รูปแบบต่างๆ ในการใช้การจัดสรรอย่างไม่ลำเอียง (แบบสุ่ม) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษา

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: รูปแบบต่างๆ ในการใช้การจัดสรรอย่างไม่ลำเอียง (แบบสุ่ม) เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษา

การสุ่มแยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น อาจใช้ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษาต่างๆ โดยสุ่มลำดับในผู้ป่วยรายเดิม ซึ่งเรียกว่า “การทดลองแบบสุ่มไขว้ (randomized cross-over trial)” เช่น ในการประเมินว่ายาสูดช่วยผู้ป่วยที่ไอแห้งต่อเนื่องได้หรือไม่ อาจออกแบบการศึกษาให้นาน 2-3 เดือน โดยสุ่มให้ผู้ป่วยใช้เครื่องพ่นยาที่มีตัวยาในบางสัปดาห์ ส่วนสัปดาห์ที่เหลือให้ใช้เครื่องพ่นยาที่หน้าตาเหมือนกันทุกประการแต่ไม่มีตัวยา การทำให้ผลจากการวิจัยสอดคล้องกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไปเช่นนี้สมควรทำหากทำได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ไม่อาจทำการศึกษาแบบไขว้เช่นนี้ เช่น ไม่อาจใช้วิธีนี้เปรียบเทียบวิธีการผ่าตัดต่างๆ รวม ถึงวิธีการรักษาโรคเฉียบพลันที่ “ครั้งเดียวจบ” เช่น ภาวะเลือดออกรุนแรงหลังเกิดอุบัติเหตุทางถนน

Different possible units for random allocation

หน่วยต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ในการสุ่มตัวอย่าง

การสุ่มแยกตัวอย่างยังใช้เพื่อเปรียบเทียบวิธีการรักษาต่างๆ ที่ใช้กับคนละส่วนในร่างกายของผู้ป่วยรายเดียวกันได้ด้วย เช่น ในโรคผิวหนัง อาทิ ผื่นผิวหนังอักเสบ หรือสะเก็ดเงิน (psoriasis) สามารถสุ่มเลือกผิวหนัง บริเวณต่างๆ ที่เป็นโรคว่าบริเวณไหนควรรักษาด้วยขี้ผึ้งที่มีตัวยาและไม่มีตัวยา หรือในการรักษาโรคตาที่เป็นทั้งสองข้าง อาจสุ่มเลือกรักษาตาข้างหนึ่งโดยเปรียบเทียบกับข้างที่ไม่ได้รักษา

อีกวิธีหนึ่งในการใช้การสุ่มแยกตัวอย่างคือ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีการรักษาที่ใช้กับประชากร หรือคนกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มผู้ใช้บริการคลินิก บริการปฐมภูมิ หรือโรงพยาบาลที่กำหนดการเปรียบเทียบนี้เรียกว่า “การทดลองแบบสุ่มเป็นกลุ่ม (cluster [หรือ group] randomized trial)” เช่น ในการประเมินผลจากโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าของเม็กซิโก นักวิจัยจับคู่พื้นที่บริการดูแลสุขภาพ 74 คู่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแทนรวม 118,000 ครัว เรือน ใน 7 รัฐ ในแต่ละคู่จะสุ่มพื้นที่หนึ่งให้เข้าโครงการประกันสุขภาพ [6]

อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้รูปแบบการใช้การสุ่มแยกตัวอย่างที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ใช้เพื่อตัดสินว่าผู้ป่วยจะได้รับวิธีการรักษาแบบใด

ถัดไปการตามสังเกตทุกคนที่อยู่ในการเปรียบเทียบวิธีการรักษา