คำถามที่ 9 : ประชาชนควรเลี่ยงอย่างไร จึงไม่ถูก “ติดป้าย” ว่าเป็น “โรค” จนได้รับการรักษาโดยไม่จำเป็น

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำถามที่ 9 : ประชาชนควรเลี่ยงอย่างไร จึงไม่ถูก “ติดป้าย” ว่าเป็น “โรค” จนได้รับการรักษาโดยไม่จำเป็น

การแพทย์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว มีวัคซีนและยาปฏิชีวินะเพื่อป้องกันและรักษาการติดเชื้อ การเปลี่ยนข้อ การผ่าตัดต้อกระจก และการรักษามะเร็งในเด็ก เป็นอาทิ แต่ความสำเร็จนี้ผลักดันให้การแพทย์ขยับขยายไปในทิศทางที่ไม่เป็นประโยชน์นัก ผู้มีความรู้มักร้อนวิชา ส่วนแพทย์ (หรือบริษัทยา !) ที่มีวิธีการรักษาใหม่ก็อยากใช้วิธีนั้นรักษาทุกอย่าง เช่น เมื่อมีวิธีการรักษาที่ดีขึ้นในโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง แพทย์ก็อยากแนะนำให้ใช้วิธีนั้น แม้ผู้ป่วยจะมีค่าผิดปกติเพียงเล็กน้อย ทำให้จำนวนคนที่ถูกติดป้ายว่าเป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงเพิ่ม พรวดพราด เนื่องจากคนจำนวนมากที่ในอดีตถูกจัดว่าปกติถูก “เปลี่ยนให้เป็นโรค”

นอกจากการ “ติดป้าย” จะมีผลข้างเคียงของวิธีการรักษา (ที่บางครั้งก็ไม่จำเป็น) ยังมีผลทั้งทางจิตใจและสังคม ซึ่งอาจกระทบต่อแนวคิดเรื่องสุขภาวะของคนผู้นั้น ทั้งยังก่อปัญหาในการจ้างงานหรือประกันสุขภาพ สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยและสาธารณชนต้องตระหนักถึงผลพวงเหล่านี้ และค่อยๆ เปรียบเทียบผลเสียกับผลดีที่น่าจะเกิด ก่อนจะด่วนตัดสินใจใช้วิธีการรักษาหนึ่งๆ ปัญหาเรื่องการติดป้ายเหล่านี้มักเกิดจากการคัดกรอง ซึ่งทำให้วินิจฉัยเกินและอาจรักษาเกิน ดังที่กล่าวถึงในบทที่ 4

ใครเป็นเบาหวาน

ถ้าอย่างนั้นเราตัดสินอย่างไรว่าใครเป็นเบาหวาน ตอนผมเรียนแพทย์ ค่าที่เป็นเกณฑ์ของเราเป็นดังนี้ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting blood sugar) ของใครเกิน 140 ถือว่าคนนั้นเป็น เบาหวาน

อ่านต่อ

การป้องกันตัวอย่างแรกคือ ให้ระวังการติดป้ายและการเสนอให้ตรวจเพิ่มเติม คำพูดทีเล่นทีจริงว่าคนธรรมดาคือคนที่ยังไม่ได้รับการตรวจละเอียดพอนั้นมีนัยที่น่ากลัว จึงควรถามว่าโรคนั้นๆ มีโอกาสเกิดสูงหรือต่ำ จากนั้น ตามที่ผู้เขียนแนะนำข้างต้น ควรถามด้วยว่าจะเป็นอย่างไรหากรอดูไปก่อน ควรติดตามดูอาการอย่างไร และอะไรบ่งชี้ว่ารอต่อไปไม่ได้ แพทย์บางรายก็โล่งใจหากผู้ป่วยไม่ได้อยากรับการรักษาหรือการตรวจทันที แต่บางรายก็ตกหลุมพรางการติดป้ายว่า การติดป้าย = เป็นโรค = ต้องรักษา โดยไม่ตระหนักว่าผู้ป่วยอาจยินดีรอดูว่าปัญหาจะลุกลามหรือทุเลาเองหรือไม่

ถัดไปเราควรทำอย่างไรต่อ