Home > อ่านหนังสือฉบับเต็ม > Thumbnails > Methods > จริยธรรมที่ลำเอียง

จริยธรรมที่ลำเอียง

“ถ้าแพทย์ลองใช้วิธีการรักษาแบบใหม่โดยตั้งใจศึกษาให้ถี่ถ้วน ประเมินผลการรักษา และตีพิมพ์ผลที่ได้ แพทย์รายนั้นกำลังทำวิจัย อาสาสมัครในงานวิจัยเหล่านี้ถูกมองว่าต้องได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยต้องตรวจสอบโครงร่างการวิจัยกับหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมงานวิจัย (informed consent form)[1] อย่างละเอียด และอาจระงับงานวิจัยนี้ แต่หากแพทย์เชื่อว่าวิธีการรักษาใหม่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลองใช้โดยไม่คิดศึกษา จะไม่ถือเป็นการวิจัย การลองแบบนี้ไม่ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการ และการขอความยินยอมจากผู้ป่วยก็เป็นไปเพียงเพื่อไม่ให้ตนโดนผู้ป่วยฟ้องร้องความผิดพลาดทางการแพทย์ ผู้ป่วยในกรณีหลัง (ไม่ใช่งานวิจัย) จึงน่าจะเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยในกรณีแรก (เข้าร่วมในงานวิจัยอย่างเป็นกิจจะลักษณะ) นอกจากนี้ แพทย์ในกรณีแรกยังมีจริยธรรมน่าชื่นชมกว่า เพราะกำลังประเมินวิธีการรักษา ขณะที่แพทย์รายหลังใช้วิธีการรักษาโดยอิงการคาดเดา อย่างไรก็ตามเนื่องจากมาตรฐานจริยธรรมที่มีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองผู้ป่วย ครอบคลุมแต่สิ่งที่มุ่งสร้างองค์ความรู้ซึ่งใช้ได้แพร่หลาย จึงกำกับเฉพาะผู้ที่วิจัยอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่รวมถึงนัก เสี่ยงโชคผู้ไร้ความรับผิดชอบ”

Lantos J. Ethical issues – how can we distinguish clinical research from innovative therapy? American Journal of Pediatric Hematology/Oncology 1994;16:72-75.

[1] เอกสารสำหรับผู้ป่วยที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษาคร่างๆ ในภาษาที่ผู้ป่วยอ่านเข้าใจ ซึ่งที่ท้ายเอกสารมีช่องให้ผู้ป่วยลงนามหากผู้ป่วยอ่านข้อมูลทั้งหมดแล้วยินดีเข้าร่วมการศึกา นักวิจัยต้องร่างเอกสารนี้เสนอให้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยพิจารณาก่อนจะได้รับอนุมัติให้ทำการศึกษา