ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Heart Valves)

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: ลิ้นหัวใจเทียม

ยาไม่ได้เป็นวิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวที่อาจมีผลร้ายที่ไม่คาดคิด วิธีการรักษาอื่นก็อาจก่อความเสี่ยงร้ายแรงได้เช่นกัน ปัจจุบันลิ้นหัวใจเทียมเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจขั้นรุนแรง[จ] และที่ผ่านมาลิ้นหัวใจเทียมก็ได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ลิ้นหัวใจเทียมบางประเภทแสดงให้เห็นว่า ความพยายามในการพัฒนาด้านการออกแบบกลับมีผล ร้ายแสนสาหัส เริ่มมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่าลิ้นหัวใจเทียมแบบบียอร์ก-ไชลีย์ (Bjork-Shiley) มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งรุ่นแรกๆ นั้นมีแนว โน้มจะทำให้เกิดลิ่มเลือด (เลือดแข็งตัวเป็นก้อน) ซึ่งขัดขวางการทำงานของ เครื่องมือ จึงมีการปรับเปลี่ยนการออกแบบเพื่อแก้ข้อด้อยดังกล่าวในปลาย ทศวรรษ 1970 ให้ลดโอกาสเกิดลิ่มเลือด

ลิ้นหัวใจเทียมแบบใหม่นี้ประกอบด้วยแผ่นกลมที่ยึดไว้ด้วยโลหะค้ำยัน (ขายึด) 2 ข้าง มีการใส่ลิ้นหัวใจเทียมแบบใหม่นี้หลายพันชิ้นให้ผู้ป่วยทั่วโลก แต่โชคไม่ดีที่โครงสร้างดังกล่าวมีข้อบกพร่องร้ายแรง เพราะค้ำยันข้างหนึ่งหักง่าย ซึ่งเป็นปัญหาที่เรียกว่าค้ำยันแตกร้าว (Strut Fracture) ทำให้ลิ้น หัวใจเทียมทำงานผิดปกติรุนแรงและมักเป็นอันตรายถึงชีวิต

ค้ำยันแตกร้าวเป็นปัญหาที่พบระหว่างการทดสอบอุปกรณ์นี้ก่อนวางขาย แต่ก็อ้างว่าเป็นเพราะเชื่อมโลหะไม่เรียบร้อย โดยไม่มีการตรวจสอบสาเหตุให้ถี่ถ้วน อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกายอมรับคำอธิบายนี้ รวมถึงคำยืนยันของบริษัทผู้ผลิตว่า ความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดที่ลดลงจากการใช้ลิ้นหัวใจเทียมแบบนี้เกินคุ้มเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่ค้ำยันจะแตกร้าว กระทั่งหลักฐานเกี่ยวกับปัญหาร้ายแรงของลิ้นหัวใจชัดเจนจนปฏิเสธไม่ได้ องค์การจึงดำเนินการในที่สุด โดยบังคับให้ถอนลิ้นหัวใจเทียมดังกล่าวจากตลาดในปี ค.ศ. 1986 แต่ผู้ป่วยก็เสียชีวิตจากสาเหตุที่ไม่สมควรนี้ไปแล้วหลายร้อยคน แม้ปัจจุบันระบบการควบคุม ผลิตภัณฑ์จะได้รับการพัฒนาให้มีการติดตามผู้ป่วยหลังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และมีการลงทะเบียนผู้ป่วยที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทุกราย แต่ยังมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องโปร่งใสกว่านี้ เมื่อมีการนำอุปกรณ์ใหม่มาใช้ [8]

[จ] ลิ้นหัวใจเป็นเนื้อเยื่อที่กั้นระหว่างหัวใจห้องต่างๆ มีลักษณะเป็นช่องเปิดปิดได้ คอยกำกับให้เลือดไหลจากหัวใจห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งในทิศทางที่ถูกต้อง หากเป็นโรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจจะไม่สามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก หากเป็นมากหัวใจอาจล้มเหลวและเสียชีวิต

ถัดไป: เฮอเซปติน (Herceptin)