GET-IT Jargon Buster
About GET-IT
GET-IT provides plain language definitions of health research terms
น่าเสียดายที่ไม่มีตัวบ่งชี้ง่ายๆ ที่แม่นยำว่าข้อมุลเชื่อถือได้ หากไม่ดูงานวิจัยต้นฉบับก็แปลว่าเรากำลังเชื่อการประเมินของผู้อื่น ดังนั้น จึงสำคัญที่ต้องประเมินศักยภาพที่บุคคล (หรือองค์กร) นั้นๆ น่าจะมี และสังเกตว่ามีการเอื้อผลประโยชน์ (หรือปักใจเชื่อเรื่องใด) หรือไม่ หากไม่มี ก็ให้ไตร่ตรองว่าเชื่อหรือไม่ว่าพวกเขาได้พบและประเมินงานวัจัยที่ดีที่สุดแล้ว มีการอธิบาย หรือให้แหล่งอ้างอิงไปยังงานวิจัยนั้นไหม
เช่น สมมติว่ามีคนอยากรู้ว่าเบตาแคโรทีน (beta-carotene สารที่มีความเกี่ยวข้องกับวิตามินเอ) เพิ่มหรือลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง การค้นว่า “เบตาแคโรทีน มะเร็ง (beta-carotene สารที่มีความเกี่ยวข้องกับวิตามินเอ) เพิ่มหรือลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง การค้นว่า “เบตาแคโรทีน มะเร็ง (beta-carotene cancer)” พบผลกว่า 800,000 รายการ ใน 10 รายการแรก มีการศึกษาวิจัย 4 รายการ และการทบทวนวรรณกรรม หรือบทวิจารณ์ 6 รายการ 3 ใน 6 รายการนั้นมีโฆษณาวิตามินหรือการแพทย์ทางเลือก จึงดูไม่ชอบมาพากล
หนึ่งในเว็บไซต์ที่คุณภาพไม่ดีกล่าวว่า
“คำถาม : เบตาแคโรทีนป้องกันมะเร็งหรือไม่ คำตอบ : การศึกษาต่างๆ พบว่าเบตาแคโรทีนช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เบตาแคโรทีนพบได้ในผักสีเหลือง แดง และเขียวเข้ม รวมถึงผลไม้ มักเชื่อกันว่าการกินอาหารเสริมที่มีเบตาแคโรทีนจะให้ผลเหมือนการกินผักผลไม้ ซึ่งไม่เป็นความจริงการศึกษาต่างๆ พบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษามีความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น”
นอกจากมีการโฆษณา ยังมีการกล่าวถึง “การศึกษา” แต่ไม่อธิบายหรืออ้างอิงการศึกษาที่ตีพิมพ์ นี่คือพิรุธ ไม่มีทางรู้ว่าผู้เขียนได้ค้นคว้าและประเมิน “การศึกษา” เหล่านั้นหรือไม่ หรือเพียงแต่บังเอิญพบการศึกษาที่ข้อสรุปตรงใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับหน้าวิกิพีเดีย (Wikipedia ซึ่งอยู่ใน 10 รายการแรกเช่นกัน) :
“การทบทวนบทความวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมทั้งหมด โดยความร่วมมือคอเครน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (Journal of American Medical Association [JAMA]) ในปี ค.ศ.2007 พบว่าเบตาแคโรทีนเพิ่มอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ 1-8 (ความเสี่ยงสัมพันธ์ 1.05 ช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 คือ 1.01-1.08)[15] อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์เชิงอภิมานนี้วิเคราะห์การศึกษาขนาดใหญ่ในผู้สูบบุหรี่ด้วย จึงไม่ชัดเจนว่าผลที่ได้ ใช้กับคนทั่วไปได้หรือไม่[16]”
ข้อเขียนนี้กล่าวถึงชนิดของหลักฐาน (การทดลองแบบสุ่ม) และให้แหล่งอ้างอิง (ในวงเล็บก้ามปู) เนื่องจากไม่มีโฆษณาและมีรายละเอียดเรื่องหลักฐาน จึงวางใจได้
ถัดไป: คำถามที่ 8 : มีแหล่งข้อมูลซึ่งเชื่อถือได้ที่แนะนำหรือไม่
GET-IT provides plain language definitions of health research terms