บทที่ 10 งานวิจัย อะไรดี ไม่ดี และไม่จำเป็น

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: บทที่ 10 งานวิจัย อะไรดี ไม่ดี และไม่จำเป็น

ประเด็นสำคัญ

  • การวิจัยพร่ำเพรื่อทำให้เปลืองเวลา แรง เงิน และทรัพยากรอีกหลายอย่าง ทั้งยังผิดจริยธรรมและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
  • ควรเริ่มทำงานวิจัยใหม่ๆ หลังจากทบทวนงานวิจัยก่อนหน้าอย่างครบถ้วนแล้วพบว่าควรทำ โดยทำหลังจากขึ้นทะเบียนงานวิจัย
  • ควรปรับการทบทวนหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องให้ทันเหตุการณ์โดยเพิ่มงานวิจัยใหม่เข้าไป
  • งานวิจัยจำนวนมากด้อยคุณภาพ และทำด้วยเหตุผลที่น่ากังขา
  • ประเด็นวิจัยได้รับอิทธิพลในทางที่ไม่ควรจากทั้งอุตสาหกรรมและนักวิชาการ
  • บ่อยครั้งโจทย์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยไม่ได้รับคำตอบ

ในบทก่อนๆ ผู้เขียนเน้นว่าเหตุใดจึงต้องออกแบบการตรวจสอบวิธีการรักษาให้เหมาะสม ให้ตอบโจทย์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและประชาชน หากทำได้ดังนี้ ทุกคนจะภูมิใจและพอใจผลที่ได้ แม้จะพบว่าวิธีดังกล่าวไม่ดีดังที่หวัง แต่ก็เกิดความรู้ที่สำคัญและลดความไม่แน่นอน

งานวิจัยด้านสุขภาพจำนวนมากมีคุณภาพและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยปฏิบัติตามมาตรฐานการออกแบบงานวิจัยและรายงานผล [1] แต่ยังคงมีการทำและตีพิมพ์งานวิจัยที่ไร้คุณภาพและไม่จำเป็นเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ แทนที่จะร่ำร้องว่า “ต้องวิจัยเพิ่มอีก” ควรลดปริมาณการทำงานวิจัย แต่มุ่งเน้นเรื่องที่จำเป็นต่อผู้ป่วย ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่างานนั้นๆ มีเหตุผลเหมาะสม ผู้เขียนจะกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ในบทนี้

ถัดไป: งานวิจัยที่ดี