1-1 Treatments can harm

People often exaggerate the benefits of treatments and ignore or downplay potential harms. However, few effective treatments are 100% safe.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Know Your Chances

This book has been shown in two randomized trials to improve peoples' understanding of risk in the context of health care choices.

| 0 Comments | Evaluated
Logo

Harm

A University of Massachusetts Medical School text on adverse effects of treatments.

| 0 Comments

DRUG TOO

James McCormick with another parody/spoof of the Cee Lo Green song ‘Forget You’ to prompt scepticism about many drug treatments.

| 0 Comments

How do you regulate Wu?

Ben Goldacre finds that students of Chinese medicine are taught (on a science degree) that the spleen is “the root of post-heaven essence”.

| 0 Comments

Balancing Benefits and harms

A blog explaining what is meant by ‘benefits’ and ‘harms’ in the context of healthcare interventions, and the importance of balancing them.

| 0 Comments
Book cover

เมื่อโดนดึงเข้าไปในวังวน

ปี ค.ศ. 2006  ผู้ป่วยคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านการแพทย์มา เผลอตามกระแสเฮอเซปตินไปด้วย เมื่อเธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแบบมี HER2 ในปีก่อนหน้านั้น “ก่อนจะมีการวินิจฉัย ฉันก็เหมือนผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการรักษามะเร็งเต้านมในยุคนี้ เลยต้องพึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ตอนนั้นเว็บไซต์เบรสต์แคนเซอร์แคร์ (Breast Cancer Care) หรือการดูแลมะเร็งเต้านม กำลังรณรงค์ให้ผู้หญิงที่มี HER2 ทุกคนได้ใช้เฮอเซปติน […]

| 0 Comments
Book cover

โศกนาฏกรรมการแพร่ระบาดของอาการตาบอดในทารก

“ทันทีที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด มีการนำวิธีการรักษาใหม่ๆ หลายวิธีมาใช้แก้ปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด แต่ภายในไม่กี่ปีก็ปรากฏชัดว่าการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลทารกเหล่านี้ก่อผลร้ายที่ไม่คาดฝัน โศกนาฏกรรมทางการแพทย์ที่ร้ายแรงที่สุดคือ ‘การแพร่ระบาด’ ของอาการตาบอดจากจอประสาทตาผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด (retrolental fibroplasia) ในช่วงปี ค.ศ. 1942-1954 ความผิดปกตินี้สัมพันธ์กับการให้ออกซิเจนในการดูแลเด็กแรกเกิดที่มีพัฒนาการไม่สมบูรณ์ โดยต้องใช้ความพยายามนานถึง 12 ปี กว่าจะหยุดการแพร่ระบาดของอาการนี้ได้ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้หลายคนตาสว่างว่าจำเป็นต้องมีการประเมินนวัตกรรมทางการแพทย์อย่างเป็นระบบก่อนยอมให้นำมาใช้ได้ทั่วไป” Silverman WA. […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีลบปานสตรอว์เบอร์รีแบบใหม่

บางคราวการค้นพบวิธีรักษาที่เห็นผลเด่นชัดก็เกิดโดยบังเอิญ เช่น ภาวะที่เกิดในทารก ซึ่งเรียกว่า ฮีแมงจิโอมา (Hemangioma) หรือเนื้องอกหลอดเลือด ซึ่งคล้ายกับปานแดงชนิด portwine stains ตรงที่เกิดจากการผิดรูปของหลอดเลือดซึ่งยังเจริญไม่เต็มที่ ในฮีแมงจิโอมาหลอดเลือดขนาดเล็กจะรวมกันเป็นก้อนส่วนใหญ่เกิดบนผิวหนัง โดยมักเป็นที่ศีรษะหรือลำคอ แต่ก็อาจเกิดที่อวัยวะภายใน เช่น ตับ ได้ด้วย รอยที่ผิวหนังชนิดนี้มักเรียกว่าปานสตรอว์เบอร์รี เพราะเป็นสีแดงสดและนูน มักมองไม่เห็น […]

| 0 Comments
Book cover

การคัดกรองมะเร็งปอด : รู้เร็ว แต่ยังไม่เร็วพอหรือเปล่า

การคัดกรองอาจวินิจฉัยโรคได้เร็ว แต่ก็ไม่เร็วพอจะเป็นประโยชน์เสมอไป (ดูภาพ) มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งปอด แพร่กระจายในร่างกายก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการ และก่อนที่การตรวจใดๆ จะพบว่ามีมะเร็ง ความพยายามตรวจหามะเร็งปอดโดยใช้การเอกซเรย์ช่องอก (chest x-rays) เป็นตัวอย่างของปัญหานี้ (ดูระยะ B ในภาพ) ในทศวรรษ 1970 การศึกษาขนาดใหญ่หลายครั้งในผู้สูบบุหรี่จัดพบว่า แม้พบมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ […]

| 0 Comments
Book cover

ถ้าตรวจสอบหลักฐานก่อนจะป้องกันการเสียชีวิตได้ไหม

“เหตุสลดที่เลี่ยงได้เกิดกับเอลเลน โรช อายุ 24 ปี อาสาสมัครสุขภาพดีในการศึกษาโรคหืด ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เธอเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน (ปี ค.ศ. 2001) เพราะสารเคมีที่ขอให้เธอสูดเข้าไปทำให้ปอดและไตค่อยๆ ล้มเหลว หลังจากความสูญเสียนี้จึงได้ปรากฎว่าทั้งนักวิจัยและคณะกรรมการจริยธรรมที่อนุมัติให้ทำการศึกษามองข้ามคำใบ้มากมายเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีดังกล่าว ซึ่งคือ เฮ็กซาเมโทเนียม […]

| 0 Comments
Book cover

โครงการใบเหลือง

โครงการใบเหลืองเปิดตัวในสหราชอาณาจักรเมื่อปี ค.ศ. 1964 หลังเหตุสลดจากทาลิโดไมด์ เน้นความสำคัญของการตามสังเกตปัญหาที่เกิดหลังยาได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย มีการส่งรายงานไปยังองค์การควบคุมยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งทำการวิเคราะห์ผล ในแต่ละปีองค์การนี้ได้รับรายงานอาการที่น่าจะเป็นอาการข้างเคียงมากกว่า 20,000 กรณี ในช่วงแรกมีเพียงแพทย์ที่ยื่นรายงานได้ จากนั้นจึงสนับสนุนให้พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ชันสูตรพลิกศพ ทันตแพทย์ นักรังสีการแพทย์ และนักทัศนมาตรศาสตร์ ยื่นรายงานได้เช่นกัน และตั้งแต่ปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

การเกิดและตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับผลเสียที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา

การเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพหรือผู้ป่วยเป็นผู้เริ่มเฉลียวใจเรื่องผลที่ไม่คาดคิดจากวิธีการรักษา ทั้งที่ร้ายและดี [10] เนื่องจากการตรวจสอบวิธีการรักษาซึ่งต้องใช้เพื่อขออนุญาตวางจำหน่าย ทำกับคนเพียงไม่กี่ร้อย หรือไม่กี่พันคน และให้วิธีการรักษานานไม่กี่เดือน ในขั้นนี้จึงมักพบ เพียงผลข้างเคียงระยะสั้นและผลข้างเคียงที่พบบ่อย ต้องรอจนมีการใช้วิธีการรักษาดังกล่าวกันแพร่หลายขึ้น เป็นระยะเวลานานขึ้นและในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายกว่าที่เข้าร่วมในการตรวจสอบเพื่อขออนุญาต จึงจะพบผลข้างเคียงที่พบได้ยาก หรือที่ใช้เวลากว่าจะแสดงออก ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก […]

| 2 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่เห็นผลเด่นชัด

บางครั้งผู้ป่วยก็ตอบสนองต่อวิธีการรักษาต่างจากที่เคยตอบสนองในอดีต และจากธรรมชาติของโรคนั้นๆ อย่างเด่นชัดจนชี้ขาดผลการรักษา ได้โดยไม่ต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วน (ดูบทที่ 5) [3] ในผู้ป่วยโรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (pneumothorax) การแทงเข็มเข้าในช่องอกเพื่อระบายอากาศที่คั่งค้างออกทำให้อาการดีขึ้นทันตาเห็น ประโยชน์ของวิธีการรักษานี้จึงชัดเจน ตัวอย่างอื่นๆ ของผลที่เด่นชัด ได้แก่ มอร์ฟีนระงับปวด อินซูลินแก้ภาวะโคม่าเนื่องจากเบาหวาน และข้อสะโพกเทียมรักษาอาการปวดเนื่องจากข้ออักเสบ เป็นต้น ผลเสียจากการรักษาก็อาจเด่นชัด เช่นกัน […]

| 2 Comments
Book cover

ความจำเป็นที่ต้องใช้มากกว่าความรู้สึก

แค่ผู้ป่วยเชื่อว่าสิ่งนั้นๆ ช่วยพวกเขาก็น่าจะเพียงพอ เหตุใดต้องหาเรื่องยุ่งยากสิ้นเปลืองทำงานวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หรือหาทางพิสูจน์ว่าวิธีการรักษาดังกล่าวช่วยผู้ป่วยหรือไม่ และหากช่วยได้มันช่วยอย่างไร มีเหตุผลอย่างน้อย 2 ข้อ ข้อหนึ่งคือวิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลอาจเบนความสนใจเราจากวิธีการรักษาที่ได้ผลจริง อีกเหตุผลคือวิธีการรักษาหลายวิธี (หรือกระทั่งส่วนใหญ่) มีผลข้างเคียงบ้างระยะสั้น บ้างระยะยาว และบ้างยังไม่รู้ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวก็อาจรอดพ้นจากผลเสีย จึงเป็นประโยชน์หากแยกแยะได้ว่าวิธีการรักษาใดไม่น่าจะได้ผลดี หรืออาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ งานวิจัยยังอาจค้นพบข้อมูลสำคัญว่าวิธีการรักษาต่างๆ ทำงานอย่างไร รวมถึงค้นหาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาวิธีที่ดีขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน : เรื่องคอขาดบาดตาย

“การไม่เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของผลการรักษา อาจทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตมหาศาลทั้งที่เลี่ยงได้ ถ้าก่อนนำไดอะซีแพม (diazepam) และเฟนิโทอิน (phenytoin) มาใช้กันชักในภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการชักร่วมด้วย (eclampsia) มีการเปรียบเทียบกับแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulphate) ซึ่งใช้กันมาหลายสิบปี คงลดจำนวนหญิงที่ต้องทรมานและเสียชีวิตได้หลายแสนคน เช่นเดียวกัน ถ้ามีการประเมินผลของสเตียรอยด์ชนิดให้เข้าในร่างกายในภาวะสมองบาดเจ็บก่อนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คงเลี่ยงการเสียชีวิตอันไม่สมควรได้หลายหมื่นราย นี่เป็นเพียง 2 กรณีจากกรณีตัวอย่าง มากมายที่แสดงว่า […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อแพทย์เห็นไม่ตรงกัน

ในหลายๆ โรคและหลายๆ อาการ ยังไม่แน่นอนนักว่าวิธีการรักษาใดได้ผลมากน้อยเพียงใด และวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น แต่แพทย์กลับไม่ลดการมองวิธีการรักษาต่างๆ แบบสุดโต่งลงเลย ทั้งที่ความเห็นของแพทย์แต่ละรายอาจแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิธีการรักษาที่ใช้ในอาการนั้นๆ ต่างกันโดยสิ้นเชิง ในทศวรรษที่ 1990 เอียน ชาลเมอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียน ข้อเท้าหักขณะพักผ่อนอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้รับการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ซึ่งดามขาข้างนั้นไว้ชั่วคราวและบอกว่า หลังจากหายบวมจะมีการใส่เฝือกแข็งตั้งแต่เข่าลงมานาน 6 […]

| 2 Comments
Book cover

ผลการรักษาระดับปานกลาง : พบบ่อยและไม่เด่นชัด

วิธีการรักษาส่วนใหญ่มักให้ผลไม่เด่นชัด จึงต้องมีการตรวจสอบ อย่างเที่ยงธรรมเพื่อประเมินวิธีเหล่านี้ และบางครั้งวิธีหนึ่งๆ อาจให้ผลเด่น ชัดในบางกรณีเท่านั้น แม้วิตามินบี 12 จะรักษา โรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 หายขาดได้แน่นอน (ดูข้างต้น) แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันจนทุกวันนี้ว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาทุก 3 เดือน หรือว่าบ่อยกว่านั้น การจะตอบคำถามดังกล่าวได้ ต้องมีการทดลองเพื่อเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ โดยควบคุมอย่างรัดกุม ขณะที่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกขจัดความเจ็บปวดได้เป็นปลิดทิ้ง […]

| 3 Comments
Book cover

การตัดเต้านมแบบถอนรากแบบดั้งเดิม (halsted)

การตัดเต้านมแบบถอนรากคิดค้นโดยวิลเลียม ฮาลสเต็ด เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 เป็นการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมที่ทำกันมากที่สุดจนช่วงปี ค.ศ. 1975 ศัลยแพทย์จะตัดกล้ามเนื้อหน้าอกด้านนอก (pectoralis major) ซึ่งคลุมผนังช่องอกพร้อมกับเต้านมทั้งหมด กล้ามเนื้อหน้าอกด้านในติดกับสะบักและซี่โครง (pectoralis minor) ซึ่งมัดเล็กกว่าก็ถูกตัด เพื่อให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดส่วนรักแร้ (axilla) ได้ง่ายขึ้น    เพื่อเลาะต่อมน้ำเหลืองและไขมันโดยรอบออก การตัดเต้านมแบบถอนรากร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลือง […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่รุนแรงไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป

“คนที่รักษามะเร็งอย่างเรามักคิดว่า การรักษาที่รุนแรงย่อมให้ผลดีกว่า การทดลองแบบสุ่มที่เปรียบเทียบวิธีการรักษาแบบรุนแรงกับ แบบรุนแรงน้อยกว่า จึงมีความสำคัญในการปกป้องผู้ป่วยจากความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น รวมถึงผลข้างเคียงทั้งระยะสั้นและยาวจากวิธีการ รักษาที่ทารุณเกินเหตุ การศึกษาเปรียบเทียบแบบนี้ไม่ผิดจริยธรรม เพราะคนที่เสียโอกาสได้ผลดีจะไม่ต้องเสี่ยงอันตรายโดยไม่จำเป็นเช่นกัน อีกทั้งไม่มีใครรู้ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร” Brewin T in Rees G, ed. The friendly professional: selected […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษามะเร็งเต้านมแบบรุนแรง

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีที่มีการรณรงค์ตามที่เห็นบ่อยๆ ในข่าวเป็นบทเรียนที่ดีมากในเรื่องอันตรายจากการทึกทักว่า ยิ่งใช้วิธีการรักษาแบบรุนแรงจะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแน่นอน ตลอดช่วงศตรวรรษที่ 20 จนย่างสู่ 21 หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม้องการและต้องทนรับการรักษาที่ทารุณและทรมานเกินควรทั้งการผ่าตัด และยาในปริมาณมากเกินความจำเป็น แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด ในผู้ป่วยและแพทย์บางราย ผู้ป่วยโดนกล่อมว่ายิ่งการรักษารุนแรงและเป็นพิษมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาส “พิชิต” โรคได้มากเท่านั้น มีแพทย์และผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่เตรียมการโต้แย้งความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับวิธีการรักษา แต่ก็ ใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มเปลี่ยนกระแสความเชื่อผิดๆ นี้ได้ พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องสร้างหลักฐานที่เชื่อถือได้ […]

| 2 Comments
Book cover

ไม่แปลกที่เธอสับสน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 ผู้ป่วยที่ผ่านการตัดมดลูกเขียนจดหมายหา เดอะแลนเซ็ต (The Lancet)[1] ว่า “เมื่อปี ค.ศ. 1986 ฉันต้องตัดมดลูกเนื่องจากมีเนื้องอกศัลยแพทย์ตัดรังไข่ออกด้วย รวมทั้งพบว่าฉันมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนกะทันหัน ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอายุเพียง 45 ปี ฉันจึงได้รับการรักษาด้วย […]

| 0 Comments
Book cover

น้ำมันอีฟนิงพริมโรสแก้ผื่นผิวหนังอักเสบ (Evening Primrose Oil for Eczema)

แม้การขาดการประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่ได้คร่าชีวิต หรือเกิดอันตราย แต่ก็ทำให้เสียเงินเปล่า ผื่นผิวหนังอักเสบเป็นปัญหาผิวหนังที่ สร้างความรำคาญทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ รอยโรคที่ผิวหนังทั้งไม่น่ามองและคันคะเยอ แม้การใช้ครีมสเตียรอยด์จะช่วยได้ แต่ก็ต้องห่วงเรื่องผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ตอนต้นทศวรรษ 1980 มีสารสกัดธรรมชาติของน้ำมันที่ได้จากพืชคือ น้ำมันอีฟนิงพริมโรส ที่เปิด ตัวในฐานะทางเลือกหนี่งที่ได้ผลโดยมีผลข้างเคียงน้อย [11] น้ำมันอีฟนิงพริมโรสประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นเรียกว่ากรดแกมมาไลโนเลนิก (gamma-linolenic acid […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy)

ในหญิงวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนได้ผลมากในการลดอาการร้อนวูบวาบทรมานที่มักเป็นกัน หลักฐานบางชิ้น ยังบอกว่าวิธีนี้อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย คำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์ต่างๆ ของฮอร์โมนทดแทนค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงการ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง หญิงหลายล้านคนเริ่มใช้ฮอร์โมนเป็นเวลายาวนานขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะคำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์เหล่านี้และประโยชน์อื่นๆ อีกมาก ทว่าที่มาของคำกล่าวอ้างนี้กลับเชื่อถือไม่ค่อยได้ ว่ากันเฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กว่า 20 ปีที่ผู้หญิงได้รับการบอกเล่าว่า ฮอร์โมนทดแทนจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร้ายแรงนี้ อันที่จริงคำแนะนำนี้ได้มาจากผลของการศึกษาที่ไม่เที่ยงธรรม […]

| 0 Comments
Book cover

ไดเอทิลสติลเบสทรอล (Diethylstillbestrol หรือ DES)

นานมาแล้วแพทย์ไม่แน่ใจว่าหญิงมีครรภ์ซึ่งเคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ ควรได้เอสโตรเจน[ช]สังเคราะห์ (ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ) ที่เรียก ว่า DES เสริมหรือไม่ จึงมีแพทย์เพียงบางรายสั่งยานี้ DES เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงต้นทศวรรษ 1950 เพราะความคิดที่ว่ามันช่วยแก้อาการที่รกทำงานผิดปกติ ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา กลุ่มที่ใช้ยามั่นใจขึ้นด้วยรายงานจากประสบการณ์ของหญิงที่เคยแท้งและทารกเสียชีวิตในครรภ์ แต่คลอดทารกปลอดภัยหลังใช้ DES ตัวอย่างเช่น สูตินรีแพทย์ชาวสหราชอาณาจักรสั่งยา DES ให้หญิงมีครรภ์รายหนึ่งตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ […]

| 0 Comments
Book cover

ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Heart Valves)

ยาไม่ได้เป็นวิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวที่อาจมีผลร้ายที่ไม่คาดคิด วิธีการรักษาอื่นก็อาจก่อความเสี่ยงร้ายแรงได้เช่นกัน ปัจจุบันลิ้นหัวใจเทียมเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจขั้นรุนแรง[จ] และที่ผ่านมาลิ้นหัวใจเทียมก็ได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ลิ้นหัวใจเทียมบางประเภทแสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการพัฒนาด้านการออกแบบกลับมีผล ร้ายแสนสาหัส เริ่มมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเทียมแบบบียอร์ก-ไชลีย์ (Bjork-Shiley) มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งรุ่นแรกๆ นั้นมีแนว โน้มจะทำให้เกิดลิ่มเลือด (เลือดแข็งตัวเป็นก้อน) ซึ่งขัดขวางการทำงานของ เครื่องมือ จึงมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบเพื่อแก้ข้อด้อยดังกล่าวในปลาย ทศวรรษ […]

| 0 Comments
Book cover

อะแวนเดีย (Avandia)

ในปี ค.ศ. 2010 โรสิกลิทาโซน (Rosiglitazone) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าว่าอะแวนเดีย เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นข่าวโด่งดัง เนื่องจากผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ก่อนหน้านั้น 10 ปี อะแวนเดีย ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานควบคุมยาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในฐานะทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุจากร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลิน[ง]ไม่เพียงพอ หรือเมื่อเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน  และพบได้บ่อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 1  ซึ่งร่างกายไม่ผลิตอินซูลินเลยเบาหวานชนิดที่ […]

| 0 Comments
Book cover

ไวออกซ์ (Vioxx)

แม้การกำกับการทดสอบยาจะเข้มงวดขึ้นมาก แต่ต่อให้ทำการทดสอบยาอย่างดีที่สุด ก็ยังรับรองความปลอดภัยไม่ได้สมบูรณ์ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs หรือ NSAIDs) เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไมต้องมีการเฝ้าระวังในเรื่องยา ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์มักใช้แก้ปวดแก้อักเสบในหลายโรค (เช่น ข้ออักเสบ) และใช้ลดไข้ ยาในกลุ่มนี้ “รุ่นแรกๆ” หลายชนิดเป็นยาที่ซื้อใช้เองได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เช่น แอสไพริน (Aspirin) […]

| 0 Comments
Book cover

ทาลิโดไมด์ (Thalidomide)

ทาลิโดไมด์เป็นตัวอย่างสะเทือนขวัญของวิธีการรักษาใหม่ที่ให้โทษมากกว่าประโยชน์ [1] ยานอนหลับชนิดนี้เริ่มใช้กันในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ดูจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบาร์บิทูเรตส์ (Barbiturates) ที่ใช้กันทั่วไปในตอนนั้น เพราะการใช้ทาลิโดไมด์เกินขนาดไม่ทำให้หมดสติเหมือนบาร์บิทูเรตส์ จึงแนะนำให้ต้องใช้ทาลิโดไมด์กับหญิงมีครรภ์เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สูตินรีแพทย์เริ่มพบทารกแรกเกิดที่มีแขนขาผิดรูปขั้นรุนแรงเพิ่มจำนวนสูงขึ้นฉับพลัน ความผิดปกติซึ่งไม่ค่อยพบก่อนหน้านั้น คือการมีแขนขากุดจนดูเหมือนมือและเท้าโผล่ออกมาจากลำตัว แพทย์ในเยอรมนีและออสเตรเลียพบความเกี่ยวพันระหว่างความพิการในทารกนี้กับการที่แม่ได้รับยาทาลิโดไมด์ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ [2] บริษัทผู้ผลิตถอนทาลิโดไมด์ออกจากตลาดเมื่อปลายปี ค.ศ. 1961 หลายปีต่อมา […]

| 0 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.