โรคหลอดเลือดสมอง

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: โรคหลอดเลือดสมอง

อีกตัวอย่างของงานวิจัยที่ไม่จำเป็น ซึ่งเกิดเพราะไม่มีการรวบรวมและวิเคราะห์ผลจากการศึกษาก่อนๆ เช่นกัน เป็นเรื่องการรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยยาชื่อนิโมดิปีน (nimodipine ยาในกลุ่มยับยั้งตัว รับแคลเซียม [calcium antagonist]) หากจำกัดบริเวณที่สมองเสียหายได้ในผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมอง โอกาสเกิดความพิการก็น่าจะลดลง หลังจากการทดลองใช้นิโมดิปีนในสัตว์ให้ผลที่ดูเข้าที ก็เริ่มมีการทดลองยาดังกล่าวเพื่อการนี้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในทศวรรษ 1980 การทดลองซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1988 พบผลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในกลุ่มนี้ แต่ผลจากการทดลองอีกจำนวนมากเรื่องนิโมดิปีนและยาชนิดอื่นในกลุ่มเดียวกันกลับขัดแย้งกัน เมื่อมีการทบทวนหลักฐานจากการทดลองในคนทั้งหมดอย่างเป็นระบบในผู้ป่วยรวมเกือบ 8,000 รายในปี ค.ศ. 1999 กลับพบว่ายาเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ (ดูบทที่ 8) [14] ทั้งที่การใช้นิโมดิปีนดูเหมือนอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ [บ]

หลังได้ผลจากการศึกษาในผู้ป่วย จึงมีการตรวจสอบผลการทดลองในสัตว์อย่างเป็นกิจจะลักษณะเป็นครั้งแรก เมื่อทบทวนการศึกษาเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ จึงปรากฏชัดว่าวิธีวิจัยของการทดลองในสัตว์ส่วนใหญ่ด้อยคุณภาพ ผลการศึกษาบิดเบือนเพราะความลำเอียงจนเชื่อถือไม่ได้ กล่าวคือ ไม่มีเหตุผลที่มีน้ำหนักพอให้ทำการทดลองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตั้งแต่แรก [15]

[บ] ที่ผนังหลอดเลือดมีตัวรับแคลเซียม ซึ่งหากถูกยับยั้ง หลอดเลือดจะขยายตัว จึงมีการนำนิโมดิปีนมาใช้ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ ด้วยหวังว่าจะช่วยขยายหลอดเลือดที่ตีบได้ แต่เนื่องจากพบว่าไม่มีประโยชน์ ปัจจุบันยานี้จึงใช้เฉพาะในกรณีเลือดออก ในสมองบางประเภท เพื่อแก้อาการที่หลอดเลือดในสมองหดตัวเพื่อป้องกันการเสียเลือดเพิ่มเติมซึ่งอาจยิ่งทำให้สมองเสียหาย

ถัดไปอะโพรทินิน (Aprotinin) : ผลต่อการเลือดออกระหว่างและหลังการผ่าตัด