คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำแนะนำเกี่ยวกับท่านอนของทารก

อย่าคิดว่ายาเท่านั้นที่อันตราย คำแนะนำก็ร้ายแรงถึงตายได้เช่นกัน หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็กชาวอเมริกัน นายแพทย์เบนจามิน สป็อก ผู้เขียนหนังสือขายดี การดูแลเด็กและทารก (Baby and Child Care) ที่กลายเป็นคัมภีร์ของทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ และพ่อแม่ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร อยู่นานหลายสิบปี แต่ในการให้คำแนะนำเรื่องหนึ่งด้วยเจตนาดี นายแพทย์สป็อกกลับพลาดอย่างจัง ด้วยตรรกะที่ไม่อาจโต้แย้งบวกกับบารมีที่มีในระดับหนึ่ง เขากล่าวไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นตั้งแต่ฉบับปี ค.ศ. 1956 จนถึงปลายทศวรรษ 1970 ว่า “การให้ทารกนอนหลับในท่านอนหงายมีข้อเสีย 2 ประการ คือ ถ้าเด็กอาเจียนจะมีโอกาสสำลักอาเจียน และมีแนวโน้มที่เด็กจะตะแคง ศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง…ซึ่งทำให้ศีรษะข้างนั้นแบน…ผมเห็นว่าควรจัดให้ ทารกหลับในท่านอนคว่ำตั้งแต่เกิด”

How advice on babies’ sleeping position changed with time

การเปลี่ยนแปลงคำแนะนำเรื่องท่านอนของเด็กเมื่อเวลาผ่านไป

การจับทารกนอนคว่ำ กลายเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐานในโรงพยาบาล พ่อแม่เป็นล้านๆ คนก็เชื่อและทำตามที่บ้าน แต่ปัจจุบันเราทราบแล้วว่า แนวทางที่ไม่เคยประเมินกันจริงจังนี้ ได้ทำให้ทารกหลายหมื่นคนเสียชีวิต ขณะนอนหลับโดยที่ไม่ควร[1] แม้ไม่อาจโทษว่าการเสียชีวิตทั้งหมดเป็นเพราะคำแนะนำที่ผิดพลาดนี้ แต่พอเลิกใช้แนวทางปฏิบัตินี้และประชาสัมพันธ์ให้เด็กหลับในท่านอนหงาย การเสียชีวิตในลักษณะนี้กลับลดฮวบ เมื่อมีหลักฐานชัดเจนถึงผลร้ายของท่านอนคว่ำในช่วงทศวรรษ 1980 แพทย์ และสื่อก็เริ่มเตือนถึงอันตรายต่างๆ จำนวนทารกที่เสียชีวิตขณะนอนหลับก็เริ่มลดอย่างรวดเร็ว ต่อมาแนวทางนี้ได้ถูกเน้นอีกในโครงการรณรงค์ “กลับมานอนหงาย” (back to sleep) เพื่อกำจัดอิทธิพลเชิงลบจากคำแนะนำ ที่น่าผิดหวังของนายแพทย์สป็อก

Nextยาแก้หัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน