Home > อ่านหนังสือฉบับเต็ม > เราจะช่วยพัฒนาการตรวจสอบวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง > บทที่ 12 อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น

บทที่ 12 อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: บทที่ 11 อะไรบ้างที่จะทำให้เรามีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น

ประเด็นสำคัญ

  • The “best” treatment depends on your situation and needs.
  • Your doctor should understand these, not just your diagnosis.
  • Sometimes the best treatment may be “wait-and-see”.
  • Understanding a little about statistics is good protection against mistreatment and overtreatment.

ในบทความก่อนๆ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างหลากหลายกรณีว่าเหตุใดจึงสามารถ…และควร…เลือกวิธีการรักษา โดยพิจารณางานวิจัยที่มีคุณภาพซึ่งออกแบบเพื่อตอบโจทก์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย วิธีการรักษาต่างๆ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ผู้ป่วย หรือผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ หลักฐานที่เชื่อถือได้จากการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ในบทนี้ ผู้เขียนจะเล่าว่าหลักฐานเหล่านี้อาจสร้างแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพได้อย่างไรบ้าง จึงจะทำให้แพทย์และผู้ป่วยได้ร่วมกันตัดสินใจเรื่องวิธีการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย การตัดสินใจที่เหมาะสมควรใช้ข้อมูลจากหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า ทางเลือกวิธีการรักษาต่างๆ อาจให้ผลอย่างไรบ้าง แต่ผลที่ได้ก็มีความหมายและความสำคัญแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ดังนั้น แม้จะใช้หลักฐานเดียวกัน แต่คนสองคนก็อาจตัดสินใจไม่เหมือนกัน เช่น นิ้วมือที่ใช้ได้ปกติสำคัญต่อนักดนตรี ฆานประสาทสำคัญต่อพ่อครัว และจักษุประสาทสำคัญต่อช่างภาพมากกว่าคนอื่น พวกเขาจึงอาจพร้อมจะทุ่มสุดตัวและยอมเสี่ยงมากกว่าคนอื่นเพื่อให้ตนอาการดีขึ้นในด้านนั้นๆ ความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานกับการตัดสินใจนั้นซับซ้อน เนื้อหาในบทนี้ส่วนใหญ่จึงจะกล่าวถึงปัญหาที่พบบ่อยในประเด็นนี้

การร่วมตัดสินใจ

“การร่วมตัดสินใจ มีนิยามว่าเป็น ‘กระบวนการที่ให้ผู้ป่วยมีส่วนในการตัดสินใจเรื่องการรักษา’

อ่านต่อ

ทว่าก่อนกล่าวถึงเรื่องนั้น ผู้เขียนจะขยายความเรื่อง “การร่วมตัดสินใจ” และยกตัวอย่างว่าจะนำไปปฏิบัติจริงได้อย่างไร การร่วมตัดสินใจนี้ตั้งอยู่บนทางสายกลาง ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพตัดสินใจแทนผู้ป่วย กับการปล่อยผู้ป่วยให้ตัดสินใจเอง แม้ผู้ป่วยจะบ่นอยู่บ่อยครั้งว่ามีข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ก็เป็นธรรมดาที่พวกเขาไม่อยากรับผิดชอบถึงเพียงนั้น [1, 2]

ผู้ป่วยบางรายก็ไม่อยากรู้รายละเอียดเรื่องโรคที่เป็นกับตัวเลือกวิธีการรักษา และอยากฝากทุกอย่างไว้ในมือผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็มีจำนวนมากที่อยากเข้าใจ จึงควรมีช่องทางให้ผู้ป่วยกลุ่มหลังเข้าถึงเอกสารคุณภาพดีได้ หรือให้ผู้ป่วยขอคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่มีความเชี่ยวชาญได้โดยสะดวกว่า จะหาข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นได้ที่ไหน อย่างไร

คนแต่ละคนอาจเห็นต่างกันโดยสิ้นเชิงว่า “การปรึกษาแพทย์ในอุดมคติ” ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง บางคนพอใจจะเป็นผู้ตาม ขณะที่บางคนต้องการเป็นผู้นำ หากผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนจากแพทย์จนได้ลองร่วมตัดสินใจแล้ว ผู้ป่วยอาจพอใจและอยากใช้วิธีนี้ คำถามพื้นๆ ของผู้ป่วยอาจกลายเป็นประเด็นหารือได้ดังตัวอย่างด้านล่าง และที่สำคัญ เมื่อผู้ป่วยรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติในฐานะคู่คิดที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะได้มีส่วนร่วมในการรักษามากน้อยแค่ไหน พวกเขาก็จะรู้สึกว่ายังได้มีส่วนร่วม

ถัดไป: คุณคิดว่าแนวคิดในเว็บไซต์นี้เป็นอย่างไร