1-6 Expert opinion is not always right

Doctors, researchers, patient organisations and other authorities often disagree about the effects of treatments. This may be because their opinions are not always based on systematic reviews of fair comparisons of treatments.

Do not rely on the opinions of experts or other authorities about the effects of treatments, unless they clearly base their opinions on the findings of systematic reviews of fair comparisons of treatments.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments

Publish or be damned

Ben Goldacre points out the indefensible practice of announcing conclusions from research studies which haven’t been published.

| 0 Comments
Book cover

แพทย์เล่าเรื่องการคาดเดาในการเลือกวิธีการรักษา

“ในการสนทนาจำลองระหว่างแพทย์ 2 ราย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปให้ความเห็นดังต่อไปนี้ “สิ่งสารพัดที่เราทำเป็นการคาดเดา ซึ่งทั้งคุณทั้งผมก็คงไม่สบายใจที่เป็นอย่างนั้น ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดได้ผลคือต้องมีการทดลองที่ได้คุณภาพ ซึ่งก็ลำบาก เราจึงทำตามใจชอบ ผมมั่นใจว่าในบางกรณีก็ไม่มีปัญหา เพราะใช้ประสบการณ์ในการรักษาและอื่นๆ ทว่าในกรณีอื่นเราก็อาจเข้าใจ ผิดว่าทำถูกแล้ว แต่เพราะสิ่งที่เราทำไม่ถือเป็นการทดลอง จึงไม่มีการกำกับดูแล และไม่มีใครใช้มันเป็นบทเรียน” Adapted from Petit-Zeman S. […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อโดนดึงเข้าไปในวังวน

ปี ค.ศ. 2006  ผู้ป่วยคนหนึ่งในสหราชอาณาจักร ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านการแพทย์มา เผลอตามกระแสเฮอเซปตินไปด้วย เมื่อเธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแบบมี HER2 ในปีก่อนหน้านั้น “ก่อนจะมีการวินิจฉัย ฉันก็เหมือนผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการรักษามะเร็งเต้านมในยุคนี้ เลยต้องพึ่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ตอนนั้นเว็บไซต์เบรสต์แคนเซอร์แคร์ (Breast Cancer Care) หรือการดูแลมะเร็งเต้านม กำลังรณรงค์ให้ผู้หญิงที่มี HER2 ทุกคนได้ใช้เฮอเซปติน […]

| 0 Comments
Book cover

เห็นในสิ่งที่เชื่อ

ริชาร์ด แอชเชอร์ แพทย์ชาวสหราชอาณาจักร ตั้งข้อสังเกตใน บทความถึงแพทย์ที่เขาเขียนว่า “ถ้าคุณเชื่อมั่นวิธีการรักษาที่ใช้ ต่อให้การตรวจสอบแบบมีกลุ่มควบคุมแสดงว่าวิธีดังกล่าวแทบไม่มีประโยชน์ คุณก็จะยังได้ผลการรักษาดีกว่า ผู้ป่วยจะอาการดีกว่า และรายได้ของคุณก็จะงามกว่าเช่นกัน ผมคิดว่าความเชื่อคือเหตุให้เพื่อนร่วมวิชาชีพบางคนประสบความสำเร็จท่วมท้นทั้งที่ด้อยความสามารถและหูเบา ทั้งยังเป็นเหตุให้แพทย์ผู้ทันยุคและประสบความสำเร็จตั้งแง่กับสถิติและการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม” Asher R. Talking sense (Lettsomian lecture, 16 Feb, […]

| 0 Comments
Book cover

การแก้ไขความไม่แน่นอนคือความเป็นมืออาชีพ

“หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเป็นมืออาชีพ…ควรเป็นความสามารถในการระบุและแก้ไขความไม่แน่นอนทางการแพทย์ ทุกวันผู้ประกอบวิชาชีพต้องเผชิญหน้าและรับมือกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสาเหตุของโรค การวินิจฉัย และวิธีการรักษา แต่ความไม่แน่นอน เหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับอย่างเปิดเผย ผู้ประกอบวิชาชีพบาง รายยังลำบากใจหากต้องยอมรับว่ามีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะในการดูแลผู้ป่วย ความไม่แน่นอนเป็นตัวกระตุ้นชั้นยอดให้มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้คน ซึ่งเป็นแก่นของภารกิจของสภาวิจัยการแพทย์ในอนาคต การที่ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพพิจารณาผลการวิจัยซึ่งเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ ในสาขาของตนจะยิ่งทวีความสำคัญ เพื่อจะได้ตระหนักว่ายังมีความไม่แน่นอนเรื่องใด และมีงานวิจัยอะไรบ้างที่ดำเนินการอยู่ หรือต้องทำเพื่อแก้ไขความไม่แน่นอนเหล่านี้ โดยสรุป ในอนาคตเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ การตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยควรเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมืออาชีพ […]

| 0 Comments
Book cover

เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน : เรื่องคอขาดบาดตาย

“การไม่เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของผลการรักษา อาจทำให้เกิดความทุกข์ทรมานและการเสียชีวิตมหาศาลทั้งที่เลี่ยงได้ ถ้าก่อนนำไดอะซีแพม (diazepam) และเฟนิโทอิน (phenytoin) มาใช้กันชักในภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีอาการชักร่วมด้วย (eclampsia) มีการเปรียบเทียบกับแมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulphate) ซึ่งใช้กันมาหลายสิบปี คงลดจำนวนหญิงที่ต้องทรมานและเสียชีวิตได้หลายแสนคน เช่นเดียวกัน ถ้ามีการประเมินผลของสเตียรอยด์ชนิดให้เข้าในร่างกายในภาวะสมองบาดเจ็บก่อนจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย คงเลี่ยงการเสียชีวิตอันไม่สมควรได้หลายหมื่นราย นี่เป็นเพียง 2 กรณีจากกรณีตัวอย่าง มากมายที่แสดงว่า […]

| 0 Comments
Book cover

เมื่อแพทย์เห็นไม่ตรงกัน

ในหลายๆ โรคและหลายๆ อาการ ยังไม่แน่นอนนักว่าวิธีการรักษาใดได้ผลมากน้อยเพียงใด และวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น แต่แพทย์กลับไม่ลดการมองวิธีการรักษาต่างๆ แบบสุดโต่งลงเลย ทั้งที่ความเห็นของแพทย์แต่ละรายอาจแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิธีการรักษาที่ใช้ในอาการนั้นๆ ต่างกันโดยสิ้นเชิง ในทศวรรษที่ 1990 เอียน ชาลเมอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียน ข้อเท้าหักขณะพักผ่อนอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้รับการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ซึ่งดามขาข้างนั้นไว้ชั่วคราวและบอกว่า หลังจากหายบวมจะมีการใส่เฝือกแข็งตั้งแต่เข่าลงมานาน 6 […]

| 2 Comments
Book cover

ไม่แปลกที่เธอสับสน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 ผู้ป่วยที่ผ่านการตัดมดลูกเขียนจดหมายหา เดอะแลนเซ็ต (The Lancet)[1] ว่า “เมื่อปี ค.ศ. 1986 ฉันต้องตัดมดลูกเนื่องจากมีเนื้องอกศัลยแพทย์ตัดรังไข่ออกด้วย รวมทั้งพบว่าฉันมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนกะทันหัน ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอายุเพียง 45 ปี ฉันจึงได้รับการรักษาด้วย […]

| 0 Comments
Book cover

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy)

ในหญิงวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนได้ผลมากในการลดอาการร้อนวูบวาบทรมานที่มักเป็นกัน หลักฐานบางชิ้น ยังบอกว่าวิธีนี้อาจช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ด้วย คำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์ต่างๆ ของฮอร์โมนทดแทนค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงการ ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง หญิงหลายล้านคนเริ่มใช้ฮอร์โมนเป็นเวลายาวนานขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะคำกล่าวอ้างเรื่องประโยชน์เหล่านี้และประโยชน์อื่นๆ อีกมาก ทว่าที่มาของคำกล่าวอ้างนี้กลับเชื่อถือไม่ค่อยได้ ว่ากันเฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กว่า 20 ปีที่ผู้หญิงได้รับการบอกเล่าว่า ฮอร์โมนทดแทนจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ร้ายแรงนี้ อันที่จริงคำแนะนำนี้ได้มาจากผลของการศึกษาที่ไม่เที่ยงธรรม […]

| 0 Comments
Book cover

คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

อย่าคิดว่าเท่านั้นที่อันตราย คำแนะนำก็ร้ายแรงถึงตายได้เช่นกัน หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กชาวอเมริกัน นายแพทย์เบนจามิน สป็อก ผู้เขียนหนังสือขายดี การดูแลเด็กและทารก (Baby and Child Care) ที่กลายเป็นคัมภีร์ของทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และพ่อแม่ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร อยู่นานหลายสิบปี แต่ในการให้คำแนะนำเรื่องหนึ่งด้วยเจตนาดี นายแพทย์สป็อกกลับพลาดอย่างจัง ด้วยตรรกะที่ไม่อาจโต้แย้งบวกกับบารมีที่มีในระดับหนึ่ง เขากล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นตั้งแต่ฉบับปี ค.ศ. […]

| 0 Comments
Book cover

บทที่ 2 หวังไปก็ไร้ผล

ประเด็นสำคัญ ไม่ว่าทฤษฎี หรือความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ใช่แนวทางที่เชื่อถือได้ในการเลือกที่ปลอดภัยและได้ผล แค่เพราะวิธีการรักษานั้น “เป็นที่ยอมรับ” ไม่ได้หมายความว่ามีผลดีมากกว่าเสีย แม้วิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ประเมินอย่างเหมาะสมจะไม่อันตรายต่อผู้ป่วย แต่ก็อาจทำให้ทรัพยากรทั้งของประชาชนและของสังคมเสียเปล่า วิธีการรักษาบางอย่างนั้นใช้กันมานานก่อนจะรู้ว่ามีโทษมากกว่าประโยชน์ ผลดีต่างๆ ที่คาดหวังแต่แรกอาจไม่เกิดขึ้นจริง ในบทนี้เราจะอธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ถัดไป: คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

| 2 Comments
Book cover

อย่ามั่นใจเกินไป

“หากเสาะหาเราอาจได้เรียนและรู้สิ่งต่างๆ  ดีขึ้น  แต่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ความจริงที่แท้ ทุกสิ่งเป็นเพียงการคาดเดาที่เรียงร้อยเข้าด้วยกัน” เซโนฟาเนส เมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาล “ผมมั่นใจเสมอถ้าเป็นเรื่องที่ใช้แต่ความเห็น” ชาร์ลี (พีนัตส์) บราวน์ ในศตวรรษที่ 20 “ความผิดพลาดมากมายของเราแสดงว่าการคาดคะเนเรื่องเหตุ และผล…ยังคงเป็นศิลป์ แม้ว่าเราจะนำเทคนิคการวิเคราะห์ ระเบียบ และวิธีการทางสถิติ รวมถึงหลักเกณฑ์เชิงตรรกะมาช่วย […]

| 0 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.