ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: ธรรมชาติคือผู้เยียวยา

ธรรมชาติคือผู้เยียวยา

ปัญหาสุขภาพหลายอย่างมีแนวโน้มจะทรุดลงหากไม่ได้รับการรักษา ซ้ำบ้างยังทรุดลงแม้รักษาแล้ว ทว่าบ้างก็ทุเลาได้เอง คือ “รักษาตัวเองได้” ดังที่นักวิจัยผู้มีส่วนในการตรวจสอบวิธีการรักษาที่เสนอให้ใช้กับไข้หวัดกล่าวว่า “หากรักษาอย่างแข็งขันไข้หวัดจะหายใน 7 วัน แต่ถ้าปล่อยไว้อย่างนั้นจะหายใน 1 สัปดาห์” [1] ถ้าจะให้เจ็บแสบกว่านั้น “ธรรมชาติรักษาแต่แพทย์เก็บค่ารักษา” และอันที่จริงการรักษาอาจยิ่งเป็นการซ้ำเติม

เนื่องจากคนเรามักหายป่วยได้โดยไม่ต้องรักษา เมื่อตรวจสอบวิธีการรักษาจึงต้องคำนึงถึงวงจร “ธรรมชาติ” และผลของโรคหากไม่ได้รักษา ลองนึกถึงเวลาเจ็บคอ ปวดท้อง หรือเป็นผื่นผิดปกติ อาการเหล่านี้มักหายเองโดยไม่ต้องรักษาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แต่ถ้าคุณได้รับการรักษามาก่อน (แม้จะด้วยวิธีที่ไม่มีประสิทธิผล) คุณก็อาจทึกทักว่าวิธีการรักษานั้นทำให้อาการหายไป สรุปคือ ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรครวมถึงแนวโน้มที่โรคจะทุเลาได้เอง ช่วยป้องกันการใช้วิธีการรักษาโดยไม่จำเป็น และความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับวิธีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ได้

การวัดผลการรักษาจะยากกว่าปกติ หากอาการของโรคปรากฏเพียงชั่วครั้งชั่วคราว เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบส่วนใหญ่จะหาทางแก้ปวดเมื่อโรคกำเริบรุนแรง ซึ่งมักหายไปตามธรรมชาติในเวลาไม่นาน หากได้รับการรักษาไม่ว่าด้วยวิธีกระแสหลักหรือวิธีทางเลือก มีประสิทธิผลหรือไม่ อาการปวดก็มีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้นเพราะโรคทุเลาเองอยู่แล้ว แต่ก็ไม่แปลกใจที่ผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ป่วยมักจะเห็นว่าอาการที่กระเตื้องขึ้นนั้นเป็นเพราะวิธีการรักษาที่ได้รับ แม้วิธีดังกล่าวอาจไม่ได้ผลเลย

เนื้อเรื่องย่อย

ถัดไปประโยชน์ของการมองโลกแง่ดีและความคาดหวัง