหนึ่งๆ ให้เป็นด้านบวก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษ […]

| 2 Comments
Book cover

การลดผลจากความบังเอิญในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ในบทที่ 7 ผู้เขียนอธิบายวิธีลดผลจากความบังเอิญโดยรวมข้อมูลจากการศึกษาที่เป็นเอกเทศแต่คล้ายคลึงกันด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การวิเคราะห์เชิงอภิมาน” พร้อมยกตัวอย่าง 5 การศึกษาจาก 5 ประเทศที่แยกกันดำเนินการและรับทุนเพื่อไขข้อข้องใจนาน 60 ปีว่า ทารกซึ่งคลอดก่อนกำหนดต้องมีระดับออกซิเจนในเลือดเท่าใดจึงจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตโดยไม่พิการร้ายแรง ตัวอย่างนี้ทำให้เห็นภาพว่าสามารถวางแผน กระบวนการดังกล่าวก่อนได้ผลการศึกษา ทั้งยังทำหลังการศึกษาซึ่งคล้าย กันจำนวนหนึ่งเสร็จสมบูรณ์ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1974 […]

| 0 Comments
Book cover

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงภาษา หรือรูปแบบการรายงานนั้นยากเอาเรื่อง ปัญหาสำคัญคือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องบางชิ้นไม่ได้รายงานต่อสาธารณะ การรายงานไม่ครบถ้วนมีสาเหตุหลักจากการที่นักวิจัยไม่เขียนหรือส่งรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เนื่องจากผลไม่ได้ดังใจ บริษัทยาปกปิดการศึกษาที่ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของตน ส่วนวารสารก็มักลำเอียงโดยปฏิเสธรายงานที่ส่งเข้ามา เพราะเห็นว่าผลไม่ “น่าตื่นเต้น” พอ [3] การรายงานงานวิจัยไม่ครบถ้วนด้วยความลำเอียงนั้น ผิดทั้งหลักวิทยาศาสตร์และจริยธรรม โดยเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่าเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังใคร่ครวญเลือกวิธีการรักษาอาจจะเข้าใจผิด เพราะมีโอกาสน้อยที่จะมีการรายงานการศึกษาซึ่งได้ผล “ไม่ได้ดังใจ” หรือ […]

| 0 Comments
Book cover

การลดความลำเอียงในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

เช่นเดียวกับที่ความลำเอียงอาจบิดเบือนการตรวจสอบวิธีการรักษาหนึ่งๆ จนได้ข้อสรุปที่เป็นเท็จ มันยังบิดเบือนการทบทวนวรรณกรรมได้เช่นกัน เช่น นักวิจัยอาจจะ “คัด” การศึกษา “งามๆ” ที่รู้ว่าจะช่วยหนุนคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ตนต้องการจะสื่อ เพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ควรวางแผนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบไว้เป็นโครงร่างการวิจัย เช่นเดียวกับงานวิจัยเดี่ยวๆ โดยโครงร่างต้องชี้แจงว่านักวิจัยจะใช้วิธีใดลดความลำเอียงและผลจากความบังเอิญ ขณะเตรียมการทบทวนวรรณกรรม รวมถึงระบุว่าการทบทวนจะตอบคำถามใดเกี่ยวกับวิธีการรักษาเกณฑ์การคัดการศึกษาเข้า วิธีค้นหาการศึกษาที่มีแนวโน้มเข้าเกณฑ์ ขั้นตอนการลดความลำเอียงในการคัดการศึกษาเข้า และขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ถัดไป: การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

| 0 Comments
Book cover

การทบทวนหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องท้ังหมดอย่างเป็นระบบ

การบอกว่าเราควรทบทวนผลจากการศึกษาหนึ่งๆ ร่วมกับหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องง่าย แต่ทำได้ยากในหลายแง่ การทบทวนวรรณกรรมมีความสำคัญ เพราะประชาชนควรเชื่อถือมันได้ จึงต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด การทบทวนที่ดูเหมือนพยายามตอบคำถามเดียวกันเรื่องวิธีการรักษาหนึ่งๆ อาจได้ข้อสรุปแตกต่างกัน บ้างก็เป็นเพราะคำถามต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย หรือเพราะวิธีวิจัยที่นักวิจัยใช้แตกต่างกัน และ บ้างก็เป็นเพราะนักวิจัย “บิด” ข้อสรุป จึงสำคัญที่ต้องค้นหาการทบทวนวรรณกรรมที่ตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีการรักษา ซึ่งเข้ากันได้กับคำถามที่เราสนใจ มีความเป็นไปได้สูงว่าออกแบบมาให้ลดผลจากความลำเอียงและความบังเอิญได้ ทั้งยังได้ข้อสรุปที่ตรงไปตรงมาตามที่หลักฐานบ่งชี้ เนื้อเรื่องย่อย […]

| 0 Comments
Book cover

แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

คำตอบง่ายๆ คือ “มักไม่พอ” น้อยครงทการเปรียบเทียบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมเพียงเรื่องเดียว ให้หลักฐานที่เชื่อถือได้พอนำมาใช้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ แต่ก็เป็นไปได้ในบางกรณี หนึ่งในการศึกษาหายากเหล่านี้พิสูจน์ว่าการใช้แอสไพรินในช่วงที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร [1] อีกการศึกษาหนึ่งชี้ชัดว่าการให้สเตียรอยด์ในคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลันคร่าชีวิตได้ (ดูด้านล่างและบทที่ 7) และการศึกษาที่สามพบว่าคาเฟอีนเป็นยาชนิดเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าป้องกันสมองพิการในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดาหนด (ดูบทที่ 5) แต่ปกติการศึกษาเดี่ยวๆ ก็เป็นเพียงหนึ่งในการเปรียบเทียบมากมาย ซึ่งตอบคำถามเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน จึงควรประเมินหลักฐานที่ได้จากแต่ละการศึกษาร่วมกับการศึกษาอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน […]

| 1 Comment
Book cover

บทที่ 8 ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ประเด็นสำคัญ เดี่ยวมักให้หลักฐานไม่เพียงพอเป็นแนวทางเพื่อเลือกวิธีในการดูแลสุขภาพ การประเมินข้อดีของวิธีการรักษาต่างๆ ควรอิงเชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องมีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากและผลจากซึ่งทำให้เข้าใจผิด เช่นเดียวกับในการศึกษาเดี่ยวเพื่อตรวจสอบวิธีการรักษา การไม่พิจารณาผลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยทั้งที่หลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลสุขภาพและการวิจัย ถัดไป: แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

| 0 Comments
Book cover

“มีนัยสำคัญทางสถิติ” หมายความว่าอย่างไร

“อันที่จริงการมีนัยสำคัญทางสถิติเป็นแนวคิดที่ยุ่งยาก มันบอกเราได้ว่าความแตกต่างเกิดจากความบังเอิญหรือไม่ เช่น ระหว่างยาจริงกับยาหลอก หรือระหว่างอายุคาดเฉลยของคน 2 กลุ่ม…โดยแปล ว่าความแตกต่างเท่าที่สังเกตพบไม่น่าจะเกิดเพียงเพราะบังเอิญ นักสถิติใช้ระดับมาตรฐานของการที่ ‘ไม่น่าจะบังเอิญ’ โดยทั่วไปใช้นัยสำคัญที่ร้อยละ 5 (อาจเขียนได้ว่า p = 0.05) ในกรณีนี้จะถือว่าความแตกต่างนั้นๆ ‘มีนัยสำคัญ’ เมื่อมีโอกาสน้อยกว่า 1 […]

| 0 Comments
Book cover

การได้จำนวนที่มากพอในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

บางครั้งเมื่อตรวจสอบวิธีการรักษา ก็อาจได้จำนวนคนมากพอจากงานวิจัยที่ทำใน 1 หรือ 2 แหล่งวิจัย แต่การประเมินผลการรักษาที่เกิดน้อย เช่น การเสียชีวิตมักจำเป็นต้องเชิญชวนผู้ป่วยจากหลายแหล่ง      บ่อยครั้งก็จากหลายประเทศ ให้เข้าร่วมในงานวิจัยเพื่อให้ได้หลักฐานที่เชื่อถือได้ เช่น การศึกษาในผู้ป่วย 10,000 รายจาก 13 ประเทศ พิสูจน์ว่าการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บรุนแรง  ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันมากว่า 30 […]

| 1 Comment
Book cover

วิธีการรักษา “แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” แปลว่าอะไร

คำถามนี้ตอบยาก เพราะ “ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ” อาจแปลได้หลายอย่าง อย่างแรก คือ ความแตกต่างที่สำคัญต่อผู้ป่วยจริง ทว่าเมื่อผู้เขียนรายงานวิจัยกล่าวว่าวิธีการรักษา “แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” พวกเขามักหมายถึง “ความแตกต่างทางสถิติ” ทั้งนี้ “ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ”  อาจไม่ได้ “มีนัยสำคัญ” ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป “ความแตกต่าง” ระหว่างวิธีการรักษา “ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ” ซึ่งก็คือ […]

| 2 Comments
Book cover

การประเมินผลจากความบังเอิญในการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม

ผลจากความบังเอิญอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ 2 ลักษณะในการแปลผลการเปรียบเทียบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม คือเราอาจสรุปพลาดว่าวิธีการรักษาให้ผลการรักษาต่างกัน ทั้งที่จริงไม่ต่าง หรือกลับกัน ยิ่งสนใจสังเกตผลการรักษาจำนวนมากเท่าใด แนวโน้มที่เราจะเข้าใจผิดเช่นนี้ก็ยิ่งต่ำลงเท่านั้น การหา “ความแตกต่างที่แท้จริง” ระหว่างวิธีการรักษาต่างๆ นั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่อาจเปรียบเทียบวิธีการรักษาในคนทุกคนที่เป็น หรือจะเป็นโรคนั้น การศึกษาจึงต้องพยายามคาดเดาให้ใกล้เคียงที่สุดแทนว่าความแตกต่างที่แท้จริงน่าจะเป็นเท่าไร ความน่าเชื่อถือของความแตกต่างที่ประมาณได้มักแสดงในรูป “ช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval)” โดยระบุช่วงที่น่าจะครอบคลุมความแตกต่างที่แท้จริง […]

| 4 Comments
Book cover

บทที่ 7 คำนึงถึงผลจากความบังเอิญ

ประเด็นสำคัญ ต้องมีการพิจารณา โดยประเมินว่าเชื่อมั่นคุณภาพและจำนวนของหลักฐานที่มีได้เพียงใด ความบังเอิญและกฎว่าด้วยจำนวนมาก การป้องกัน (และการแก้ไขความลำเอียงที่ไม่ได้ป้องกันไว้) ทำให้เกี่ยวกับผลเชื่อถือได้ หากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมขาดองค์ประกอบเหล่านี้ ต่อให้ปรับผลจากการวิจัยอย่างไรก็ไม่อาจแก้ปัญหารวมถึงผลกระทบจากปัญหาที่อาจคร่าชีวิตได้ (ดูบทที่ 1 และ 2) และแม้เมื่อลดความลำเอียงได้ด้วยขั้นตอนต่างๆ แล้ว เราก็ยังอาจถูกความบังเอิญหลอกเอาได้ ทุกคนรู้ว่าถ้าโยนเหรียญซ้ำๆ จะออกหัวหรือก้อย “ติดกัน” 5 […]

| 1 Comment
Book cover

การเกิดและตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับผลเสียที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา

การเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพหรือผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มเฉลียวใจเรื่องผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา ทั้งที่ร้ายและดี [10] เนื่องจากการตรวจสอบวิธีการรักษาซึ่งต้องใช้เพื่อขออนุญาตวางจำหน่าย ทำกับคนเพียงไม่กี่ร้อย หรือไม่กี่พันคน และให้วิธีการรักษานานไม่กี่เดือน ในขั้นนี้จึงมักพบ เพียงผลข้างเคียงระยะสั้นและผลข้างเคียงที่พบบ่อย ต้องรอจนมีการใช้วิธีการรักษาดังกล่าวกันแพร่หลายขึ้น เป็นระยะเวลานานขึ้นและในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายกว่าที่เข้าร่วมในการตรวจสอบเพื่อขออนุญาต จึงจะพบผลข้างเคียงที่พบได้ยาก หรือที่ใช้เวลากว่าจะแสดงออก ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก […]

| 2 Comments
Book cover

ผลการรักษาที่ประเมินอย่างเที่ยงธรรม

นอกจากจะมีการใช้วิธีการรักษาเทียมในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์ทำตามวิธีที่จัดสรรให้แล้ว ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่รู้กันแพร่หลายคือ “การปกปิด” เช่นนี้ เป็นไปเพื่อลดขณะประเมินการรักษา การปกปิดเพื่อการนี้มีความเป็นมาน่าสนใจ เพื่อการนี้มีความเป็นมาที่น่าสนใจในศตวรรษที่ 18 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสรับสั่งให้มีการตรวจสอบคำกล่าวอ้างของอันตอง เมสเมอร์ ที่ว่า “การสะกดจิต (animal magnetism หรือ mesmerism)” มีประโยชน์ […]

| 2 Comments
Book cover

ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาใช้วิธีการรักษาตามที่จัดสรรให้

ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา วิธีที่วางแผนไว้อาจแตกต่างจาก วิธีที่ใช้จริงในหลายรูปแบบ ซึ่งอาจทำให้การแปลผลการตรวจสอบวิธีการ รักษายิ่งซับซ้อน ผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยไม่ควรถูกกีดกันไม่ให้ได้รับวิธีการรักษาที่จำเป็น เมื่อทำการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมเพื่อศึกษาวิธีการรักษาแบบใหม่ที่หวังว่าจะมีประโยชน์แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ ควรมีการรับรองกับผู้ป่วยที่เข้าร่วมว่าทุกคนจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่ามีประสิทธิผล หากมีคนรู้ว่าใครจะได้รับอะไรในการศึกษาหนึ่งๆ ก็อาจเกิดความลำเอียงหลายประการ ประการแรกคือ ผู้ป่วยและแพทย์อาจรู้สึกว่าผู้ที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษา “ใหม่” โชคดีจนอาจเสริมแต่งประโยชน์ของวิธีการรักษาเหล่านี้เกินจริงโดยไม่รู้ตัว ตรงกันข้ามผู้ป่วยและแพทย์อาจรู้สึกว่าผู้ที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษาที่ “เก่ากว่า” เสียโอกาส ซึ่งความผิดหวัง นี้อาจทำให้ประเมินผลดีต่ำกว่าที่เป็นจริง นอกจากนี้แพทย์ยังอาจให้การดูแลรักษาเสริมแก่ผู้ป่วยที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษาที่เก่ากว่า […]

| 2 Comments
Book cover

การจัดการเมื่อมีสิ่งที่ผิดไปจากวิธีการรักษาที่จัดสรรให้

จากเหตุผลทั้งหมดที่ยกมาในบทนี้ คุณคงตระหนักแล้วว่าการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม เอกสารที่แจกแจงแผนเหล่านี้เรียกว่าโครงร่างการวิจัย (research protocol) แต่ต่อให้วางแผนดีก็อาจไม่เป็นไปตามแผน เพราะวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับจริงๆ อาจต่างจากวิธีที่จัดสรรให้ เช่น ผู้ป่วยอาจไม่ใช้วิธีการรักษาตามที่ควรใช้ หรืออาจใช้วิธีหนึ่งๆ ไม่ได้ เพราะเกิดขาดแคลนอุปกรณ์หรือบุคลากร ถ้าพบความคลาดเคลื่อนเหล่านี้ ต้องพิจารณาและแก้ไขผลที่ตามมาอย่างระมัดระวัง ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 มีความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการรักษาเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก […]

| 2 Comments
Book cover

การตามสังเกตทุกคนที่อยู่ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา

หลังจากอุตส่าห์จัดกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกัน ยังต้องเลี่ยงไม่ให้เกิดความลำเอียงจากการละเลย ความเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยบางส่วน ควรตามสังเกตผู้ป่วยทุกรายให้นานที่สุด และวิเคราะห์ผลในภาพรวมของผู้ป่วยทุกรายที่อยู่ในกลุ่มนั้นๆ โดยไม่สนใจว่าพวกเขาได้รับวิธีการรักษาใด (ถ้าได้รับ) การทำแบบนี้เรียกว่าการวิเคราะห์ “intention-to-treat” ถ้าไม่ทำ ดังนี้ สิ่งที่เปรียบเทียบจะไม่อาจเทียบเคียงกันได้ ดูเผินๆ อาจคล้ายไม่สมเหตุสมผลที่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ทั้งที่ผู้ป่วยบางรายในกลุ่มไม่ได้รับวิธีการรักษาที่กำหนดให้แล้ว แต่การละเลยหลักการนี้อาจทำให้การตรวจสอบไม่เที่ยงธรรมและให้ผลชวนเข้าใจผิด เช่น ผู้ป่วยที่หลอดเลือดเลี้ยงสมองเริ่มตีบและเวียนศีรษะเป็นช่วงๆ เสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าปกติ นักวิจัยทำการตรวจสอบว่าหลังจากทำหัตถการเพื่อแก้การตีบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ […]

| 0 Comments
Book cover

รูปแบบต่างๆ ในการใช้การจัดสรรอย่างไม่ลำเอียง (แบบสุ่ม) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษา

การสุ่มแยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น อาจใช้ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษาต่างๆ โดยสุ่มลำดับในผู้ป่วยรายเดิม ซึ่งเรียกว่า “การทดลองแบบสุ่มไขว้ (randomized cross-over trial)” เช่น ในการประเมินว่ายาสูดช่วยผู้ป่วยที่ไอแห้งต่อเนื่องได้หรือไม่ อาจออกแบบการศึกษาให้นาน 2-3 เดือน โดยสุ่มให้ผู้ป่วยใช้เครื่องพ่นยาที่มีตัวยาในบางสัปดาห์ ส่วนสัปดาห์ที่เหลือให้ใช้เครื่องพ่นยาที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการแต่ไม่มีตัวยา การทำให้ผลจากการวิจัยสอดคล้องกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไปเช่นนี้สมควรทำหากทำได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ไม่อาจทำการศึกษาแบบไขว้เช่นนี้ เช่น […]

| 0 Comments
Book cover

การจัดสรรวิธีการรักษาต่างๆ ตามแผนโดยไม่ลำเอียง

ในปี ค.ศ. 1854 แพทย์ทหาร โทมัส เกรแฮม บาลโฟร์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าของกองทัพ พิสูจน์ว่าจะจัดกลุ่มวิธีการรักษาอย่างไรให้แน่ใจได้ว่าสิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกัน บาลโฟร์อยากรู้ว่าสมุนไพรเบลลาดอนนา (belladonna) ป้องกันไม่ให้เด็กเป็นไข้อีดำอีแดง (scarlet fever)[ด] ได้ดังที่มีผู้กล่าวอ้างหรือไม่ ดังนั้น “เพื่อเลี่ยงข้อครหาว่าลำเอียง” ตามที่เขาว่า เขาจึงจัดให้เด็กได้รับเบลลาดอนนา คนเว้นคน [5] […]

| 0 Comments
Book cover

การเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งได้รับวิธีการรักษาต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน

การเปรียบเทียบความรู้สึกและผลการรักษาของผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน แต่บังเอิญได้รับการรักษาแตกต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน ยังเป็นวิธีที่ใช้เพื่อประเมินผลของวิธีการรักษา ทว่าแนวทางนี้ก็อาจทำให้เข้าใจผิดโดยสิ้นเชิงเช่นกัน ปัญหาไม่ต่างจากการเปรียบเทียบโดยใช้ “กลุ่มควบคุมในอดีต” คือจะรู้ได้อย่างไรว่าก่อนเริ่มรักษา กลุ่มคนที่ได้รับวิธีการรักษาต่างๆ คล้ายกันจนเปรียบเทียบได้อย่างเที่ยงตรง หรือพูดอีกอย่างคือ สิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกันจริงหรือเปล่า ในกรณี “กลุ่มควบคุมในอดีต” นักวิจัยอาจใช้การปรับค่าทางสถิติและการวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าคล้ายคลึงกัน แต่ ก็ทำได้เฉพาะเมื่อมีการบันทึกและพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย แต่น้อยครั้งที่เกิดกรณีตรงเงื่อนไขเหล่านี้ การแปลผลการวิเคราะห์จึงต้องใช้ความระมัดระวัง หากหลงเชื่ออาจก่อให้เกิดเหตุสลดครั้งใหญ่ […]

| 0 Comments
Book cover

การเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการรักษาอยู่ในขณะนั้นกับผู้ป่วยในอดีตที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้รับการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีอื่น

บางครั้งนักวิจัยก็เปรียบเทียบผู้ป่วยที่รับการรักษาในขณะนั้นกับผู้ป่วยในอดีตที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้รับการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีอื่น ซึ่งอาจให้หลักฐานที่เชื่อถือได้หากผลจากการรักษาเด่นชัด เช่น เมื่อวิธีการรักษาใหม่ช่วยให้ผู้ป่วยบางรายรอดชีวิตจากโรคซึ่งเมื่อก่อนหมดทางรอด ทว่าเมื่อผลของวิธีการรักษาแตกต่างกันไม่เด่นชัด แต่ยังสำคัญ การเปรียบเทียบกับ “กลุ่มควบคุมในอดีต” ก็อาจจะก่อปัญหา แม้นักวิจัยใช้การปรับค่าทางสถิติและการวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เปรียบเทียบคล้ายคลึงกัน การ วิเคราะห์เหล่านี้ก็ไม่อาจพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ได้บันทึกในผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม ดังนั้น เราจึงไม่มีทางมั่นใจได้เต็มร้อยว่าสิ่งที่เปรียบเทียบนั้นคล้ายคลึงกัน จะเห็นปัญหาเหล่านี้ชัดเจนด้วยการเปรียบเทียบผลจากการใช้วิธีรักษาเดียวกันในผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน แต่คนละช่วงเวลา มีการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย 19 […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่ให้ผลปานกลาง แต่ก็สำคัญ

เนื้อเรื่องย่อย: การเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการรักษาอยู่ในขณะนั้นกับผู้ป่วยในอดีตที่คล้ายคลึงกัน แต่ได้รับการรักษาโรคนี้ด้วยวิธีอื่น การเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งได้รับวิธีการรักษาต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน การจัดสรรวิธีการรักษาต่างๆ ตามแผนโดยไม่ลำเอียง รูปแบบต่างๆ ในการใช้การจัดสรรอย่างไม่ลำเอียง (แบบสุ่ม) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษา การตามสังเกตทุกคนที่อยู่ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา การจัดการเมื่อมีสิ่งที่ผิดไปจากวิธีการรักษาที่จัดสรรให้ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการศึกษาใช้วิธีการรักษาตามที่จัดสรรให้

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่เห็นผลเด่นชัด

บางครั้งผู้ป่วยก็ตอบสนองต่อวิธีการรักษาต่างจากที่เคยตอบสนองในอดีต และจากธรรมชาติของโรคนั้นๆ อย่างเด่นชัดจนชี้ขาดผลการรักษา ได้โดยไม่ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วน (ดูบทที่ 5) [3] ในผู้ป่วยโรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) การแทงเข็มเข้าในช่องอกเพื่อระบายอากาศที่คั่งค้างออกทำให้อาการดีขึ้นทันตาเห็น ประโยชน์ของวิธีการรักษานี้จึงชัดเจน ตัวอย่างอื่นๆ ของผลที่เด่นชัด ได้แก่ มอร์ฟีนระงับปวด อินซูลินแก้ภาวะโคม่าเนื่องจากเบาหวาน และข้อสะโพกเทียมรักษาอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบ เป็นต้น ผลเสียจากการรักษาก็อาจเด่นชัด เช่นกัน […]

| 2 Comments
Book cover

เปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายกัน

การเปรียบเทียบคือแก่น การเปรียบเทียบคือแก่นของการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมทุกครั้ง บางครั้งแพทย์และผู้ป่วยก็เปรียบเทียบข้อดีของวิธีการรักษา 2 วิธีอยู่ในใจ เช่น ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าตนหรือผู้อื่นตอบสนองต่อวิธีการรักษาหนึ่งต่างจากวิธีที่เคยใช้ อีกทั้งตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 อัล-ราซี แพทย์ชาวเปอร์เซีย ได้เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ด้วยการระบายเลือดทิ้ง (blood-letting) กับผลการรักษาในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับวิธีการรักษาดังกล่าว เพื่อดูว่าการระบายเลือดทิ้งมีประโยชน์หรือไม่ ปกติวิธีการรักษาจะถูกตรวจสอบโดยเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยซึ่งได้รับวิธีการรักษาต่างกัน การเปรียบเทียบนี้จะเที่ยงธรรมได้ก็ต่อเมื่อมั่นใจได้ว่าเป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ […]

| 2 Comments
Book cover

แล้วการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมคืออะไร

คนส่วนใหญ่ทราบว่ารายงานในสื่อเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางการแพทย์ใหม่ๆ ต้องฟังหูไว้หู แต่ความจริงที่น่าเศร้าคือ ต่อให้รายงานวิธีการรักษานั้นลงในวารสารวิชาการที่ดูได้มาตรฐาน เราก็ยังต้องระวัง เพราะมีการบิดเบือนและอวดอ้างเกยวกับวิธีการรักษาอยู่เป็นนิจ การประเมินความน่าเชื่อถือได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เราต้องรับความเสี่ยง 2 ประการ หากเชื่อรายงานผลจากการรักษาโดยไม่กลั่นกรอง คืออาจสรุปผิดว่าวิธีการรักษาที่ได้ผลนั้นไร้ประโยชน์ หรือกระทั่งเป็นอันตราย หรือกลับกัน การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมออกแบบเพื่อให้ได้ข้อมูลทเชื่อถือได้ของผลจากวิธีการรักษาต่างๆ โดย (1) เปรียบเทียบสิ่งที่คล้ายกันเพื่อลดสิ่งที่บิดเบือนผล (ความลำเอียง) (2) […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 6 การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีอย่างเที่ยงธรรมมีความจำเป็น เพราะไม่อย่างนั้นเราอาจสรุปว่าวิธีการรักษานั้นๆ มีประโยชน์ ทั้งที่จริงไม่มีหรือกลับกัน เป็นพื้นฐานของการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมทุกวิธี เมื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาต่างๆ (หรือเปรียบเทียบระหว่างการรักษากับการไม่รักษา) หลักการเรื่องคือสิ่งสำคัญที่สุด ต้องพยายามลดในการประเมินผลการรักษา[/getit]. ผู้อ่านหลายๆ ท่านอาจไม่คุ้นเคยกับหลักการต่างๆ ที่รองรับการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม ทั้งที่ไม่ซับซ้อน อันที่จริง การที่เราเข้าใจโลกตามสัญชาตญาณในชีวิตประจำวันก็ต้องพึ่งหลักการเหล่านี้ แต่โรงเรียนกลับไม่สอนให้กระจ่าง ทั้งหลักการเหล่านี้ยังมักถูกถ่ายทอดด้วยภาษาซับซ้อนเกินจำเป็น คนจำนวนมากจึงมองเมินหัวข้อนี้ เพราะเชื่อว่าเกินความสามารถตนจะเข้าใจได้ […]

| 2 Comments
Book cover

การแก้ไขความไม่แน่นอนคือความเป็นมืออาชีพ

“หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเป็นมืออาชีพ…ควรเป็นความสามารถในการระบุและแก้ไขความไม่แน่นอนทางการแพทย์ ทุกวันผู้ประกอบวิชาชีพต้องเผชิญหน้าและรับมือกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสาเหตุของโรค การวินิจฉัย และวิธีการรักษา แต่ความไม่แน่นอน เหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผย ผู้ประกอบวิชาชีพบาง รายยังลำบากใจหากต้องยอมรับว่ามีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะในการดูแลผู้ป่วย ความไม่แน่นอนเป็นตัวกระตุ้นชั้นยอดให้มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้คน ซึ่งเป็นแก่นของภารกิจของสภาวิจัยการแพทย์ในอนาคต การที่ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพพิจารณาผลการวิจัยซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในสาขาของตนจะยิ่งทวีความสำคัญ เพื่อจะได้ตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอนเรื่องใด และมีงานวิจัยอะไรบ้างที่ดำเนินการอยู่ หรือต้องทำเพื่อแก้ไขความไม่แน่นอนเหล่านี้ โดยสรุป ในอนาคตเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ การตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยควรเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมืออาชีพ […]

| 0 Comments
Book cover

เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน : เรื่องคอขาดบาดตาย

“การไม่เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของผลการรักษา อาจทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตมหาศาลทั้งที่เลี่ยงได้ ถ้าก่อนนำไดอะซีแพม (diazepam) และเฟนิโทอิน (phenytoin) มาใช้กันชักในภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการชักร่วมด้วย (eclampsia) มีการเปรียบเทียบกับแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulphate) ซึ่งใช้กันมาหลายสิบปี คงลดจำนวนหญิงที่ต้องทรมานและเสียชีวิตได้หลายแสนคน เช่นเดียวกัน ถ้ามีการประเมินผลของสเตียรอยด์ชนิดให้เข้าในร่างกายในภาวะสมองบาดเจ็บก่อนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คงเลี่ยงการเสียชีวิตอันไม่สมควรได้หลายหมื่นราย นี่เป็นเพียง 2 กรณีจากกรณีตัวอย่าง มากมายที่แสดงว่า […]

| 0 Comments
Book cover

ความก้าวหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ได้เป็นข่าวใหญ่

“ข่าวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ข่าวที่ขายได้ ลักษณะเฉพาะของวิทยาศาสตร์เหมาะจะเป็น ‘รายงานพิเศษในเล่ม’ เพราะปกติวิทยาศาสตร์ไม่ได้พัฒนาเนื่องจากจู่ๆ ก็มีการค้นพบครั้งประวัติการณ์ แต่พัฒนาเพราะหัวข้อและทฤษฎีต่างๆ ค่อยๆ ปรากฏ ชัด โดยใช้หลักฐานอ้างอิงจำนวนมหาศาลจากหลากหลายหลักการมาอธิบายในหลากหลายระดับ แต่สื่อยังคงยึดติดอยู่แต่กับ ‘การค้นพบครั้งประวัติการณ์’” Goldacre B. Bad Science. London: Fourth Estate, 2008, […]

| 0 Comments
Book cover

การให้การรักษาโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม

ถ้าอย่างนั้น ควรทำอย่างไรเมื่อมีที่สำคัญเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาทั้งใหม่หรือเก่า ซึ่งยังไม่ได้รับการประเมินอย่างเหมาะสม คำตอบที่เห็นชัดคือ ควรทำตามอย่างแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผู้เขียนกล่าวถึงข้างต้น คือแก้ไขความไม่แน่นอนนั้น โดยใช้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้รับการประเมินอย่างเพียงพอเฉพาะเมื่ออยู่ในงานวิจัย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ทราบมากขึ้นเกี่ยวกับผลทั้งที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา นักจริยธรรมทางการแพทย์กล่าวไว้ดังนี้ “ถ้าเราไม่แน่ใจข้อดีของวิธีการรักษา (ใดๆ) เราก็ไม่อาจแน่ใจถึงประโยชน์เมื่อใช้แต่ละวิธี เช่น ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้น การยืนกรานว่าวิธีการรักษานี้ดีหรือไม่ดี ระหว่างงานวิจัยที่มีคุณภาพยังไม่เสร็จสิ้นจึงไม่สมเหตุสมผล ซ้ำยังผิดจริยธรรม คำตอบของคำถามว่า […]

| 0 Comments
Book cover

การสะสางความไม่แน่นอนด้านผลการรักษา

แล้วเราควรทำอย่างไรต่อไป แพทย์ต้องสามารถใช้ข้อมูลเรองวิธีการรักษา ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีที่สุด ณ เวลานั้นจากการรวบรวมประสบการณ์และการทบทวนงานวิจัยที่เชื่อถือได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ถ้ายังพบว่ามีความไม่แน่นอนเรื่องวิธีการรักษา แพทย์ก็ต้องพร้อมจะหารือกับผู้ป่วย อธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ และปรึกษากันเรื่องทางเลือกโดยคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ แม้การหารืออาจเปิดประเด็นความไม่แน่นอนที่ต้องยอมรับ และสะสางเพิ่มขึ้นอีกก็ตาม เราจะก้าวหน้าอย่างมั่นคงไปสู่การรักษาที่เหมาะสมและปลอดภัยขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราต่างตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ไม่ใช่เพื่อให้ยอมรับ “ความพ่ายแพ้” ทุกวันนี้แนวทางสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบางฉบับก็แสดงทัศนคติในแง่ดีต่อการสะสางความไม่แน่นอนต่างๆ แนวทางเวชปฏิบัติที่ดี (Good Medical […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 5 ทำอย่างไรเมื่อผลการรักษาไม่แน่นอน

ประเด็นสำคัญ น้อยครั้งที่พบจาก เรื่องผลของพบได้ดาษดื่น เป็นเรื่องปกติที่ผลของวิธีการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย การตรวจจับความแตกต่างนี้ได้ถูกต้องจึงมีความสำคัญ ต้องดำเนินการขั้นตอนต่างๆ เพื่อลดความไม่แน่นอน หากไม่มีใครรู้ชัดในประเด็นสำคัญเรื่องผลของวิธีการรักษาหนึ่งๆ การช่วยให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการลดความไม่แน่นอนเรื่องผลของวิธีการรักษาต่างๆ ทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีกมาก ในบทนเราจะกล่าวถึงความไม่แน่นอนในแทบทุกผลทกล่าวอ้างของ วิธีการรักษาทั้งใหม่และเก่า เช่น อาจมีผู้กังขาเรื่องการให้ออกซิเจนเสริมใน ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่ามีประโยชน์ แต่มีหลักฐานว่าเป็นอันตราย ความไม่แน่นอนนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง เหมาะสม [1] […]

| 1 Comment
Book cover

การสุ่มแยกตัวอย่าง (random allocation) – คำอธิบายอย่างง่าย

“การสุ่มตัวอย่างเป็นการลดความลำเอียง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มวิธีการรักษานั้นเหมือนกัน ทั้งด้านปัจจัยที่ทราบและไม่ทราบ ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าการที่ผลแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม เป็น เพราะวิธีการรักษาให้ผลที่ต่างกัน ไม่ใช่เพราะความแตกต่างของผู้ป่วย การสุ่มปิดโอกาสที่แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาให้ผู้ป่วยที่มีลักษณะเฉพาะ ไม่ว่าโดยจงใจ หรือไม่รู้ตัว เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มี ลักษณะต่างๆ ก็เลือกวิธีการรักษาไม่ได้” Harrison J. Presentation to Consumers’ Advisory Group […]

| 0 Comments
Book cover

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation)

แต่การลดจำนวนการผ่าตัดอวัยวะ ออกทั้งหมดก็ยังไม่ใช่การปิดฉากแนวคิด “ยิ่งมากยิ่งดี” ในช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา มีการใช้แนวทางการรักษามะเร็งเต้านมแบบใหม่ด้วยยาเคมีบำบัดปริมาณมาก ตามด้วย การปลูกถ่ายไขกระดูก หรือ “การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์” (stem cell rescue) รายงานในนิวยอร์กไทม์ส (New York Times) ในปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ (Evening Primrose Oil for Eczema)

แม้การขาดการประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่ได้คร่าชีวิต หรือเกิดอันตราย แต่ก็ทำให้เสียเงินเปล่า ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นปัญหาผิวหนังที่ สร้างความรำคาญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รอยโรคที่ผิวหนังทั้งไม่น่ามองและคันคะเยอ แม้การใช้ครีมสเตียรอยด์จะช่วยได้ แต่ก็ต้องห่วงเรื่องผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ตอนต้นทศวรรษ 1980 มีสารสกัดธรรมชาติของน้ำมันที่ได้จากพืชคือ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ที่เปิด ตัวในฐานะทางเลือกหนี่งที่ได้ผลโดยมีผลข้างเคียงน้อย [11] น้ำมันอีฟนิงพริมโรสประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นเรียกว่ากรดแกมมาไลโนเลนิก (gamma-linolenic acid […]

| 0 Comments
Book cover

ยาแก้หัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

คำแนะนำของนายแพทย์สป็อกอาจฟังมีเหตุผล แต่เป็นการอ้างอิงทฤษฎีที่ไม่เคยตรวจสอบ ยังมีตัวอย่างของอันตรายจากคำแนะนำในลักษณะนี้อีกมาก เช่น หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายจะมีจังหวะหัวใจผิดปกติ เรียกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) คนกลุ่มนี้ เสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่มีอาการ เนื่องจากมียาบางอย่างที่แก้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ การคาดว่ายากลุ่มนี้จะลดความเสี่ยงเสียชีวิตหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันด้วยจึงดูสมเหตุสมผล แต่ที่จริงผลกลับตรงกันข้าม ยาเหล่านี้ได้รับการทดสอบในคนแล้ว แต่ก็เพียงเพื่อดูว่ายา จะลดภาวะจังหวะหัวใจผิดปกติได้หรือไม่ เมื่อนำหลักฐานจากการทดลองจำนวนมากมาทบทวนอย่างเป็นระบบในปีระบบในปี ค.ศ. 1983 กลับไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ายาเหล่านี้ลดอัตราการเสียชีวิต […]

| 2 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.