คำถามที่ 2 : ผู้ป่วยอาจอยากรู้ว่าวิธีการรักษา “ได้ผล” หรือไม่ แต่อาจไม่อยากได้ข้อมูลทุกอย่าง

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: คำถามที่ 2 : ผู้ป่วยอาจอยากรู้ว่าวิธีการรักษา “ได้ผล” หรือไม่ แต่อาจไม่อยากได้ข้อมูลทุกอย่าง

สิ่งสำคัญคือต้องหาจุดสมดุลระหว่างการกระหน่ำข้อมูลกับการกีดกันไม่ให้ได้ข้อมูลมากพอจะใช้ตัดสินใจ รวมถึงต้องไม่ลืมว่าคนหนึ่งคนอาจใช้ข้อมูลบางอย่างในตอนต้น และใช้ข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังขณะที่ต้องเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเพื่อตัดสินใจ เมื่อผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ ท้งสองฝ่ายควรแน่ใจว่าผู้ป่วยได้ข้อมูลที่พอเหมาะ เพื่อให้ตัดสินใจร่วมกับแพทย์ได้ว่าหนทางใดดีที่สุดในขณะนั้น แต่ไม่ใช่เพียงเท่านั้น หากผู้ป่วยค่อยๆ ไตร่ตรองเรื่องต่างๆ แล้วมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มขึ้น แพทย์ควรช่วยผู้ป่วยตรวจสอบเรื่องที่อยากรู้ และอธิบายเรื่องที่กำกวมให้กระจ่าง

บางทางเลือกก็ได้อย่างเสียอย่าง สุดท้ายจึงต้องเลือกสิ่งที่แย่น้อยกว่า เช่น ในบทที่ 4 ผู้เขียนกล่าวถึงภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเนื่องจากหลอดเลือดแดงเส้นหลักจากหัวใจขยายออก และอาจรั่วจนคร่าชีวิต การผ่าตัดใหญ่แก้ปัญหานี้ได้ แต่ก็ทำให้ผู้ป่วย 1-2 รายจาก 100 รายเสียชีวิต จึงต้องเลือกระหว่างการเสียชีวิตแต่แรกเนื่องจากการผ่าตัด หรือการเสี่ยงหลอดเลือดแตกจนถึงชีวิตในภายหลัง ในระยะยาว เลือกข้างหัตถการจะดีกว่าแต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีเหตุผลให้เลือกไม่รับการผ่าตัด หรืออย่างน้อยก็ผัดผ่อนไปจนผ่านเหตุการณ์สำคัญ เช่น งานแต่งงานของลูกสาว ดังนั้น แทนที่จะวู่วามใช้วิธีที่เป็น “ความหวังเดียว” ควรประเมินความเสี่ยงและช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย

ถัดไป: คำถามที่ 3 : สถิติชวนสับสน ผู้ป่วยควรดูตัวเลขเหล่านี้จริงหรือ