GET-IT Jargon Buster
About GET-IT
GET-IT provides plain language definitions of health research terms
ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา วิธีที่วางแผนไว้อาจแตกต่างจาก วิธีที่ใช้จริงในหลายรูปแบบ ซึ่งอาจทำให้การแปลผลการตรวจสอบวิธีการ รักษายิ่งซับซ้อน ผู้ที่เข้าร่วมในงานวิจัยไม่ควรถูกกีดกันไม่ให้ได้รับวิธีการรักษาที่จำเป็น เมื่อทำการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมเพื่อศึกษาวิธีการรักษาแบบใหม่ที่หวังว่าจะมีประโยชน์แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ ควรมีการรับรองกับผู้ป่วยที่เข้าร่วมว่าทุกคนจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่ามีประสิทธิผล
หากมีคนรู้ว่าใครจะได้รับอะไรในการศึกษาหนึ่งๆ ก็อาจเกิดความลำเอียงหลายประการ ประการแรกคือ ผู้ป่วยและแพทย์อาจรู้สึกว่าผู้ที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษา “ใหม่” โชคดีจนอาจเสริมแต่งประโยชน์ของวิธีการรักษาเหล่านี้เกินจริงโดยไม่รู้ตัว ตรงกันข้ามผู้ป่วยและแพทย์อาจรู้สึกว่าผู้ที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษาที่ “เก่ากว่า” เสียโอกาส ซึ่งความผิดหวัง นี้อาจทำให้ประเมินผลดีต่ำกว่าที่เป็นจริง นอกจากนี้แพทย์ยังอาจให้การดูแลรักษาเสริมแก่ผู้ป่วยที่ถูกจัดสรรให้รับวิธีการรักษาที่เก่ากว่า ทำนองว่าเพื่อชดเชยกับเรื่องที่กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่ได้รับวิธีการรักษาใหม่ แม้ยังไม่ได้พิสูจน์ การรักษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยกลุ่มที่นำมาเปรียบเทียบเพียงกลุ่มเดียวทำให้การประเมินวิธีการรักษาใหม่ยุ่งยากขึ้น และเสี่ยงที่จะทำให้การเปรียบเทียบไม่เที่ยงธรรมรวมทั้งผลผิดพลาด วิธีหนึ่งในการลดความแตกต่างเมื่อเทียบระหว่างวิธีการรักษาที่วางแผนจะให้และที่ใช้จริงคือ พยายามทำให้วิธีการรักษาที่เปรียบเทียบทั้งใหม่และเก่ามีรูปลักษณ์ รส และกลิ่นเหมือนกัน
การออกแบบให้หน้าตา กลิ่น รส และสัมผัสของวิธีการรักษาที่ไม่มีตัวยา (วิธีรักษาปลอม หรือยาหลอก) เหมือนกับวิธีการรักษา “จริง” คือสิ่งที่ต้องทำเมื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาดังกล่าวกับวิธีการรักษาที่หวังว่าจะมีประโยชน์ สิ่งนี้เรียกว่า “การปกปิด (blinding)” หรือ “การอำพราง (masking)” โดยหากปกปิดได้ (ซึ่งมีหลายกรณีที่ทำไม่ได้) ผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่มเปรียบเทียบก็น่าจะต่างกันเพียงประการเดียวคือ วิธีการรักษาที่ถูกจัดสรรให้เป็นวิธีใหม่ หรือวิธีที่ไม่มีตัวยา ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ดูแลผู้ป่วยเองก็มีโอกาสรู้น้อยลงว่าผู้ป่วยได้รับวิธีการรักษาใหม่หรือเปล่า ถ้าทั้งแพทย์และผู้ป่วยไม่รู้ว่าวิธีการรักษาที่ใช้เป็นวิธีใด การทดลองนี้เรียกว่าเป็นแบบ “ปกปิดสองทาง (double blind)” ดังนั้น ผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่มเปรียบเทียบจึงมีแรงจูงใจพอๆ กันที่จะใช้วิธีการรักษาที่จัดให้ ส่วนแพทย์ที่ ดูแลก็น่าจะปฏิบัติกับผู้ป่วยทุกรายเหมือนกัน
GET-IT provides plain language definitions of health research terms