1-8 More is not necessarily better

Increasing the dose or amount of a treatment (e.g. how many vitamin pills you take) often increases harms without increasing beneficial effects.

If a treatment is believed to be beneficial, do not assume that more of it is better.

Browse by Key Concept

Back to Learning Resources home

Filter these resources:

Clear Filters

Book cover

บทที่ 1 ใหม่กว่าแล้วดีกว่าไหม

ประเด็นสำคัญ การตรวจสอบวิธีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะวิธีการรักษาใหม่มีโอกาสพอๆ กันที่จะแย่กว่า หรือดีกว่าวิธีการรักษาที่ใช้กันอยู่ การตรวจสอบวิธีการรักษาที่ (ไม่เที่ยงธรรม) อาจทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและเสียชีวิต วิธีการรักษาที่อนุมัติให้ใช้แล้วก็ใช่ว่าปลอดภัยเสมอไป ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าอาการข้างเคียงจากวิธีการรักษาจะปรากฏ จากวิธีการรักษามักถูกเน้นเกินจริง ขณะที่มักถูกกลบเกลื่อน ทำไมต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม หากขาดการประเมินอย่างเที่ยงธรรม…คือไม่ลำเอียง…ก็อาจมีการสั่งใช้วิธีการรักษาที่ไม่ได้ผลหรือกระทั่งเป็นโทษเพราะนึกว่ามีประโยชน์ หรือตรงข้าม การรักษาที่ได้ผลก็อาจถูกละเลยเพราะมองว่าไม่มีประโยชน์ จึงควรตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมกับวิธีการรักษาทุกวิธี โดยไม่ต้องสนใจว่ามันมีที่มาอย่างไร หรือเป็นวิธีมาตรฐานหรือวิธีเสริม/ทางเลือกหรือไม่ ไม่ควรเชื่อทฤษฎีเกี่ยวกับผลของวิธีการรักษาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ […]

| 0 Comments
Book cover

การตัดเต้านม

การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเต้านมมากระทั่งกลางศตวรรษที่ 20 โดยมีที่มาจากความเชื่อว่ามะเร็งค่อยๆ ลุกลามอย่างมีแบบแผน เริ่มจากแพร่กระจายจากเนื้องอกในเต้านมไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง เช่น ที่รักแร้ จึงมีการให้เหตุผลว่ายิ่งผ่าตัดเนื้องอกแบบถอนยวงและรวดเร็วเท่าใด ก็จะยิ่งมีโอกาสหยุดการแพร่ของมะเร็งได้มากเท่านั้น วิธีการรักษาจึงเป็นการผ่าตัด “เฉพาะบริเวณ” คือผ่าตัดเต้านม หรือ บริเวณโดยรอบ แต่ถึงจะเรียกว่าเฉพาะบริเวณ การตัดเต้านมแบบถอนราก (radical mastectomy) ก็ไม่ได้ใกล้เคียงคำนี้เลย เพราะเป็นการตัดทงกล้าม […]

| 0 Comments
Book cover

การตัดเต้านมแบบถอนรากแบบดั้งเดิม (halsted)

การตัดเต้านมแบบถอนรากคิดค้นโดยวิลเลียม ฮาลสเต็ด เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 เป็นการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมที่ทำกันมากที่สุดจนช่วงปี ค.ศ. 1975 ศัลยแพทย์จะตัดกล้ามเนื้อหน้าอกด้านนอก (pectoralis major) ซึ่งคลุมผนังช่องอกพร้อมกับเต้านมทั้งหมด กล้ามเนื้อหน้าอกด้านในติดกับสะบักและซี่โครง (pectoralis minor) ซึ่งมัดเล็กกว่าก็ถูกตัด เพื่อให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดส่วนรักแร้ (axilla) ได้ง่ายขึ้น    เพื่อเลาะต่อมน้ำเหลืองและไขมันโดยรอบออก การตัดเต้านมแบบถอนรากร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลือง […]

| 0 Comments
Book cover

วิธีการรักษาที่รุนแรงไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป

“คนที่รักษามะเร็งอย่างเรามักคิดว่า การรักษาที่รุนแรงย่อมให้ผลดีกว่า การทดลองแบบสุ่มที่เปรียบเทียบวิธีการรักษาแบบรุนแรงกับ แบบรุนแรงน้อยกว่า จึงมีความสำคัญในการปกป้องผู้ป่วยจากความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น รวมถึงผลข้างเคียงทั้งระยะสั้นและยาวจากวิธีการ รักษาที่ทารุณเกินเหตุ การศึกษาเปรียบเทียบแบบนี้ไม่ผิดจริยธรรม เพราะคนที่เสียโอกาสได้ผลดีจะไม่ต้องเสี่ยงอันตรายโดยไม่จำเป็นเช่นกัน อีกทั้งไม่มีใครรู้ว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร” Brewin T in Rees G, ed. The friendly professional: selected […]

| 0 Comments
Book cover

กล้าคิดที่จะทำน้อยกว่า

ข้อสรุปคือมากกว่าไม่ได้ดีกว่าเสมอไป นี่ยังคงเป็นสาระสำคัญปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม (แพร่ไปบริเวณอื่น) กระตือรือร้น ที่จะได้รับการรักษาด้วยเฮอเซปติน. (ดูด้านบนและบทที่ 1) แต่อย่างมากเฮอเซปตินก็แค่เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีชีวิตยืนยาวขึ้นเล็กน้อย บางครั้งแค่เป็นวัน หรือสัปดาห์ โดยต้องแลกกับผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือกระทั่งเสียชีวิตในบางราย [12,13] ส่วนมะเร็งเต้านมในระยะอื่นๆ ก็มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะเกิดการรักษาเกินจำเป็น เช่น ในหญิงที่มีภาวะก่อนมะเร็ง เช่น มะเร็งในท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม […]

| 1 Comment
Book cover

การรักษามะเร็งเต้านมแบบรุนแรง

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีที่มีการรณรงค์ตามที่เห็นบ่อยๆ ในข่าวเป็นบทเรียนที่ดีมากในเรื่องอันตรายจากการทึกทักว่า ยิ่งใช้วิธีการรักษาแบบรุนแรงจะทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแน่นอน ตลอดช่วงศตรวรรษที่ 20 จนย่างสู่ 21 หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม้องการและต้องทนรับการรักษาที่ทารุณและทรมานเกินควรทั้งการผ่าตัด และยาในปริมาณมากเกินความจำเป็น แต่ก็ยังเป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด ในผู้ป่วยและแพทย์บางราย ผู้ป่วยโดนกล่อมว่ายิ่งการรักษารุนแรงและเป็นพิษมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาส “พิชิต” โรคได้มากเท่านั้น มีแพทย์และผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่เตรียมการโต้แย้งความคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับวิธีการรักษา แต่ก็ ใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มเปลี่ยนกระแสความเชื่อผิดๆ นี้ได้ พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องสร้างหลักฐานที่เชื่อถือได้ […]

| 2 Comments
Book cover

บทที่ 3 มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป

ประเด็นสำคัญ ที่รุนแรงกว่าอาจไม่มีประโยชน์ทั้งยังมีโทษมากกว่าในบางกรณี ความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยคือ หากวิธีการรักษานั้นดี ยิ่งใช้มากก็ยิ่งดี ซึ่งไม่จริงเลย ยิ่งใช้มากอาจยิ่งแย่ด้วยซ้ำ การหาปริมาณที่ “เหมาะสม” ซึ่งให้ประโยชน์สูงและมีผลเสีย (ผลข้างเคียง) ต่ำนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับวิธีการรักษาทุกวิธี เมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นไปถึงระดับหนึ่งที่ได้จะไม่เพิ่มตามไปด้วย แต่มักเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้น “ยิ่งมาก” อาจลดประโยชน์ที่ได้รับจริงๆ หรือโดยรวมมีผลร้ายด้วยซ้ำ ยาขับปัสสาวะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน […]

| 2 Comments
Book cover

ไม่แปลกที่เธอสับสน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 ผู้ป่วยที่ผ่านการตัดมดลูกเขียนจดหมายหา เดอะแลนเซ็ต (The Lancet)[1] ว่า “เมื่อปี ค.ศ. 1986 ฉันต้องตัดมดลูกเนื่องจากมีเนื้องอกศัลยแพทย์ตัดรังไข่ออกด้วย รวมทั้งพบว่าฉันมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เมื่อเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนกะทันหัน ทั้งๆ ที่ตอนนั้นอายุเพียง 45 ปี ฉันจึงได้รับการรักษาด้วย […]

| 0 Comments

No Resources Found

Try clearing your filters or selecting different ones.