ผู้ป่วยและประชาชนช่วยพัฒนางานวิจัยได้อย่างไร

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: ผู้ป่วยและประชาชนช่วยพัฒนางานวิจัยได้อย่างไร

ขณะนี้โลกการแพทย์ที่เคยเป็นเขตหวงห้าม เริ่มเปิดรับผู้ที่เคยเป็น “คนนอก” พร้อมทั้งแนวคิดใหม่ๆ ผู้ป่วยและประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น จึงมีส่วนช่วยทั้งด้านหัวข้อและวิธีทำวิจัยด้านการดูแลสุขภาพยิ่งขึ้นเรื่อยๆ [1] กระแสจากทั่วโลกสนับสนุนให้ผู้ป่วยเป็นคู่คิดในกระบวนการวิจัย ปัจจุบันมีแนวทางที่ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถปฏิบัติตามถ้าอยากให้ผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนร่วม [2,3,4]

ทางเลือกของผู้ป่วย : ดาวิดผู้ฆ่ายักษ์โกไลแอท

“ใครเป็นผู้ที่มองขาดว่าโจทย์วิจัยนั้นๆ สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้ป่วยที่เป็นทุกข์และแตกต่างกัน

อ่านต่อ

ประสบการณ์ช่วยให้ผู้ป่วยมองประเด็นได้ขาดและให้ความเห็นได้เฉียบแหลม เนื่องจากผู้ป่วยประสบโรคกับตัวจึงให้ความกระจ่างได้ว่า คนเราตอบสนองต่อโรคอย่างไร และการตอบสนองดังกล่าวกระทบต่อการเลือกวิธีการรักษาอย่างไร หลักฐานจำนวนมากจากการสำรวจด้วยแบบสอบถาม [5] การทบทวนรายงานวิจัยอย่างเป็นระบบ [1] รายงานจากการทดลองแต่ละเรื่อง [6] และการประเมินผลกระทบ [7] ชี้ว่าการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนช่วยพัฒนาการตรวจสอบวิธีการรักษา

ความร่วมมือที่สำคัญ

“งานวิจัยที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในระบบบริการสุขภาพแห่งชาติต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและประชาชนจึงจะสำเร็จ

อ่านต่อ

หน่วยงานเช่น ความร่วมมือคอเครน (Cochrane Collaboration [www.cochrane.org]) เปิดรับความเห็นจากผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มดำเนินงานในปี ค.ศ. 1993 ในฐานะเครือข่ายนานาชาติซึ่งทำการทบทวนวิธีการรักษาอย่างเป็นระบบโดยใช้หลักฐานที่ดีที่สุด พันธมิตรเจมส์ลินด์ (The James Lind Alliance [www.lindalliance.org]) ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 2004 เชิญผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และแพทย์ มาร่วมหารือว่ามีคำถามเรื่องผลของวิธีการรักษาใดบ้างที่ยังไม่มีคำตอบและให้จัดลำดับคำถามตามความสำคัญ ข้อมูลที่ ได้ทำให้ผู้ให้ทุนวิจัยด้านการดูแลสุขภาพรู้ชัดว่า ความไม่แน่นอนเรื่องวิธีการรักษาเรื่องใดสำคัญกับผู้ป่วยและแพทย์ที่สุด [8] ในปี ค.ศ. 2008 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เริ่มให้ทุนในการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมให้องค์กรผู้ป่วยมีบทบาทในการทดลองในคน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศสมาชิก ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ รายงาน และรูปแบบอื่นๆ [9] ในประเทศอื่นก็มักมีตัวแทนประชาชนที่ทำงานเชิงรุกด้านกระบวนการวิจัยเช่นกัน

บทบาทของผู้ป่วยพัฒนาในหลากหลายรูปแบบ [10] และขณะนี้มีการหาหนทางอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยและประชาชนได้ร่วมมือกับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ (ดูหัวข้อ ลดช่องว่างระหว่างผู้ป่วยกับนักวิจัย และบทที่ 13 หัวข้อที่ 2 การออกแบบและทำงานวิจัยที่เหมาะสม) [11]

ปัจจุบันความร่วมมือนี้เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของงานวิจัย ได้แก่

  • การตั้งโจทย์
  • การออกแบบโครงการศึกษา รวมถึงเลือกผลการรักษาที่จะวัด
  • การจัดการโครงการศึกษา
  • การจัดทำเอกสารที่ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย
  • การวิเคราะห์และแปลผล
  • การประชาสัมพันธ์และนำผลไปใช้เลือกวิธีการรักษา

ถัดไปให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในงานวิจัย