ระบบกำกับงานวิจัยยังขาดอะไรบ้าง

Download a pdf of What regulatory systems do not do

แม้ระบบกำกับงานวิจัยจะบังคับให้นักวิจัยทำตามข้อกำหนดเข้มงวดก่อนเริ่มการศึกษา แต่เห็นชัดว่าระบบนี้ยังขาดและบกพร่องหลายด้าน หลายระบบไม่ตรวจสอบจนมั่นใจได้ว่าการศึกษาที่วางแผนจะทำนั้นจำเป็น เช่น อาจไม่กำหนดให้นักวิจัยแสดงว่าได้ทบทวนหลักฐานทั้งหมดที่มีอย่างถี่ถ้วนแล้ว ก่อนจะเริ่มทำการศึกษาใหม่ (ดูบทที่ 8 ว่าเหตุใดการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจึงสำคัญยิ่ง)

นอกจากนี้ มาตรการกำกับงานวิจัยส่วนใหญ่ใช้ในช่วงเริ่มต้นวิจัยโดยเน้นการสอดส่องการเชิญชวนผู้เข้าร่วมการศึกษา แต่น่าแปลกใจที่ไม่ค่อยมีมาตรการติดตามระหว่างดำเนินการศึกษา และรับประกันว่านักวิจัยจะตีพิมพ์รายงานทันทีเมื่อการศึกษาสิ้นสุด (หรือกระทั่งตีพิมพ์หรือไม่) เพื่ออธิบายว่าผลการศึกษานั้นช่วยลดความไม่แน่นอนลงอย่างไร

ระบบกำกับงานวิจัยควรทำอะไร

“ถ้านักจริยธรรมและคนอื่นๆ อยากหาประเด็นวิจารณ์การทดลองในคน ก็ควรวิจารณ์งานที่ผิดหลักวิทยาศาสตร์ พร่ำเพรื่อ และที่สำคัญที่สุดคือ การคัดคนออกโดยไม่สมควร รวมถึงการใช้ทรัพยากรโดยไร้เหตุผล

อ่านต่อ

ผู้ที่ถูกเชิญชวนให้เข้าร่วมงานวิจัยเรื่องผลของวิธีการรักษาต้องวางใจได้ว่างานนั้นเป็นที่ต้องการ และความช่วยเหลือของตนจะเป็นประโยชน์ระบบกำกับงานวิจัยที่ดี ซึ่งมุ่งไขประเด็นที่ผู้ป่วยเห็นว่าสำคัญ ปัจจุบันมีผู้ตระหนักเพิ่มขึ้นว่าการตรวจสอบวิธีการรักษาเกี่ยวข้องกับทุกคน หากผู้ป่วยและประชาชนคว้าโอกาสที่มีผู้หยิบยื่นให้ในทุกวันนี้ และเข้าร่วมในการวางแผนและดำเนินงานวิจัย (ดูบทที่ 11) พวกเขาก็น่าจะมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่ามีการแก้ไขอุปสรรคเนื่องจากการกำกับงานวิจัย

เพิ่มเติม: เอกสารอ้างอิง (บทที่ 9)

บทถัดไป: บทที่ 10 งานวิจัย อะไรดี ไม่ดี และไม่จำเป็น