คำนึงถึงการตักตวงผลประโยชน์และการบิดเบือนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำนึงถึงการตักตวงผลประโยชน์และการบิดเบือนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

จะเป็นอย่างไรหากผู้ทบทวนวรรณกรรมมีผลประโยชน์อื่นซึ่งอาจกระทบการดำเนินงานหรือการแปลผล โดยอาจได้รับเงินจากบริษัทผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ที่ตรวจสอบอยู่  เมื่อประเมินหลักฐานเรื่องผลจากน้ำมันอีฟนิงพริมโรสต่อผื่นผิวหนังอักเสบผู้ทบทวนวรรณกรรมซึ่งเกี่ยวพันกับผู้ผลิตยาได้ข้อสรุปว่าน้ำมันนี้น่าประทับใจกว่าที่ผู้ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าสรุป (ดูบทที่ 2) แต่การทบทวนที่ลำเอียงไม่ได้เกิดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดได้จากอคติของทุกคน ทั้งนักวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและผู้ป่วย

น่าผิดหวังที่บางครั้งผู้ตักตวงผลประโยชน์ ใช้ความลำเอียงปรับวิธีการรักษาให้ดูดีกว่าที่เป็นจริง. (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 10)[8] ซึ่งเกิดเมื่อนักวิจัยบางส่วนจงใจเพิกเฉยหลักฐานที่มี โดยมักเป็นเพราะเหตุผลทางการค้า แต่บ้างก็ด้วยเหตุอื่น พวกเขาออกแบบ วิเคราะห์และรายงานผลจากงานวิจัย โดยตกแต่งผลเกี่ยวกับวิธีการรักษาหนึ่งๆ ให้เป็นด้านบวก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 เมื่อผู้ผลิตยาต้านอาการซึมเศร้าซีโรแซต (Seroxat) ซึ่งมี ตัวยาพาร็อกซีทีน  (paroxetine) ปิดบังหลักฐานชิ้นสำคัญ ซึ่งชี้ว่าที่จริงยานี้เพิ่มอาการในวัยรุ่น จนกระตุ้นให้ผู้ป่วยรุ่นเยาว์บางส่วนคิดฆ่าตัวตายหนีโรคซึมเศร้า [9]

การรายงานเกินก็เป็นปัญหาเช่นกัน พฤติกรรมท่เรียกว่า “การซอยงานวิจัย (salami slicing)” คือการที่นักวิจัยนำผลจากการศึกษาหนึ่ง มาซอยเป็นรายงานหลายฉบับโดยไม่แจ้งให้ชัดว่ารายงานเหล่านั้นมาจากการศึกษาเดียวกัน การทดลอง “ที่ให้ผลบวก” การศึกษาเดียวจึงอาจปรากฏในบทความต่างๆ ในวารสารวิชาการหลายฉบับ ซึ่งทำให้เกิดความลำเอียง [10]

ในกรณีนี้การขึ้นทะเบียนการทดลองตั้งแต่เริ่มการศึกษา โดยแต่ละการศึกษามีเครื่องหมายแสดงตัว จะช่วยลดความสับสนซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมข้างต้น

ถัดไปจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง