คำนำผู้เขียน

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำนำผู้เขียน

การรักษาต้องสงสัย ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006 ได้แรงบันดาลใจจากคำถามว่า “เราจะทำอย่างไรจึงแน่ใจได้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการรักษาจะตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย” จากประสบการณ์ของเรา ผู้เขียน งานวิจัยมักไม่ได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญนี้ เรา ซึ่งในเวลานั้น หมายถึง อิโมเจน อีแวนส์ แพทย์ อดีตนักวิจัย และนักหนังสือพิมพ์ เฮเซล ทอร์นตัน ผู้ป่วย ซึ่งเป็นคนธรรมดาที่รณรงค์ด้านคุณภาพงานวิจัยและการดูแลสุขภาพ และเอียน ชาลเมอร์ส นักวิจัยด้านบริการสุขภาพ ต่างรู้ดีว่า วิธีการรักษาหลายวิธี ไม่ว่าวิธีใหม่ หรือเก่า ขาดหลักฐานที่เชื่อถือได้ เราจึงตั้งต้นเขียนหนังสือเพื่อส่งเสริมให้มีการพิจารณาผลของวิธีการรักษาโดยใช้หลักฐานมากขึ้น โดยรณรงค์ให้มีการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์

เรามีกำลังใจเมื่อหนังสือ การรักษาต้องสงสัย ได้รับความสนใจมากจากทั้งประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งฉบับดั้งเดิมที่จัดพิมพ์โดยหอสมุดแห่งชาติสหราชอาณาจักร และฉบับที่เราเผยแพร่โดยไม่คิดมูลค่าผ่านทางเว็บไซต์ www.jameslindlibrary.org การรักษาต้องสงสัย ฉบับพิมพ์ครั้งแรกถูกนำไปใช้ประกอบการสอนในหลายประเทศ และมีฉบับแปลหลายภาษาเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีจาก th.testingtreatments.org.

ตั้งแต่เริ่มต้น เราเห็นว่า การรักษาต้องสงสัย เป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะผลของวิธีการรักษาต่างๆ ทั้งใหม่และเก่ามีความไม่แน่นอนแฝงอยู่แทบทุกกรณี จึงจำเป็นต้องตรวจสอบวิธีการรักษาทุกวิธีอย่างเหมาะสมเป็นระยะๆ เพื่อการนี้จึงต้องตรวจสอบหลักฐานใหม่ รื้อหลักฐานเก่า แล ทบทวนหลักฐานในเชิงวิพากษ์อย่างเป็นระบบ ก่อนจะเริ่มงานวิจัยชิ้นใหม่ รวมถึงต้องแปลผลใหม่ทุกครั้งที่มีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

ในการเขียน การรักษาต้องสงสัย ฉบับปรับปรุง เมื่อพอล กลาสซิโอ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและนักวิจัยผู้มุ่งมั่นจะผสานหลักฐานจากการวิจัยคุณภาพเข้าในเวชปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เข้าร่วม  ผู้เขียนก็เพิ่มจาก 3 คนเป็น 4 คน เรามีผู้จัดพิมพ์ใหม่คือ สำนักพิมพ์พินเทอร์และมาร์ติน ซึ่งได้จัดพิมพ์ฉบับพิมพ์ครั้งแรกซ้ำในปี ค.ศ. 2010 โดยฉบับใหม่ก็มีให้อ่านออนไลน์ฟรีเช่นเคยที่ www.testingtreatments.org

แม้ประเด็นพื้นฐานของหนังสือยังคงเดิม แต่มีการปรับปรุงเนื้อหาขนานใหญ่เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เช่น ขยายความเรื่องผลดีผลเสียจากการคัดกรองเป็นบทหนึ่งต่างหาก (บทที่ 4) ชื่อว่า ลงมือก่อนอาจไม่ดีกว่า และในบท การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วย หรือตัวถ่วง (บทที่ 9) เราอธิบายว่างานวิจัยอาจโดนกวดขันเกินไปจนส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้อย่างไร ในบทรองสุดท้าย (บทที่ 12) เราถามว่า “อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น” และชี้ให้เห็นว่าจะรวบรวมหลักฐานทุกชนอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน แล้วปิดฉากด้วยแนวทางสำหรับอนาคตที่สดใส พร้อมแผนปฏิบัติการ (บทที่ 13)

While our basic premise remains the same, the original text has been extensively revised and updated. For example, we have expanded coverage of the benefits and harms of screening in a separate section entitled And in การกำกับการตรวจสอบวิธีการรักษา : ตัวช่วย หรือตัวถ่วง we describe how research can become over-policed to the detriment of patients. In the penultimate section we ask: ‘อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น’ and show how the lines of evidence can be drawn together in ways that can make a real difference to all of us. We close with our แนวทางสำหรับอนาคตที่สดใส พร้อมแผนปฏิบัติการ

หวังว่าหนังสือของเราจะชี้ทางสู่ความเข้าใจในวงกว้างขึ้นว่าควรตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างไรให้เที่ยงธรรม และทุกคนจะมีบทบาทอย่างไร ในการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่ “แนวทางการรักษาที่ดีที่สุด” ที่ส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย แต่เราเน้นประเด็นพื้นฐานให้แน่ใจ ว่างานวิจัยถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง มีการทำวิจัยอย่างเหมาะสม สามารถ แยกแยะวิธีการรักษาที่มีอันตรายกับที่มีประโยชน์ และวางแผนให้ตอบคำถามที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย สาธารณชน และบุคลากรทางการแพทย์

อิโมเจน อีแวนส์, เฮเซล ทอร์นตัน

เอียน ชาลเมอร์ส, พอล กลาสซิโอ

สิงหาคม ค.ศ. 2011

ถัดไปบทนำ