Home > อ่านหนังสือฉบับเต็ม > เกี่ยวกับการตรวจสอบวิธีการรักษา > ทำไมจึงต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

ทำไมจึงต้องมีการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรม

การแพทย์แผนปัจจุบันประสบความสำเร็จงดงามในการลดผลกระทบจากโรคและยืดชีวิตผู้คน ทว่าบ่อยครั้งที่การตัดสินใจที่เกี่ยวกับการแพทย์มีหลักฐานรองรับไม่เพียงพอ ดังนั้น แทนที่จะช่วย แพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพสาขาต่าง ๆ อาจทำร้ายผู้ป่วยเสียเอง ด้วยเหตุนี้ การตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการรักษาใดจึงต้องอิงจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมว่าวิธีการรักษาต่าง ๆ ให้ผลอย่างไร

james-vi

เราอาจดีขึ้นได้เองอยู่แล้ว

James VI

Jamie the Saxt: sorting out myth from reality in the tobacco debate since 1616

แต่เราอาจเข้าใจผิดว่าวิธีการรักษาใด ๆ ที่เราบังเอิญได้ตอนนั้น ช่วยให้อาการทุเลา

กษัตริย์เจมส์ ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ เข้าพระทัยในเรื่องนี้ ในหนังสือเรื่อง “Counterblaste to tobacco” [1], พระองค์ทรงมีสายพระเนตรกว้างไกล และทรงตำหนิกลุ่มคนที่อ้างว่าการสูบยารักษาทุกโรคได้หายขาด รวมถึงหวัดด้วย

ความเห็นดังนี้นอกจากจะสำคัญผิดใหญ่หลวง ยังหาสาระมิได้ ผู้ป่วยใช้ยาสูบยามอาการทรุดหนัก กาลต่อมาความป่วยไข้ก็บรรเทาลงตามธรรมชาติ ผู้นั้นจึงหายดี จึงเห็นว่าเช่นนั้นแล้ว เป็นยาสูบแน่ที่สร้างปาฏิหาริย์!  Read more

วิธีการรักษาทุกอย่างจึงต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม โดยเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น

Read more.

อย่าคิดว่าวิธีการรักษาใหม่จะดีกว่าเสมอไป

มีตัวอย่างในอดีตจำนวนมากเรื่องวิธีการรักษาใหม่ที่ “น่าตื่นเต้น” แต่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อผู้ป่วย เนื่องจากวิธีเหล่านั้นไม่เคยถูกตรวจสอบอย่างเหมาะสม

ยาทาลิโดไมด์แก้อาการคลื่นไส้ในหญิงมีครรภ์ยาไวออกซ์แก้อาการปวดข้อ, ยาอะแวนเดียในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ ลิ้นหัวใจเทียม บางชนิด เป็นตัวอย่างวิธีการรักษาที่ทำร้ายผู้ป่วยเนื่องจากขาดการตรวจสอบที่เพียงพอ

Read more.

การปฏิบัติตามทฤษฎีที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ หรือหลักฐานที่ด้อยคุณภาพ อาจส่งผลร้าย

บ่อยครั้งที่วิธีการรักษาไม่ได้ให้ประโยชน์ดังที่เราหวัง กรณีนี้เกิดได้หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำจากทฤษฎีที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ และหลักฐานจากประสบการณ์ หรือจากการตรวจสอบที่มีช่องโหว่

ตัวอย่างที่ยกมาในหนังสือ การรักษาต้องสงสัย ก็เช่น:  คำแนะนำของนายแพทย์สป็อกเรื่องท่านอนของทารก และ การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนHormone Replacement Therapy.

อ่านเพิ่มเติม

ใช่ว่ายิ่งรักษามากจะยิ่งดีเสมอไป

ต่อให้วิธีการรักษาหนึ่งๆ ได้ผล ก็ใช่ว่ายิ่งใช้มากจะยิ่งดีเสมอไป บ่อยครั้งที่ประโยชน์สูงได้ถึงเพียงระดับหนึ่ง แต่ผลเสียไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ

ลองดู ประวัติศาสตร์ของการรักษาแบบรุนแรงในมะเร็งเต้านม และ การปลูกถ่ายไขกระดูก

อ่านเพิ่มเติมใน “มากกว่าใช่ว่าดีกว่าเสมอไป”.

วินิจฉัยได้เร็วกว่าใช่จะดีกว่าเสมอไป

การวินิจฉัยได้เร็วกว่าไม่ได้รับประกันว่าผลการรักษาจะดีกว่า ซ้ำยังครั้งยังยิ่งเป็นการซ้ำเติม เพราะทำให้มีการรักษาโดยไม่จำเป็น หรือเพิ่งผู้ที่ถูกติดป้ายว่าเป็นโรค

เรากล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ใน โรคนิวโรบลาสโตมา มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม และ การตรวจสอบพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมใน “ลงมือก่อนอาจไม่ดีกว่า”

บางครั้งเราก็ไม่รู้เลย

บ่องครั้งที่เราต้องพึ่งการตรวจสอบวิธีการรักษา ก็เพราะเราไม่รู้เลยว่าวิธีการรักษาใดดีที่สุด วิธีการรักษาแต่ละอย่างอาจไม่ได้ ให้ผลต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แพทย์อาจเห็นไม่ตรงกันว่าควรช่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหนึ่ง ๆ อย่างไร

ในสถานการณ์เช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรม เพราะโทษหรือประโยชน์ที่ไม่เด่นชัดก็อาจมีผลกระทบใหญ่หลวงเมื่อคำนึงถึงประชากรทั้งหมด

ดังจะเห็นในตัวอย่างเรื่องยาปฏิชีวนะในการคลอดก่อนกำหนดและวิธีการรักษามะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่มเติมว่าทำอย่างไรเมื่อผลการรักษาไม่แน่นอน

เอกสารอ้างอิง

  • Stuart, James, King of Great Britaine, France and Ireland (1616). A counterblaste to tobacco. In: The workes of the most high and mightie prince, James Published by James, Bishop of Winton, and Deane of his Majesties Chappel Royall. London: printed by Robert Barker and John Bill, printers to the Kings most excellent Majestie, pp 214-222.

ถัดไป: การตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมคืออะไร