3-1 Do the outcomes measured matter to you?

A fair comparison may not include all outcomes that are relevant to treatments. Patients, professionals and researchers may have different views about which outcomes are important. For example, studies often measure outcomes, such as heart rhythm irregularities, as surrogates for important outcomes, like death after heart attack. However, the effects of treatments on surrogate outcomes often do not provide a reliable indication of the effects on outcomes that are important.

Always consider the possibility that outcomes that are important to you may not have been addressed in fair comparisons. Do not be misled by surrogate outcomes.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Know Your Chances

This book has been shown in two randomized trials to improve peoples' understanding of risk in the context of health care choices.

| 0 Comments | Evaluated

Composite Outcomes

Fair comparisons of treatments should measure important outcomes and avoid dependence on surrogate outcome measures.

| 0 Comments

Biomarkers unlimited

Fair comparisons of treatments should measure important outcomes and avoid dependence on surrogate outcome measures.

| 0 Comments

Does it work?

People with vested interests may use misleading statistics to support claims about the efects of new treatments.

| 0 Comments
Book cover

การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดูแลสุขภาพ

“การที่กลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย ผู้ขายวิธีการรักษา และผู้สั่งใช้วิธีนั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดกลุ่มอิทธิพล ซึ่งผลักดันผู้กำหนดนโยบายให้ตัดสินใจเหมือนเดิมแทบทุกครั้ง คือให้เพิ่มการตรวจร่างกาย การทำหัตถการ เตียงในโรงพยาบาล และการให้ยามากขึ้น… ในฐานะนักข่าวที่คลุกคลีในสาขานี้มากว่า 10 ปี ผมรู้สึกว่าการอภิปรายส่วนใหญ่ยังขาดผู้แทนที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง กลุ่มพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยได้รับเงินสนับสนุน จึงพร้อมจะเชิดชูวิธีการรักษา หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยไม่ค่อยสนใจจะวิพากษ์ในที่สาธารณะเรื่องประสิทธิผลอันน้อยนิด    ต้นทุนสูงลิ่วและอันตรายร้ายแรง นักการเมืองก็คล้ายกับนักข่าวจำนวนมากตรงที่เกรงแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิจนเกินพอดี รวมถึงเกรงนักพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยหัวแข็ง […]

| 0 Comments
Book cover

ประชาชนทั่วไปช่วยคิดทบทวนเรื่องโรคเอดส์

“ปัญหาเรื่องการเสื่อมศรัทธาในผู้เชี่ยวชาญ[1] ในเวทีเรื่องโรคเอดส์นั้น โยงใยกับหลายฝ่ายและมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมหาศาล การที่ประชาชนเข้าร่วมอภิปรายและประเมินคำกล่าวอ้างทางวิทยาศาสตร์ ช่วยสร้างองค์ความรู้เรื่องโรคเอดส์ในปัจจุบัน จนยากจะตัดสินว่าใครคือ ‘ประชาชนทั่วไป’ ใครคือ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ กันแน่ ต้องเดิมพันกันทุกอึดใจว่าข้อมูลที่กล่าวอ้าง หรือบุคคลนั้นๆ เชื่อถือได้หรือไม่ แต่อันที่จริง มันเป็นการเดิมพันเรื่องกลไกในการประเมินความน่าเชื่อถือของคำกล่าวอ้างทางวิทยาศาสตร์ว่า ควรตัดสินอย่างไร และใครมีสิทธิ์ตัดสิน (ดังที่การศึกษานี้แสดง) การอภิปรายด้านวิทยาศาสตร์ก็คือการอภิปรายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกัน ว่าควรทำอย่างไร […]

| 0 Comments
Book cover

ความร่วมมือที่สำคัญ

“งานวิจัยที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในระบบบริการสุขภาพแห่งชาติต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและประชาชนจึงจะสำเร็จ “ต่อให้งานวิจัยซับซ้อน หรือนักวิจัยเก่งกาจเพียงใด ความรู้จากประสบการณ์ของผู้ป่วยและประชาชนก็ยังเปิดมุมมองใหม่และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คำแนะนำจากผู้ป่วยและประชาชนในช่วงที่ออกแบบดำเนินการ และประเมินผลของงานวิจัย ช่วยให้การศึกษามีประสิทธิผลยิ่งขึ้น เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น และมักคุ้มค่ายิ่งขึ้นด้วย” Professor Dame Sally Davies. Foreword to Staley K. Exploring impact: public […]

| 0 Comments
Book cover

ทางเลือกของผู้ป่วย : ดาวิดผู้ฆ่ายักษ์โกไลแอท

“ใครเป็นผู้ที่มองขาดว่าโจทย์วิจัยนั้นๆ สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้ป่วยที่เป็นทุกข์และแตกต่างกัน เหตุใดโจทย์วิจัยจึงไม่ตรงประเด็น ขณะนี้ผู้ตั้งโจทย์คือใครและควรเป็นใคร ใครจะเป็นผู้ควบคุมการจัดลำดับความสำคัญ ผู้ป่วยรู้ดีที่สุดว่าประเด็นด้านสุขภาพประเด็นใดตรงใจตน และเป็นประโยชน์ที่สุดต่อความสบายกายใจ การดูแล และคุณภาพชีวิต รวมถึงอายุขัยของตน ผู้ป่วยคือ ดาวิดมนุษย์ผู้ต้องเตรียมอาวุธเพื่อโค่นยักษ์ใหญ่โกไลแอท ซึ่งก็คือ บริษัทยาที่ต้องการหลักฐานเพื่อขายสินค้าหากำไร และนักวิจัย ซึ่งมีความอยากรู้อยากเห็น ความจำเป็นที่ต้องหาเงินทุนวิจัย ชื่อเสียง และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นแรงผลักดัน […]

| 0 Comments
Book cover

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินแทบไม่ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย

“มีการทดลองไม่กี่เรื่องที่เปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ หรือการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว การศึกษาต่างๆ ทำในระยะสั้นจนไม่น่าเชื่อถือ เมื่อคำนึงถึงว่าโรคนั้นมีแนวโน้มจะเรื้อรังแทบตลอดชีวิต ดูเหมือนสิ่งที่รู้ชัดมีเพียงว่าวิธีการรักษาที่ใช้นั้นดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ที่สำคัญนักวิจัยละเลยประสบการณ์ มุมมอง ความต้องการ และ ความพึงพอใจของผู้ป่วย” อาร์ จ็อบลิง ประธานสมาคมโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis Association) Jobling R. Therapeutic research […]

| 0 Comments
Book cover

ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะศึกษาอะไร

เห็นชัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวไม่เข้าที แต่เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ เหตุผลหนึ่งคือประเด็นวิจัยมักถูกบิดเบือนโดยปัจจัยภายนอก [22] เช่น อุตสาหกรรมยาทำการวิจัยเพื่อสนองเป้าหมายหลัก คือเพื่อให้ลุล่วงตามภาระหน้าที่ในการทำกำไรที่มีต่อผู้ถือหุ้น ส่วนความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ป่วยและแพทย์สำคัญรองลงมา ธุรกิจถูกชักจูงด้วยตลาดขนาดใหญ่ เช่น หญิงที่สงสัยว่าควรใช้วิธีการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ซึมเศร้า วิตก กังวล หดหู่ หรือเจ็บปวด ทว่าในช่วงทศวรรษหลังๆ แนวทางแบบเล็งผลทางการค้านี้แทบไม่ได้ทำให้เกิดวิธีการรักษาใหม่ที่สำคัญ แม้แต่ในโรค “ยอดนิยม” […]

| 2 Comments
Book cover

โจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย

นักวิจัยในบริสตอล สหราชอาณาจักร ตัดสินใจตั้งคำถามสำคัญว่า “งานวิจัยเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมตอบโจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยและแพทย์หรือไม่อย่างไร” [17] พวกเขาเริ่มจากจัดกลุ่มสนทนา 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยอายุรแพทย์โรคข้อนักกายภาพบำบัด และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป กลุ่มคนเหล่านี้เห็นตรงกันว่าไม่อยากให้ทำการทดลองที่สนับสนุนโดยบริษัทยา ซึ่งเปรียบเทียบยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (กลุ่มยาที่มีไอบูโพรเฟน เป็นต้น) กับยาหลอกอีก ผู้ป่วยเห็นว่าแทนที่จะศึกษาเรื่องยา น่าจะมีการประเมินการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดอย่างมีคุณภาพ รวมถึงประเมินมาตรการให้ความรู้และรับมือกับโรค ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการเรื้องรังที่มักก่อความเจ็บปวดและอาจพิการนี้ได้เป็นผลดียิ่งขึ้น […]

| 0 Comments
Book cover

การให้ยาแก้ปวดทางไขสันหลัง (Epidural analgesia) ในหญิงใกล้คลอด

การทดลองเรื่องแรกๆ เกี่ยวกับการให้ยาแก้ปวดทางไขสันหลังเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างคลอด เป็นตัวอย่างที่ไม่ควรเอาอย่าง แต่แสดงให้เห็นความสำคัญของการประเมินผลการรักษาที่สำคัญต่อผู้ป่วย ในทศวรรษ 1990 นักวิจัยทบทวนการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมที่เปรียบเทียบการให้ยาแก้ปวดทางไขสันหลังกับการให้ยาด้วยวิธีอื่น โดยคะเนว่ามีหญิงที่เข้าร่วมในการเปรียบเทียบที่ไม่ลำเอียงระหว่างวิธีนี้กับวิธีอื่นไม่ถึง 600 ราย ทั้งที่ในช่วง 20 ปีก่อนหน้านั้นมีหญิงหลายล้านรายได้รับยาแก้ปวดทางไขสันหลัง นักวิจัยพบการเปรียบเทียบ 9 เรื่อง ซึ่งนำมาวิเคราะห์ได้อย่างมั่นใจ พบว่าการเปรียบเทียบส่วนใหญ่วัดผลด้วยระดับฮอร์โมนและสารอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าบ่งชี้ถึงความเครียดขณะคลอด มีบ้างที่สนใจผลต่อทารก […]

| 0 Comments
Book cover

การใช้สามัญสำนึกในการขอความยินยอมหลังให้ข้อมูลในแนวทางเวชปฏิบัติที่ดี

“การขอความยินยอมยังไม่เคยถูกอภิปรายในด้านความเข้าใจของผู้ป่วยที่แท้จริง ข้อมูลที่ผู้ป่วยอยากรู้คืออะไร และวิธีรับมือเมื่อผู้ป่วยอยากรู้แต่น้อย ไม่ค่อยมีการศึกษาด้านการประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยต่อข้อมูลที่ได้รับ แพทย์มักไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยและญาติเข้าใจข้อมูลนั้นๆ ถูกต้องเพียงใด ทั้งนี้ความเข้าใจขึ้นอยู่กับผู้ให้ข้อมูล วิธีอธิบาย และเวลา หรือสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการพิจารณาข้อมูล การที่แพทย์ตัดสินใจแทนผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในเวชปฏิบัติ เวชปฏิบัติที่ดีต้องใช้วิธีตามสามัญสำนึก โดยอธิบายสิ่งต่างๆ ให้กระจ่าง ปรับสิ่งที่อธิบายให้เหมาะกับความต้องการของผู้ป่วย และตรวจสอบว่าผู้ป่วยเข้าใจหรือไม่” Gill R. How to […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษา “แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” แปลว่าอะไร

คำถามนี้ตอบยาก เพราะ “ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ” อาจแปลได้หลายอย่าง อย่างแรก คือ ความแตกต่างที่สำคัญต่อผู้ป่วยจริง ทว่าเมื่อผู้เขียนรายงานวิจัยกล่าวว่าวิธีการรักษา “แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ” พวกเขามักหมายถึง “ความแตกต่างทางสถิติ” ทั้งนี้ “ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ”  อาจไม่ได้ “มีนัยสำคัญ” ในความหมายที่ใช้กันทั่วไป “ความแตกต่าง” ระหว่างวิธีการรักษา “ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ” ซึ่งก็คือ […]

| 2 Comments
Book cover

เมื่อแพทย์เห็นไม่ตรงกัน

ในหลายๆ โรคและหลายๆ อาการ ยังไม่แน่นอนนักว่าวิธีการรักษาใดได้ผลมากน้อยเพียงใด และวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนั้น แต่แพทย์กลับไม่ลดการมองวิธีการรักษาต่างๆ แบบสุดโต่งลงเลย ทั้งที่ความเห็นของแพทย์แต่ละรายอาจแตกต่างกัน ซึ่งทำให้วิธีการรักษาที่ใช้ในอาการนั้นๆ ต่างกันโดยสิ้นเชิง ในทศวรรษที่ 1990 เอียน ชาลเมอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียน ข้อเท้าหักขณะพักผ่อนอยู่ในสหรัฐอเมริกา เขาได้รับการรักษาโดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ซึ่งดามขาข้างนั้นไว้ชั่วคราวและบอกว่า หลังจากหายบวมจะมีการใส่เฝือกแข็งตั้งแต่เข่าลงมานาน 6 […]

| 2 Comments
Book cover

เฮอเซปติน (Herceptin)

ไม่ได้มีแต่บริษัทเชิงพาณิชย์ที่เชิดชูข้อดีและกลบเกลื่อนข้อเสีย ของวิธีการรักษาใหม่ ความตื่นเต้นดีใจของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการประโคมของสื่อก็ส่งผลเช่นเดียวกัน ข้อเสียเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย แต่ยังรวมถึงความยุ่งยากในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วย ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์เกี่ยวกับยาโรคมะเร็งเต้านม ทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) ซึ่งมักรู้จักกันในชื่อการค้าเฮอเซปติน (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 3) ต้นปี ค.ศ. 2006 การเรียกร้องของกลุ่มผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งหนุนโดยอุตสาหกรรมยาและสื่อมวลชนทำให้ระบบบริการสุขภาพแห่ง ชาติ (National Health Service) ในสหราชอาณาจักรให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกใช้เฮอเซปตินได้ […]

| 1 Comment

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.