2-9 Reviews of fair comparisons should be systematic

Reviews that do not use systematic methods may result in biased or imprecise estimates of the effects of treatments because the selection of studies for inclusion may be biased or the methods may result in some studies not being found. In addition, the appraisal of some studies may be biased, or the synthesis of the results of the selected studies may be inadequate or inappropriate.

Whenever possible, use systematic reviews of fair comparisons rather than non-systematic reviews of fair comparisons of treatments to inform your decisions.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Logo

Bias

A University of Massachusetts Medical School text on biases.

| 0 Comments

Sunn Skepsis

Denne portalen er ment å gi deg som pasient råd om kvalitetskriterier for helseinformasjon og tilgang til forskningsbasert informasjon.

| 0 Comments

Dodgy academic PR

Ben Goldacre: 58% of all press releases by academic institutions lacked relevant cautions and caveats about the methods and results reported

| 0 Comments

The Systematic Review

This blog explains what a systematic review is, the steps involved in carrying one out, and how the review should be structured.

| 0 Comments

Goldilocks

Cartoon and blog about how poorly performed systematic reviews and meta-analyses may misrepresent the truth.

| 0 Comments
Book cover

โรคหลอดเลือดสมอง

อีกตัวอย่างของงานวิจัยที่ไม่จำเป็น ซึ่งเกิดเพราะไม่มีการรวบรวมและวิเคราะห์ผลจากการศึกษาก่อนๆ เช่นกัน เป็นเรื่องการรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยยาชื่อนิโมดิปีน (nimodipine ยาในกลุ่มยับยั้งตัว รับแคลเซียม [calcium antagonist]) หากจำกัดบริเวณที่สมองเสียหายได้ในผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง โอกาสเกิดความพิการก็น่าจะลดลง หลังจากการทดลองใช้นิโมดิปีนในสัตว์ให้ผลที่ดูเข้าที ก็เริ่มมีการทดลองยาดังกล่าวเพื่อการนี้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในทศวรรษ 1980 การทดลองซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1988 พบผลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในกลุ่มนี้ แต่ผลจากการทดลองอีกจำนวนมากเรื่องนิโมดิปีนและยาชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันกลับขัดแย้งกัน เมื่อมีการทบทวนหลักฐานจากการทดลองในคนทั้งหมดอย่างเป็นระบบในผู้ป่วยรวมเกือบ […]

| 2 Comments
Book cover

ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด

งานวิจัยบางเรื่องก็ก้ำกึ่งระหว่างดีกับไม่ดี ได้แก่ งานที่ไม่จำเป็น ตัวอย่างงานลักษณะนี้เป็นเรื่องเด็กท่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้เกิดเร็วกว่าที่ควร ปอดจึงอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กจึงเสี่ยงมีอาการแทรกซ้อนที่ถึงชีวิต เช่น ภาวะหายใจลำบาก ก่อนช่วงต้นทศวรรษ 1980 มีหลักฐานจำนวนมากว่าการให้สเตียรอยด์ในหญิงมีครรภ์ที่เสี่ยงจะคลอดก่อนกำหนด ลดความถี่ที่ทารกจะมีอาการหายใจลำบากและเสียชีวิต แต่ในช่วงทศวรรษถัดมา ยังมีการทดลองโดยเปรียบเทียบสเตียรอยด์กับยาหลอกหรือการไม่รักษา หากมีการทบทวนผลการทดลองเรื่องก่อนๆ อย่างเป็นระบบ แล้วรวมผลด้วยการวิเคราะห์เชิงอภิมาน (ดูบทที่ 7 […]

| 0 Comments
Book cover

วิทยาศาสตร์คือการสะสมแต่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้รวบรวม หลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

“นักวิจัยสายวิชาการพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ‘การวิเคราะห์เชิงอภิมานสะสม (cumulative meta-analysis)’ มานาน 25 ปีแล้ว โดยหลักการคือการทำการวิเคราะห์เชิงอภิมานเกี่ยวกับมาตรการหนึ่งๆ อยู่เป็นระยะๆ เมื่อการศึกษาหนึ่งเสร็จสิ้น ก็เติมค่าที่ได้เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้ผลรวมที่ทันเหตุการณ์ และให้รู้ชัดว่าผลที่ได้ชี้ไปในทิศทางใด ประโยชน์สูงสุดของวิธีนี้คือมีโอกาสสูงที่จะสังเกตเห็นคำตอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติทันทีที่ปรากฏ โดยไม่ต้องเสี่ยงหลายชีวิตในการศึกษาเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น” Goldacre B. Bad Science: How pools […]

| 0 Comments
Book cover

ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

“การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานมีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในการดูแลสุขภาพ แพทย์อ่านงานเหล่านี้เพื่อให้ทันเหตุการณ์ในสาขาของตน ทั้งยังมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแนวทางเวชปฏิบัติ หน่วยงานให้ทุนวิจัยอาจต้องการการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อยืนยันว่ามีเหตุสมควรให้ทำงานวิจัยเพิ่มเติม วารสารวิชาการด้านการดูแลสุขภาพบางฉบับก็มุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับงานวิจัยทุกชนิด คุณค่าของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำ สิ่งที่พบ และความชัดเจนในการรายงาน แต่คุณภาพของการรายงานประเภทนี้ก็สะเปะสะปะไม่ต่างจากงานตีพิมพ์อื่นๆ ซึ่งทำให้ ผู้อ่านประเมินข้อดีและข้อด้อยของการทบทวนเหล่านั้นได้ยาก” Moher D, Liberati A, Tetzlaff, Altman […]

| 0 Comments
Book cover

การสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย

เมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว ลอร์ดเรย์ลี ประธานสมาคมพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (British Association for the Advancement  of  Science) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นที่ต้องรวมผลจากการวิจัยเรื่องใหม่เข้าในบริบทเดียวกับหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องว่า “ถ้าวิทยาศาสตร์เป็นอย่างที่เข้าใจกันในบางครั้ง คือประกอบด้วยข้อเท็จจริงล้วนๆ ซึ่งเพิ่มพูนขึ้นด้วยความอุตสาหะ ไม่นานมันก็จะหยุดชะงัก แล้วล่มสลายเพราะความหนักของมันเอง…จึงมี 2 กระบวนการที่ดำเนินไปเคียงข้างกัน คือ การยอมรับสิ่งใหม่และการทำความเข้าใจสิ่งเดิมจนนำมาใช้ใหม่ได้ […]

| 0 Comments
Book cover

ทรัพยากรที่สูญเปล่าในการดูแลสุขภาพและการวิจัย

ผลเสียของการไม่ทบทวนหลักฐานจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้และเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ไม่ได้มีเพียงก่ออันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้เข้าร่วมในงานวิจัยนั้น เพราะยังอาจทำให้สูญทรัพยากรในการดูแลและการวิจัยด้านสุขภาพ เช่น ในช่วงทศวรรษ 1980-1990 ผู้ป่วยรวมกว่า 8,000 ราย เข้าร่วมในการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับยาชนิดใหม่ที่เสนอให้ใช้ในโรคหลอดเลือดสมอง นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์ทบทวนผลจากการศึกษาเกี่ยวกับยากลุ่มนี้อย่างเป็นระบบ โดยไม่พบผลที่เป็นประโยชน์ (ดูบทที่ 10) [17] จึงตัดสินใจทบทวนผลจากการตรวจสอบยาดังกล่าวที่เคยทำในสัตว์ ซึ่งก็ยังไม่พบประโยชน์ใดๆ [18] หากนักวิจัยที่ทดลองในสัตว์และนักวิจัยที่ศึกษาในคนทบทวนผลจากการศึกษาในสัตว์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ผลดัง […]

| 2 Comments
Book cover

อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย

การไม่ประเมินหลักฐานที่เชื่อถือได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งที่เลี่ยงได้ นักวิจัยยังถูกว่าจ้างให้ทำการศึกษาซึ่งระงับการใช้วิธีการรักษาที่รู้ว่ามีประสิทธิผล เช่น เนิ่นนานหลังจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือแสดงว่า การให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ผ่าตัดลำไส้ช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อน นักวิจัยยังคงทำการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมโดยไม่ให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยครึ่งหนึ่ง การที่นักวิจัยละเลยการทบทวนความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ ตัดโอกาสที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาครึ่งหนึ่งจะได้รับวิธีการรักษาที่ทราบแล้วว่าเป็นประโยชน์ มีหลักฐานว่าความบกพร่องร้ายแรงนี้ยังไม่เป็นที่สนใจทั้งจากหน่วยงานที่ให้ทุนแก่งานวิจัยและจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยซึ่งทบทวนโครงร่างงานวิจัย แต่กลับไม่โต้แย้งนักวิจัย หากนักวิจัยไม่ประเมินสิ่งที่รู้อยู่แล้วเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษานั้นๆ อย่างเป็นระบบนอกจากผู้ป่วยที่ต้องใช้วิธีการรักษาจะต้องเสี่ยง ยังอาจส่งผลเสียต่ออาสาสมัครสุขภาพดีด้วย ระยะแรกในการตรวจสอบวิธีการรักษามักทำในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวนน้อยในปี ค.ศ. 2006 ชายหนุ่มอาสาสมัคร 6 รายของหน่วยวิจัยเอกชนในเวสต์ลอนดอน […]

| 0 Comments
Book cover

อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้

มีการนำวิธีที่แนะนำให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งตีพิมพ์ในตำรามานานกว่า 30 ปี มาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ถูกละเลย เพราะผู้เขียนตำราไม่ได้ทบทวนรายงานการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมในช่วงนั้นอย่างเป็นระบบ [11] การเปรียบเทียบพบว่าคำแนะนำในตำรามักผิดพลาด เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ทบทวนหลักฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ผลจากการนี้รุนแรงแสนสาหัส เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเสียโอกาสได้รับวิธีการรักษาที่ช่วยชีวิตได้ (เช่น ยาละลายลิ่มเลือด) หรือกระทั่งหลังจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมพิสูจน์แล้วว่าวิธีการรักษาหนึ่งๆ เป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์กลับยังแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวต่อไปอีกนาน เช่น การใช้ยาที่ลดความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่กำลังมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (ดูข้างต้นและบทที่ 2) […]

| 0 Comments
Book cover

คำนึงถึงการตักตวงผลประโยชน์และการบิดเบือนในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

จะเป็นอย่างไรหากผู้ทบทวนวรรณกรรมมีผลประโยชน์อื่นซึ่งอาจกระทบการดำเนินงานหรือการแปลผล โดยอาจได้รับเงินจากบริษัทผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ที่ตรวจสอบอยู่  เมื่อประเมินหลักฐานเรื่องผลจากน้ำมันอีฟนิงพริมโรสต่อผื่นผิวหนังอักเสบผู้ทบทวนวรรณกรรมซึ่งเกี่ยวพันกับผู้ผลิตยาได้ข้อสรุปว่าน้ำมันนี้น่าประทับใจกว่าที่ผู้ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าสรุป (ดูบทที่ 2) แต่การทบทวนที่ลำเอียงไม่ได้เกิดเพราะผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดได้จากอคติของทุกคน ทั้งนักวิจัยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและผู้ป่วย น่าผิดหวังที่บางครั้งผู้ตักตวงผลประโยชน์ ใช้ความลำเอียงปรับวิธีการรักษาให้ดูดีกว่าที่เป็นจริง. (ดูเพิ่มเติมในบทที่ 10)[8] ซึ่งเกิดเมื่อนักวิจัยบางส่วนจงใจเพิกเฉยหลักฐานที่มี โดยมักเป็นเพราะเหตุผลทางการค้า แต่บ้างก็ด้วยเหตุอื่น พวกเขาออกแบบ วิเคราะห์และรายงานผลจากงานวิจัย โดยตกแต่งผลเกี่ยวกับวิธีการรักษาหนึ่งๆ ให้เป็นด้านบวก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษ […]

| 2 Comments
Book cover

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

การค้นหาหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยไม่คำนึงถึงภาษา หรือรูปแบบการรายงานนั้นยากเอาเรื่อง ปัญหาสำคัญคือ หลักฐานที่เกี่ยวข้องบางชิ้นไม่ได้รายงานต่อสาธารณะ การรายงานไม่ครบถ้วนมีสาเหตุหลักจากการที่นักวิจัยไม่เขียนหรือส่งรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เนื่องจากผลไม่ได้ดังใจ บริษัทยาปกปิดการศึกษาที่ไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ของตน ส่วนวารสารก็มักลำเอียงโดยปฏิเสธรายงานที่ส่งเข้ามา เพราะเห็นว่าผลไม่ “น่าตื่นเต้น” พอ [3] การรายงานงานวิจัยไม่ครบถ้วนด้วยความลำเอียงนั้น ผิดทั้งหลักวิทยาศาสตร์และจริยธรรม โดยเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายว่าเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังใคร่ครวญเลือกวิธีการรักษาอาจจะเข้าใจผิด เพราะมีโอกาสน้อยที่จะมีการรายงานการศึกษาซึ่งได้ผล “ไม่ได้ดังใจ” หรือ […]

| 0 Comments
Book cover

การทบทวนหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องท้ังหมดอย่างเป็นระบบ

การบอกว่าเราควรทบทวนผลจากการศึกษาหนึ่งๆ ร่วมกับหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องง่าย แต่ทำได้ยากในหลายแง่ การทบทวนวรรณกรรมมีความสำคัญ เพราะประชาชนควรเชื่อถือมันได้ จึงต้องทำอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด การทบทวนที่ดูเหมือนพยายามตอบคำถามเดียวกันเรื่องวิธีการรักษาหนึ่งๆ อาจได้ข้อสรุปแตกต่างกัน บ้างก็เป็นเพราะคำถามต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย หรือเพราะวิธีวิจัยที่นักวิจัยใช้แตกต่างกัน และ บ้างก็เป็นเพราะนักวิจัย “บิด” ข้อสรุป จึงสำคัญที่ต้องค้นหาการทบทวนวรรณกรรมที่ตอบคำถามเกี่ยวกับวิธีการรักษา ซึ่งเข้ากันได้กับคำถามที่เราสนใจ มีความเป็นไปได้สูงว่าออกแบบมาให้ลดผลจากความลำเอียงและความบังเอิญได้ ทั้งยังได้ข้อสรุปที่ตรงไปตรงมาตามที่หลักฐานบ่งชี้ เนื้อเรื่องย่อย […]

| 0 Comments
Book cover

แค่การศึกษาเดียวจะพอไหม

คำตอบง่ายๆ คือ “มักไม่พอ” น้อยครงทการเปรียบเทียบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมเพียงเรื่องเดียว ให้หลักฐานที่เชื่อถือได้พอนำมาใช้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ แต่ก็เป็นไปได้ในบางกรณี หนึ่งในการศึกษาหายากเหล่านี้พิสูจน์ว่าการใช้แอสไพรินในช่วงที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร [1] อีกการศึกษาหนึ่งชี้ชัดว่าการให้สเตียรอยด์ในคนที่สมองบาดเจ็บเฉียบพลันคร่าชีวิตได้ (ดูด้านล่างและบทที่ 7) และการศึกษาที่สามพบว่าคาเฟอีนเป็นยาชนิดเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าป้องกันสมองพิการในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดาหนด (ดูบทที่ 5) แต่ปกติการศึกษาเดี่ยวๆ ก็เป็นเพียงหนึ่งในการเปรียบเทียบมากมาย ซึ่งตอบคำถามเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน จึงควรประเมินหลักฐานที่ได้จากแต่ละการศึกษาร่วมกับการศึกษาอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน […]

| 1 Comment
Book cover

การได้จำนวนที่มากพอในการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

บางครั้งเมื่อตรวจสอบวิธีการรักษา ก็อาจได้จำนวนคนมากพอจากงานวิจัยที่ทำใน 1 หรือ 2 แหล่งวิจัย แต่การประเมินผลการรักษาที่เกิดน้อย เช่น การเสียชีวิตมักจำเป็นต้องเชิญชวนผู้ป่วยจากหลายแหล่ง      บ่อยครั้งก็จากหลายประเทศ ให้เข้าร่วมในงานวิจัยเพื่อให้ได้หลักฐานที่เชื่อถือได้ เช่น การศึกษาในผู้ป่วย 10,000 รายจาก 13 ประเทศ พิสูจน์ว่าการให้สเตียรอยด์กับคนที่สมองบาดเจ็บรุนแรง  ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ใช้กันมากว่า 30 […]

| 1 Comment

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.