Home > อ่านหนังสือฉบับเต็ม > เราจะช่วยพัฒนาการตรวจสอบวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง > บทที่ 12 อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น > คำถามเรื่องการนำหลักฐานจากงานวิจัยมาใช้จริง > คำถามที่ 5 : การตรวจพันธุกรรมและ “การแพทย์เฉพาะคน” แปลว่าแพทย์จะเลือกได้ว่าแต่ละคนควรได้รับวิธีการรักษาใดซึ่งจะทำให้ทุกอย่างที่ว่ามาไม่จำเป็นไม่ใช่หรือ

คำถามที่ 5 : การตรวจพันธุกรรมและ “การแพทย์เฉพาะคน” แปลว่าแพทย์จะเลือกได้ว่าแต่ละคนควรได้รับวิธีการรักษาใดซึ่งจะทำให้ทุกอย่างที่ว่ามาไม่จำเป็นไม่ใช่หรือ

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำถามที่ 5 : การตรวจพันธุกรรมและ “การแพทย์เฉพาะคน” แปลว่าแพทย์จะเลือกได้ว่าแต่ละคนควรได้รับวิธีการรักษาใดซึ่งจะทำให้ทุกอย่างที่ว่ามาไม่จำเป็นไม่ใช่หรือ

แม้ว่าการที่สามารถเลือกวิธีการรักษาที่จำเพาะกับคนแต่ละคนจะดึงดูดใจ และอาจเป็นไปได้ในบางโรค แต่แทบไม่มีโอกาสที่วิธีนี้จะกลายเป็นวิธีหลักในการรักษาผู้คน ดังที่ผู้เขียนอธิบายเรื่อง การตรวจพันธุกรรมในบทที่ 4 (หน้า 94-96) โรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเฉพาะปฏิกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างยีนจำนวนมากเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างยีนและปัจจัยแวดล้อมที่ซับซ้อนยิ่งกว่าด้วย

ผลการวิเคราะห์พันธุกรรมสำคัญต่อการพิจารณาตัดสินใจของครอบครัว หรือผู้ที่มีโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคฮันทิงตัน ทาลัส- ซีเมีย (thalassaemia โรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม) และอื่นๆ (ส่วน ใหญ่พบไม่บ่อย) ข้อมูลพันธุกรรมนี้มีประโยชน์ยิ่งในการหารือกับครอบครัวที่เป็นโรคเหล่านี้ แต่ในโรคที่พบได้ทั่วไปซึ่งทุกคนมีความเสี่ยงว่าจะเป็นการวิเคราะห์พันธุกรรมให้ข้อมูลเพิ่มน้อยมาก เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้อยู่แล้วจากประวัติครอบครัวและการตรวจร่างกาย แม้สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากความรู้ในปัจจุบันยังมีจำกัด เราจึงต้องระวังไม่ยึดติดเรื่องความเสี่ยงของโรคทั่วไป ซึ่งทำนายด้วยการวิเคราะห์พันธุกรรม

ควรแจ้งว่าผู้เขียนทุกคนไม่เคยตรวจลายพิมพ์ DNA (genetic profile)[ภ] ทั้งไม่คิดจะทำ ดังนั้น ผู้อ่านคงไม่แปลกใจที่ผู้เขียนคัดค้านการตรวจพันธุกรรม เว้นแต่ในผู้ที่มี (ก) ประวัติครอบครัวที่บ่งว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด หรือ  (ข) โรคหนึ่งในไม่กี่อย่าง ซึ่งยีนบางตำแหน่งทำนายได้ชัดเจนว่าใครจะตอบสนองต่อวิธีการรักษาหนึ่งๆ

[ภ] หรือ DNA fingerprint เป็นการวิเคราะห์ซึ่งช่วยให้ทราบลำดับ DNA และช่วยในการวินิจฉัยและทำนายโรค เนื่องจากลายพิมพ์ DNA ของแต่ละคนแตกต่างกัน เช่นเดียวกับลายนิ้วมือ จึงใช้วิธีนี้ระบุตัวตนได้ด้วย

ถัดไปคำถามที่ 6 : ผู้ป่วยจะรู้ได้อย่างไรว่าโรคที่ตนเป็นอยู่ระหว่างการศึกษาด้วยการทดลองในคน ถ้าแพทย์ไม่รู้เรื่องการทดลองดังกล่าว