อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้

ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf: อันตรายต่อผู้ป่วยที่หลีกเลี่ยงได้

มีการนำวิธีที่แนะนำให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งตีพิมพ์ในตำรามานานกว่า 30 ปี มาเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ถูกละเลย เพราะผู้เขียนตำราไม่ได้ทบทวนรายงานการตรวจสอบวิธีการรักษาอย่างเที่ยงธรรมในช่วงนั้นอย่างเป็นระบบ [11] การเปรียบเทียบพบว่าคำแนะนำในตำรามักผิดพลาด เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้ทบทวนหลักฐานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ผลจากการนี้รุนแรงแสนสาหัส เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเสียโอกาสได้รับวิธีการรักษาที่ช่วยชีวิตได้ (เช่น ยาละลายลิ่มเลือด) หรือกระทั่งหลังจากการตรวจสอบอย่างเที่ยงธรรมพิสูจน์แล้วว่าวิธีการรักษาหนึ่งๆ เป็นอันตรายถึงชีวิต แพทย์กลับยังแนะนำให้ใช้วิธีการรักษาดังกล่าวต่อไปอีกนาน เช่น การใช้ยาที่ลดความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่กำลังมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (ดูข้างต้นและบทที่ 2)

การไม่ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเมื่อมีหลักฐานใหม่ๆ เพื่อรวมผลจากการศึกษาต่างๆ ยังส่งผลเสียต่อผู้ป่วย สารน้ำทดแทนเลือด (blood substitute) ซึ่งไม่ต้องแช่เย็นหรือตรวจความเข้ากันได้กับผู้ป่วยเป็นทางเลือกที่น่าใช้มากกว่าเลือดจริงในการรักษาภาวะเลือดออก แต่โชคไม่ดีที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิต ยิ่งกว่านั้นเมื่อปลายทศวรรษ 1990 การทบทวนอย่างเป็นระบบในการศึกษาแบบสุ่มยังรายงานว่า อันตรายดังกล่าวควรเป็นที่ตระหนักตั้งแต่หลายปีก่อนหน้านั้นแล้ว [12]

Nextอันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้เข้าร่วมงานวิจัย