Home > อ่านหนังสือฉบับเต็ม > เราจะช่วยพัฒนาการตรวจสอบวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง > บทที่ 12 อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น > คำถามเรื่องการนำหลักฐานจากงานวิจัยมาใช้จริง > คำถามที่ 6 : ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไรว่าโรคที่ตนเป็นอยู่ระหว่างการศึกษาด้วยการทดลองในคน ถ้าแพทย์ไม่รู้เรื่องการทดลองดังกล่าว

คำถามที่ 6 : ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไรว่าโรคที่ตนเป็นอยู่ระหว่างการศึกษาด้วยการทดลองในคน ถ้าแพทย์ไม่รู้เรื่องการทดลองดังกล่าว

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำถามที่ 6 : ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไรว่าโรคที่ตนเป็นอยู่ระหว่างการศึกษาด้วยการทดลองในคน ถ้าแพทย์ไม่รู้เรื่องการทดลองดังกล่าว

ไม่ถึง 1 ใน 100 คนที่พบแพทย์จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการทดลองอัตราส่วนนี้แตกต่างกันมากตามโรคและสถานการณ์ แม้แต่ในศูนย์มะเร็งซึ่งยอมรับการทดลองและนำไปใช้แพร่หลาย ก็ยังมีความแตกต่างมาก ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่จะเข้าร่วมการทดลอง แต่ผู้ป่วยผู้ใหญ่เข้าร่วมไม่ถึง 1 ใน 10 ราย การเชิญชวนนี้ส่วนใหญ่ยึดตามสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยรับการรักษา ถ้าสถานพยาบาลนั้นๆ ไม่ได้เข้าร่วมในการทดลองดังกล่าว ก็ไม่อาจเชิญผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยจึงต้องหาสถานพยาบาลที่ร่วมในการทดลอง มีการทดลองที่ทำในชุมชนไม่กี่เรื่องที่ผู้ป่วยเข้าร่วมได้โดยตรง เช่นที่พบบ่อยในงานวิจัยซึ่งออกแบบเพื่อศึกษาว่าควรช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลอย่างไร มีการทดลองอื่นๆ ที่เชิญผู้เข้าร่วมโดยตรงผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เพื่อประเมินผลจากการยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย เชิญผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมดด้วยวิธีนี้ ผู้ที่เข้าร่วมไม่ต้องไปคลินิก แต่ได้รับคำแนะนำและการตรวจติดตามทั้งหมดผ่านอินเทอร์เน็ต

หากแพทย์ดูจะไม่เต็มใจให้ผู้ป่วยเข้าร่วมการทดลอง ผู้ป่วยควรหาสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่เข้าเกณฑ์จริงๆ เป็นต้น แต่ก็อาจเพียงเพราะแพทย์ไม่อยากรับภาระงานเพิ่มจากข้อกำหนดต่างๆ (ดูบทที่ 9) ผู้ป่วยที่เชื่อว่าตนน่าจะเข้าเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษาที่ดำเนินอยู่จึงควรยืนกราน ถ้ารู้ว่ามีการทดลองที่เหมาะสมและผู้ป่วยแสดงชัดว่ายินดีเข้าร่วม แพทย์ก็ควรสนับสนุน

Nextคำถามที่ 7 : วิธีใดดีที่สุดในการแยกแยะว่าหลักฐานนั้นๆ (บนเว็บไซต์ หรืออื่นๆ) เชื่อถือได้หรือไม่ ประชาชนควรดูอย่างไร